อัตลักษณ์ทางกายภาพของชุมชนกาดกองต้า จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • สรวิศ เกียรติภัทราภรณ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • กฤตพร ห้าวเจริญ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

DOI:

https://doi.org/10.14456/bei.2022.21

คำสำคัญ:

สำนึกถิ่นที่, อัตลักษณ์ทางกายภาพ, ชุมชนกาดกองต้า

บทคัดย่อ

ชุมชนกาดกองต้าเป็นชุมชนการค้าริมน้ำเก่าแก่ที่เคยเจริญรุ่งเรืองในอดีต ปัจจุบันชุมชนได้เปลี่ยนสภาพเป็น
ที่อยู่อาศัยและยังคงอาคารที่มีรูปแบบสถาปัตยกรรมจากอิทธิพลของหลายเชื้อชาติ รวมถึงเป็นชุมชนเก่าแก่ที่อยู่
ท่ามกลางการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลง หากไม่มีการวางแผนอย่างเป็นระบบรวมถึงการจัดการที่ดีพอ พื้นที่อาจถูก
คุกคาม ทำให้อัตลักษณ์ถูกลดทอนคุณค่าและจางหายไปในที่สุด ดังนั้นจึงเกิดการศึกษา อัตลักษณ์ทางกายภาพของ
ชุมชนกาดกองต้า จังหวัดลำปาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบทางกายภาพ และองค์ประกอบที่ไม่ใช่
กายภาพที่เกี่ยวข้องกับชุมชนกาดกองต้า จากการทบทวนวรรณกรรมร่วมกับผลการศึกษาพัฒนาการและ
การเปลี่ยนแปลงชุมชนกาดกองต้า การลงสำรวจพื้นที่ภาคสนาม ประกอบกับการใช้เกณฑ์การประเมินคุณค่าทาง
สถาปัตยกรรมและการสัมภาษณ์เชิงลึก นำมาสู่บทสรุปอัตลักษณ์ทางกายภาพของชุมชนกาดกองต้า ซึ่งผลจากการ
วิจัยพบว่า ชุมชนกาดกองต้ามีการตั้งถิ่นฐานเลียบริมแม่น้ำวังฝั่งตะวันออกและเคยมีความเจริญรุ่งเรืองในฐานะ
ศูนย์กลางการค้าไม้ของล้านนา โดยมีประวัติศาสตร์ความเป็นมา ที่ตั้ง ลักษณะทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
แสดงผ่านรูปแบบการตั้งถิ่นฐานที่โดดเด่นตามแนวเส้นทางคมนาคม สอดคลอ้ งกับการวางตวั ของกล่มุ อาคารเรือนแถว
ที่มีความต่อเนื่องและขนานกับแม่น้ำวังและถนนตลาดเก่า ส่งผลให้เกิดลักษณะแผนผังแบบเกาะตัวตามยาว โดยมี
เส้นทางสัญจรเป็นตัวกำหนดลักษณะการวางตัวของเรือนแถว ในขณะที่สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในพื้นที่มีความเฉพาะตัว
อันสะท้อนถึงการผสมผสานของวัฒนธรรมผ่านการออกแบบกับการใช้สอยประโยชน์อาคารเพื่ออยู่อาศัยและค้าขาย
สามารถถ่ายทอดให้เห็นถึงประวัติศาสตร์ในชุมชนซึ่งมีความเชื่อมโยงกับวิถีชีวิตของคนอดีตทับซ้อนกันหลายยุคสมัย
และความเป็นย่านการค้าเก่าของจังหวัดลำปางได้อย่างชัดเจน ทั้งนี้จึงกล่าวได้ว่า องค์ประกอบทางด้านเศรษฐกิจ
ด้านสังคมและวัฒนธรรม เป็นสิ่งที่ช่วยส่งเสริมให้องค์ประกอบด้านกายภาพมีความโดดเด่นและชัดเจนมากยิ่งขึ้น สังเกต
ได้จากความโดดเด่นของลักษณะทางกายภาพที่พบ มักมีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงกับคนในชุมชน โดยปรากฏให้เห็น
และบุคคลทั่วไปสามารถเกิดการรับรู้ผ่านผังชุมชน รูปแบบการตั้งถิ่นฐาน ภูมิทัศน์ชุมชน ลักษณะทางสถาปัตยกรรม
ที่มีความเฉพาะ สะท้อนออกมาเป็นอัตลักษณ์ทางกายภาพของชุมชนกาดกองต้าได้อย่างชัดเจน ซึ่งผลจากการศึกษา
สามารถใช้เป็นแนวทางในการศึกษาอัตลักษณ์ของชุมชนที่มีบริบทความเป็นชุมชนเก่าแก่ หรือชุมชนตลาดเก่าที่คล้ายคลึงกัน และจะช่วยกระตุ้นให้ผู้อ่านตระหนักถึงคุณค่าและเป็นการสร้างแรงจูงใจในการอนุรักษ์ ตลอดจน
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถใช้ข้อมูลในการประกอบการวางแผนอนุรักษ์หรือพัฒนาชุมชนให้มีศักยภาพ และคงรักษา
อัตลักษณ์ของชุมชนให้สืบต่อไป

References

เอกสารอ้างอิง

พิศประไพ สาระศาลิน. (2551). การรักษาอัตลักษณ์ในบริบทโลกาภิวัตร กรณีศึกษา: สถาปัตยกรรมและการออกแบบภายใน. สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย.

วรรณศิลป์ พีรพันธุ์. (2538). องค์ประกอบเมือง. ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สาขาวิชาการวางแผนภาคและเมือง.

ศิริลักษณ์ เมฆอ่อน. 2556. “ผลกระทบการท่องเที่ยวต่ออัตลักษณ์ชุมชน: กรณีศึกษาชุมชนแหล่งท่องเที่ยวอัมพวา”. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ปีที่ 12 (ประจำปี 2556): 4.

สิงหนาท แสงสีหนาท. (2561). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการอัตลักษณ์ทางสัณฐานวิทยาของเมืองกรุงเทพ. เอกสารรายงานวิจัยโดยสิงหนาท แสงสีหนาท สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และสำนักงานกองทุนสนับสนุน การวิจัย.

อิสรชัย บูรณะอรรจน์. (2556). ถิ่นฐาน และสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเรือนแถวสำหรับพักอาศัย และการค้าในภูมิทัศน์ย่านประวัติศาสตร์กาดกองต้า จังหวัดลำปาง. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Burke, G. (1976). Townscape. England: Pelican Books Ltd.

Doxiadis, C.A. (1976). Anthropolic: City for Human Development. Ney York: Norton.

Garnham, Harry L. (1985). Maintaining the spirit of place: A Process for the preservation of town character. Mesa: PDA.

Harver, Cox. (1968). The restoration of a sense of place . Toronto: Ekistics25.

Kevin Lynch. (1977). The image of the city. Cambridge: The MIT Press.

ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

บ่าวก๋าไก่. (2558). นครลำปางในอดีต. [รูปภาพ]. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2565 จาก https://board.postjung.com/892703

ปณิตา สระวาสี. (2559). บ้านบริบูรณ์ (หอศิลปะการแสดงนครลำปาง). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 เมษายน 2565 จาก https://db.sac.or.th/museum/museum-detail/1499

เพื่อนร่วมเดินทาง. (2561). กาดกองต้า (ลำปาง) วันวานยังหวานอยู่. [รูปภาพ]. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2565 จาก https://www.tatcontactcenter.com

Paikondieow. (2561). 20 จุดน่าเที่ยว ลำปาง | 3 วัน 2 คืน เที่ยวไหนบ้าง?. [รูปภาพ]. สืบค้นเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2565 จาก https://paikondieow.com

Manaspee Dacha. (2559). การปรับปรุงเพื่อฟื้นคืนชีวิตบ้านบริบูรณ์ (before & after). [รูปภาพ]. สืบค้นเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2565 จาก https://www.happylampang.com

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-10-25

How to Cite

เกียรติภัทราภรณ์ ส., & ห้าวเจริญ ก. (2022). อัตลักษณ์ทางกายภาพของชุมชนกาดกองต้า จังหวัดลำปาง. สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย, 21(3), 43–62. https://doi.org/10.14456/bei.2022.21