บทบาทและการเปลี่ยนแปลงของย่านสะพานเหล็ก กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • สุพรรณสา ฉิมพาลี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • กฤตพร ห้าวเจริญ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

DOI:

https://doi.org/10.14456/bei.2021.11

คำสำคัญ:

บทบาท, การเปลี่ยนแปลง, ย่านสะพานเหล็ก

บทคัดย่อ

การศึกษาบทบาทและการเปลี่ยนแปลงของย่านสะพานเหล็ก กรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการ ระบบกิจกรรม วิถีชีวิต และการใช้พื้นที่ของย่านสะพานเหล็ก เพื่อนำมาสรุปถึงบทบาทและการเปลี่ยนแปลงแต่ละช่วงเวลา โดยการเก็บรวบรวมข้อมูล การลงสำรวจพื้นที่ การสัมภาษณ์บุคคลทั่วไปและบุคคลสำคัญ รวมไปถึงภาพถ่าย เพื่อสามารถเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ได้ ผลการวิจัยพบว่า ย่านสะพานเหล็กมีบทบาทในแต่ละช่วงเวลาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันที่แตกต่างกัน คือ ในยุคเริ่มต้นย่านสะพานเหล็กยังคงมีกิจกรรมที่ไม่หลากหลาย กิจกรรมที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่จะกระจุกตัวอยู่ตามเส้นทางสัญจรทางน้ำอย่างบริเวณริมคลองโอ่งอ่าง ทำให้มีบทบาทหลักด้านที่อยู่อาศัย และบทบาทรองด้านพาณิชยกรรม และเมื่อเมืองเกิดการขยายตัวอย่างรวดเร็วและพัฒนาเส้นทางคมนาคมทางบก ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินและอาคาร จากพื้นที่อยู่อาศัยกลายเป็นพื้นที่พาณิชยกรรมและพื้นที่อยู่อาศัยกึ่งพาณิชยกรรม ส่งผลให้ในยุครุ่งเรืองทางการค้าของย่านสะพานเหล็ก มีบทบาทหลักด้านพาณิชยกรรม ที่มีทั้งการค้าและการบริการครอบคลุมทั้งพื้นที่ เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่อยู่ติดกับถนนทำให้มีการเข้าถึงได้สะดวก และบทบาทรองด้านการอยู่อาศัยกึ่ง พาณิชยกรรมส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะของตึกแถวที่มีการพักอาศัยและประกอบกิจกรรมพาณิชยกรรม ซึ่งการค้าขายที่มีจำนวนมากเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาการรุกล้ำพื้นที่คลอง ทำให้ยุคปัจจุบันของย่านสะพานเหล็กเกิดการเปลี่ยนแปลงจากนโยบายและโครงการของภาครัฐ โดยบทบาทหลักยังคงเป็นด้านพาณิชยกรรม หากแต่เป็นช่วงซบเซา สาเหตุเกิดจากการรื้อตลาดสะพานเหล็กที่มีการรุกล้ำพื้นที่คลองโอ่งอ่างออกไปแทนที่ด้วยพื้นที่สาธารณะ และบทบาทรองด้านการอยู่อาศัยกึ่งพาณิชยกรรม ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนดั้งเดิมในพื้นที่ที่ยังทำการค้าขายอยู่ อีกหนึ่งบทบาทที่เกิดขึ้นใหม่ คือ บทบาทการเป็นพื้นที่สาธารณะ ผู้คนสามารถเข้ามาใช้ทำกิจกรรมพักผ่อน ออกกำลังกาย และจัดงานเทศกาลต่าง ๆ โดยการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างคน กิจกรรม และการใช้พื้นที่ ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงบทบาทของย่านสะพานเหล็กในแต่ละยุคที่แตกต่างกัน

References

ฉัตรชัย พงศ์ประยูร. (2536). การตั้งถิ่นฐานมนุษย์ ทฤษฎี และแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดรรชนี เอมพันธุ์. (2531). หลักการใช้ที่ดินเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาอนุรักษวิทยา คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
มนู วัลยะเพ็ชร์. (2520). การตั้งถิ่นฐานในชนบทของประเทศไทย. นครปฐม: ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สำนักผังเมืองกรุงเทพมหาคร. (2549). รายงานการศึกษาการตั้งถิ่นฐานและวิวัฒนาการของชุมชนริมน้ำในกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: กองนโยบายและแผน.
ฐิติมาพร พามา และกฤตพร ห้าวเจริญ. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของย่านตลาดล่าง จังหวัดลพบุรี. วารสารวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล., 19(25), 51-68.
Chapin. S. (1972). Research Memorandum on Social Work in Depression. New York: Arno Press.
Doxiadis. (1976). Action for Human Settlements. Greece: Athens Center of Ekistics.
Goh Cheng Leong & G. C. Morgan. (1975). Human and Economic Geography. Hong Kong: Dai Nippon Printing.
Rapoport, (1990). Systems of Activities and Systems of Settings. In Kent, Susan (ed.), Domestic Architecture and The Use of Space: Cambridge University Press.
Rapoport, (1994). A Spatial Organization and The Built Environment in Ingold, Tim (ed.), An Companion Encyclopedia of Anthropology: Humanity, Culture and Social Life New York L Routledge.
U.N. Center for Habitat Study. (1982). An Approach to The Handling of Human Settlement Information. Nairobe, Kenya.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-27

How to Cite

ฉิมพาลี ส., & ห้าวเจริญ ก. (2021). บทบาทและการเปลี่ยนแปลงของย่านสะพานเหล็ก กรุงเทพมหานคร. สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย, 20(2), 63–80. https://doi.org/10.14456/bei.2021.11