แนวทางการออกแบบปรับปรุงพื้นที่ใช้งานสำหรับคลินิกทันตกรรมในตึกแถว

ผู้แต่ง

  • สุพัตรา ซ้วนลิ่ม คณะสถาปัตยกรรมและการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

DOI:

https://doi.org/10.14456/bei.2021.10

คำสำคัญ:

การออกแบบ, คลินิกทันตกรรม, ตึกแถว

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาลักษณะการใช้พื้นที่ภายในคลินิกทันตกรรมในตึกแถว (2) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจการใช้พื้นที่ภายในคลินิกทันตกรรมในตึกแถว (3) เพื่อศึกษาแนวทางการปรับปรุงคลินิกทันตกรรมในตึกแถว (4) เพื่อออกแบบผังการใช้งานพื้นที่ภายในคลินิกทันตกรรมในตึกแถว มีรูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้แก่ ทันตแพทย์ ผู้ช่วยแพทย์ ผู้ให้บริการจำหน่ายและติดตั้งยูนิตทำฟัน จำนวน 8 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แนวคำถามการสัมภาษณ์ และใช้การสำรวจด้วยแบบสำรวจ กับอาคารที่ให้บริการในลักษณะคลินิกทันตกรรม จำนวน 3 แห่ง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการตีความสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ มีกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ทันตแพทย์ ผู้ช่วยแพทย์ ผู้ให้บริการจำหน่ายและติดตั้งยูนิตทำฟันและผู้ใช้บริการทันตกรรม จำนวน 108 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1)คลินิกทันตกรรม ส่วนใหญ่เป็นไปในลักษณะการเช่าอาคารแบบระยะยาว มีการออกแบบตกแต่งสวยงามและทันสมัยเนื่องจากมีการแข่งขันทางธุรกิจสูง และอาคารคลินิกทันตกรรมในตึกแถว มีพื้นที่ใช้งาน 2-4 ชั้น และมีการแบ่งกลุ่มการใช้งานเป็น 3 ส่วน (2)ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจมากต่อการใช้พื้นที่ ห้องพักแพทย์ ห้องเครื่อง ห้องน้ำ-เจ้าหน้าที่ และมีคะแนนระดับความพึงพอใจการใช้พื้นที่น้อยที่สุดบริเวณการเงิน-รับยา  บริเวณห้องน้ำ และทางเข้า เรียงตามลำดับ (3)ผู้ใช้บริการให้ความสำคัญกับการปรับปรุงพื้นที่คลินิกทันตกรรมในตึกแถว โดยให้ความสำคัญกับ 3พื้นที่ที่เห็นว่าควรปรับปรุงมากที่สุดคือ บริเวณการเงิน-รับยา ห้องน้ำ และทางเข้า โดยประเด็นสำคัญด้านการออกแบบและความสวยงามที่ควรปรับปรุงคือ ด้านความทันสมัย ป้ายสัญลักษณ์ และขนาดพื้นที่ (4)การออกแบบผังการใช้งานพื้นที่ต้องเพิ่มผังพื้นที่ทางเข้า เคาน์เตอร์จ่ายยา-การเงินและพื้นที่ห้องน้ำ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-27

How to Cite

ซ้วนลิ่ม ส. (2021). แนวทางการออกแบบปรับปรุงพื้นที่ใช้งานสำหรับคลินิกทันตกรรมในตึกแถว. สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย, 20(2), 43–62. https://doi.org/10.14456/bei.2021.10