บล็อกซีเมนต์เสริมลำไม้ไผ่ผสมใยพืช

ผู้แต่ง

  • ปนัดดา ปานแดง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ชำนาญ บุญญาพุทธิพงศ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • นรากร พุทธโฆษ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

DOI:

https://doi.org/10.14456/bei.2021.21

คำสำคัญ:

ซีเมนต์, ลำไม้ไผ่, วัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร

บทคัดย่อ

      ในปัจจุบันวัสดุก่อสร้างอาคาร ได้รับการศึกษาวิจัยเพื่อช่วยในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม วัสดุก่อผนัง เช่น บล็อกซีเมนต์เป็นหนึ่งในวัสดุที่ได้รับความสนใจทั้งในระดับอุตสาหกรรมและการผลิตในชุมชน ที่มีความสำคัญในการเป็นผนังอาคาร วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษากระบวนการผลิตบล็อกซีเมนต์ โดยการใช้ปูนซีเมนต์มาผสมกับวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรที่สามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่น และไม้ไผ่ที่มีคุณสมบัติที่น่าสนใจ คือ ลำต้นตรง ภายในเป็นช่องว่างอากาศที่สามารถเป็นฉนวนป้องกันความร้อนได้ นำมาผลิตด้วยกระบวนการอันเรียบง่าย เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาวัสดุก่อสร้างที่ชาวบ้านในท้องถิ่นสามารถผลิตใช้เองได้ และส่งเสริมให้ใช้วัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรในท้องถิ่นแทนการกำจัดด้วยวิธีการทำลายหรือการเผา

     จากการศึกษากระบวนการผลิตบล็อกซีเมนต์เสริมลำไม้ไผ่พบว่า มีขั้นตอนในการพัฒนารูปแบบและส่วนผสมขององค์ประกอบต่างๆ ดังนี้ คือ มีขนาด 39x19x7 ซม. โดยอ้างอิงตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.58-2533) ใยพืชที่นำมาเป็นส่วนผสมกับซีเมนต์ เพื่อเป็นการลดน้ำหนัก เป็นวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น ได้แก่ ขุยมะพร้าว แกลบ ฟางข้าว จะช่วยให้น้ำหนักของบล็อกซีเมนต์เสริมลำไม้ไผ่ ที่ใช้ส่วนผสมคอนกรีตโดยปริมาตร ปูนซีเมนต์ 1 ส่วน : ทรายหยาบ 2 ส่วน : ใยพืช 1 ส่วน มีค่าน้ำหนักต่อก้อน 7.36 กก. สามารถลดลงได้ 25% ต่อก้อนโดยประมาณ อุณหภูมิอากาศภายในกล่องทดสอบ มีความใกล้เคียงกันทุกกล่อง เนื่องจากเมื่อนำใยพืชผสมกับซีเมนต์เป็นเนื้อเดียวกัน ทำให้มีการเปลี่ยนคุณสมบัติของมวลน้อยมาก ในด้านความชื้นสัมพัทธ์ พบว่า ซีเมนต์ผสมแกลบ มีความชื้นสัมพัทธ์สูงสุด ซีเมนต์ผสมฟางข้าวกลับต่ำที่สุด เมื่อนำมาเปรียบเทียบในช่วงเวลาเดียวกัน เนื่องจากแกลบสามารถกักเก็บความชื้นในวัสดุได้มาก ในขณะที่ฟางข้าวเมื่อผสมกับซีเมนต์จะมีความชื้นน้อยกว่า และมีค่าใกล้เคียงกับซีเมนต์ที่ไม่ได้ผสม ผลที่ได้จากการวิจัยนี้สามารถนำไปเป็นแนวทางการวิจัย หรือการประกอบการตัดสินใจในเปรียบเทียบการเลือกใช้ใยพืช และลำไม้ไผ่ เพื่อนำไปพัฒนาในด้านอุตสาหกรรมต่อไป

References

ทรงเกียรติ เที้ยธิทรัพย์. (2545). เทคนิคการก่อสร้างอาคารด้วยไม้ไผ่ การออกแบบและสร้างอาคารตัวอย่าง ณ พื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย. (สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

กานต์ คำแก้ว. (2546). ไม้ไผ่กับสถาปัตยกรรมที่เลือนหาย : การออกแบบศาลาประชาคม. มหาวิทยาลัยศิลปากร,กรุงเทพฯ.

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีและ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. (2554). แบบสรุปย่อการวิจัย โครงการศึกษาแนวทางบริหารจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงและลดการเกิดหมอกควัน. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

วริษา สายะพันธ์. (2558). การเพิ่มประสิทธิภาพบล็อกซีเมนต์ขาวผสมฟางข้าวเสริมไม้ไผ่. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

กลุ่มการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ร่วมกับ กลุ่มอากาศ เสียง และความสั่นสะเทือน. (2562). การพัฒนาระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควันล่วงหน้าสำหรับพื้นที่ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย. ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม, ปทุมธานี.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-03

How to Cite

ปานแดง ป., บุญญาพุทธิพงศ์ ช., & พุทธโฆษ์ น. (2022). บล็อกซีเมนต์เสริมลำไม้ไผ่ผสมใยพืช. สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย, 20(3), 95–110. https://doi.org/10.14456/bei.2021.21