แสงธรรมชาติในสิมอีสาน กรณีศึกษาสิมในพื้นที่อีสานตอนบน
DOI:
https://doi.org/10.14456/bei.2021.20คำสำคัญ:
สิมอีสาน, การใช้แสงธรรมชาติ, ปริมาณแสงสว่างบทคัดย่อ
บทความนี้นำเสนอการศึกษา ลักษณะแสงธรรมชาติในอาคารสิมอีสานโดยการสำรวจภาคสนามสิมอีสาน จํานวน 8 หลัง ใน 3 จังหวัด ได้แก่ นครพนม สกลนคร และหนองคาย เพื่อเก็บข้อมูลด้านการใช้งาน กายภาพของอาคาร ตัวแปรที่เกี่ยวข้องส่งผลกระทบต่อแสงธรรมชาติ และใช้อุปกรณ์วัดค่าความสว่าง และนำข้อมูลที่บันทึกกำหนดตัวแปรต่าง ๆ จำลองแสงธรรมชาติด้วยโปรแกรม DIALux 4.13 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวแปร ที่ส่งผลต่อแสงธรรมชาติเชิงปริมาณเปรียบเทียบผลที่ได้กับเกณฑ์ความสว่างมาตรฐานสำหรับการทำงานทางสายตาที่เกิดในสิม ส่วนสุดท้ายของบทความเปรียบเทียบสิมอีสานในการศึกษานี้กับ (1) รูปแบบสิมอีสานที่มีระยะยื่นชายคาที่แตกต่างกันและ (2)รูปแบบอุโบสถมาตรฐานที่มีการก่อสร้างเพื่อทดแทนสิมอีสานโบราณในวัดภาคอีสาน ผลการศึกษาด้านกายภาพพบว่า สิมอีสานในการศึกษานี้มีการใช้งาน และไม่ได้มีการใช้งานสำหรับการทำสังฆกรรม เนื่องจากมีการสร้างอุโบสถรูปแบบมาตรฐานทดแทน ในบางกรณี สิมบางหลังมีการใช้การประกอบพิธีกรรมในวันสำคัญของพระพุทธศาสนา รูปแบบของสิมที่สำรวจมีพื้นที่ช่องแสงมีร้อยละ 7-9% ของพื้นที่ผนังรวมทั้ง 4 ด้าน ผลปริมาณแสงธรรมชาติที่ได้จากการสำรวจ และค่าความสว่างเฉลี่ยที่ได้จากแสงธรรมชาติ ภายใต้ท้องฟ้าโปร่ง ท้องฟ้าเมฆปกคลุมบางส่วนจากการจำลองพบว่า แสงสว่างในอาคารมีค่าเฉลี่ยสูงกว่า 300 lx ซึ่งผ่านเกณฑ์มาตรฐาน TIEA สำหรับการอ่านหนังสือสวดมนต์ และกิจกรรมทางศาสนา แต่หากพิจารณา กรณีที่ท้องฟ้ามีเมฆปกคลุมทั่ว ความสว่างเฉลี่ยที่ได้จากแสงธรรมชาติจะต่ำกว่า 300 lx เมื่อสิมมีหลังคาชั้นที่สองปกคลุมปริมาณแสงธรรมชาติจะลดต่ำลงไม่เพียงพอต่อการใช้งาน ส่วนสุดท้ายนำเสนอการวิเคราะห์แสงธรรมชาติเปรียบเทียบสิมอีสาน และอุโบสถรูปแบบมาตรฐานภาคกลาง ในกรณีที่ท้องฟ้ามีเมฆปกคลุมบางส่วนพบว่าปริมาณแสงสว่างค่าเฉลี่ยสูงกว่า 300 lx และอุโบสถมีปริมาณแสงสว่างสูงกว่าสิมอีสาน
References
ชวลิต อธิปัตยกุล. (2557).รูปแบบสิมญวนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับพัฒนาการทางงานช่าง
.วารสารดำรงวิชาการ, 13(2), 148-182.
__________. (2556). สิมญวนในอีสาน : ความโยงในพัฒนาการจากที่มา ที่ไป ละสิ้นสุดในห้วงมิติ เวลาบนภาคอีสาน ของ ประเทศไทย. อุดรธานี: เต้า-โล.
สาโรช พระวงศ์. (2551). การศึกษาความหมายของแสงในสิมอีสาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาสถาปัตยกรรมศาตมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลันศิลปกร.
ธีรพัฒน์ หนองหารพิทักษ์. (2563). การให้แสงสว่างในสิมอีสานโบราณ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว. วิทยานิพนธ์ สถาปัตยกรรมศา สตรมหาบัณฑิตปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์
คณะสถาปัตยกรรม ศาสตร์ มหาวิทยาลยัขอนแก่น.
สมใจ นิ่มเล็ก. (2549). สิมสถาปัตยกรรมอีสาน. วารสารหน้าจั่ว, 3, 16-33.
วรรณภา พิมพ์วิริยะกุล. (2549). ความหมายและบทบาทศาสตร์การออกแบบแสงสว่างใน สถาปัตยกรรม. วารสารวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2, 1- 14
คณะศิษยานุศิษย์ วัดราษฎร์บำรุง ธนบุรี. (2510). แบบแปลนพระอุโบสถ หอระฆัง เจดีย์ ของกรม ศิลปากร. กรุงเทพฯ:
เลี่ยงเซียงจงเจริญ.
ยิ่งสวัสดิ์ ไชยะกุล(2555). แสงสว่างในงานสถาปัตยกรรม.ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
กรมโยธาธิการและผังเมือง. (2005). อุโบสถมาตรฐานภาคอีสาน. สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2563, จาก http://subsites.dpt.go.th/construction/index.php/1.
Illuminating Engineering Association of Thailand (TIEA). (2016). Guidelines for Indoor Lighting Design. (1st ed). Bangkok: Illuminating Engineering Association of Thailand (TIEA).
IESNA (Ed.). (2003). IESNA Lighting Ready Reference (4th ed.). New York: IESNA.
DIAL GmbH (2020). DIALux 4.13. Retrieved Aug 10,2020, from https://www.dial.de/dialux.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ