พฤติกรรมการใช้งานพื้นที่ภายนอกอาคารของผู้สูงอายุในสถานดูแลผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ผู้แต่ง

  • ณัฐาภรณ์ ประมวลศิลป์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาลัยศิลปากร
  • ชัยสิทธิ์ ด่านกิตติกุล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

DOI:

https://doi.org/10.14456/bei.2022.29

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, พฤติกรรมการใช้งาน, พื้นที่ภายนอกอาคาร, สถานดูแลผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเหมาะสมของพื้นที่ภายนอกอาคารของสถานดูแลผู้สูงอายุ และการใช้พื้นที่ภายนอกอาคารในสถานดูแลผู้สูงอายุ การวิจัยใช้วิธีการสำรวจสถานดูแลผู้สูงอายุ 5 พื้นที่กรณีศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยการสำรวจสภาพแวดล้อม องค์ประกอบของพื้นที่ภายนอกที่มีอยู่ การสังเกตพฤติกรรมการใช้พื้นที่ และสัมภาษณ์ผู้สูงอายุ ผู้ดูแล และผู้บริหารถึงการใช้งานและอุปสรรคในการใช้งานพื้นที่ภายนอกอาคาร ผลการบันทึกพฤติกรรมการใช้พื้นที่ภายนอกอาคารของผู้สูงอายุพบว่า ผู้สูงอายุมักออกมาใช้พื้นที่ภายนอกในช่วงเช้ามากที่สุดโดยเฉพาะเวลา 06.00-08.00 น. รองลงมาคือช่วงสาย 09.00-11.00 น. ช่วงบ่าย 13.00-15.00 น. และช่วงเย็น 16.00-18.00 น. ตามลำดับ กิจกรรมช่วงเช้าส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมทำบุญตักบาตรและกิจกรรมออกกำลังกายที่ใช้แรงน้อยถึงปานกลาง ช่วงสายจะเป็นกิจกรรมต่อเนื่องจากช่วงเช้า ช่วงบ่ายเป็นกิจกรรมผ่อนคลาย เช่น อ่านหนังสือ งานฝีมือ พบปะพูดคุย กิจกรรมนันทนาการ ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม เช่น บิงโก ทายคำศัพท์ โยนบอล ฯลฯ ช่วงเย็นผู้สูงอายุออกมาใช้งานพื้นที่ภายนอกอาคารค่อนข้างน้อยอาจจะมีผู้สูงอายุบางส่วนออกกำลังกาย กิจกรรมในช่วงบ่ายส่วนใหญ่เกิดบริเวณพื้นที่กึ่งภายนอกอาคารมากกว่าพื้นที่ภายนอกด้วยสภาพอากาศที่ร้อนจัดของประเทศไทย รูปแบบพื้นที่ที่เกิดกิจกรรมบ่อยคือ (1) พื้นที่ชานระเบียง และลานที่ติดกับอาคาร (2) พื้นที่ทางเดินหลักและทางเดินในสวน (3) พื้นที่นั่งเล่นบริเวณที่ใกล้กับธรรมชาติและแหล่งน้ำ (4) พื้นที่ออกกำลังกาย ฟิตเนสกลางแจ้ง สนามเปตองและบริเวณสระว่ายน้ำ ผลจากการสัมภาษณ์พบว่า ปัญหาจากการใช้พื้นที่ภายนอกอาคารของผู้สูงอายุเกิดจาก 2 ปัจจัย คือ (1) ปัญหาด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ (2) ปัญหาด้านสภาพแวดล้อมของพื้นที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการใช้งาน พื้นที่ไม่ตรงกับกลุ่มผู้สูงอายุที่ใช้บริการ การจัดเตรียมสภาพแวดล้อมภายนอกที่เหมาะสมและตรงกับความต้องการของผู้สูงอายุมีส่วนช่วยกระตุ้นการออกมาใช้พื้นที่ภายนอกมากยิ่งขึ้น ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้สูงอายุ

References

Carpenter, G. I., Bemabei, R., Hirdes, J. P., Mor, V., & Steel, K. (2000). Building evidence on chronic disease in old age: Standardized assessments and databases offer one way of building the evidence. British Medical Journal 320, 528-529.

Department of Older Persons. (2019). khō̜mūn sathiti čhamnūan phūsūngʻāyu prathēt Thai pī Phō̜.Sō̜. (in Thai) [Statistics on the Numbers of Elderly People in Thailand 2019]. Retrieved from http://ltc-older.dop.go.th/th/know/1/120

Foundation of Thai Gerontology Research and Development institute (TGRI). (2017). sathānakān phūsūngʻāyu Thai Phō̜.Sō̜. sō̜ngphanhārō̜ihāsipkāo. (in Thai) [Situation of The Thai Elderly 2016] (pp. 38-54). Nakhon Pathom: Printery

National Statistical Office Thailand. (2011). sammanō prachākō̜n læ khēha Phō̜.Sō̜.sō̜ngphanhārō̜ihāsipsām. (in Thai) [Population and Housing Census 2010]. Retrieved from http://www.nso.go.th/sites/2014/Documents/pop/2553/Exculsive2553.pdf

Saengtong, J. (2017). sangkhom phūsūngʻāyu ( yāng sombūn ) : phāwa sūng wai yāng mī khunnaphāp. (in Thai) [Aging society (Compiete Aged) The elderly condition of good quality], Rusamilae Journal, 38(1), 6-28

Sasat, S., Pukdeeprom, T. (2009). rabop sathān bō̜ribān phū su ngō̜ʻā yu. (in Thai) [Nursing Home for Older Persons], Journal of Demography, 25(1), 45-62.

United Nations. (2015). World Populations Ageing 2015. Retrieved from https://www.un.org/en/development/desa/population/publications/pdf/ageing/WPA2015_Highlights.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-23

How to Cite

ประมวลศิลป์ ณ., & ด่านกิตติกุล ช. (2022). พฤติกรรมการใช้งานพื้นที่ภายนอกอาคารของผู้สูงอายุในสถานดูแลผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย, 21(3), 162–176. https://doi.org/10.14456/bei.2022.29