การปรับปรุงแนวทางการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • ญาดา ชวาลกุล คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะ และการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

DOI:

https://doi.org/10.14456/bei.2022.22

คำสำคัญ:

แนวทางการออกแบบ, ตัวบ่งชี้วิธีการเปิดบรรจุภัณฑ์, ความเข้าใจวิธีการเปิดบรรจุภัณฑ์, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

บทความฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิจัยฉบับสมบูรณ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินแนวทางการออกแบบตัวบ่งชี้วิธีการเปิดบรรจุภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุ และ 2) ปรับปรุงแนวทางการออกแบบ ดำเนินการวิจัยด้วยขั้นตอน การออกแบบ โดยนักออกแบบ 12 คนทดลองใช้เครื่องมือและแนวทางการออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อระบุความต้องการการออกแบบตัวบ่งชี้วิธีการเปิดบรรจุภัณฑ์ 2 ตัวอย่างที่เข้าใจยากสำหรับผู้สูงอายุ ให้ตัวแทนนักออกแบบ 2 คนกำหนดโจทย์และปรับตัวบ่งชี้วิธีการเปิดบรรจุภัณฑ์ อาสาสมัครผู้สูงอายุจำนวน 36 คนทดลองเปิดบรรจุภัณฑ์ที่ปรับตัวบ่งชี้ซึ่งขึ้นรูปด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติ เปรียบเทียบกับบรรจุภัณฑ์เดิม และจัดอันดับตามความเข้าใจวิธีการเปิดยาก-ง่าย ผู้วิจัยใช้แบบสัมภาษณ์ผู้สูงอายุเพื่อเก็บข้อมูลเหตุผลเบื้องหลังการจัดอันดับบรรจุภัณฑ์ ผลการประเมินพบว่าผู้สูงอายุเข้าใจวิธีการเปิดบรรจุภัณฑ์ 1 ใน 2 ตัวอย่างที่ปรับปรุงตัวบ่งชี้แล้วง่ายขึ้น ผลการวิเคราะห์ข้อมูลได้ขยายความแนวทางการออกแบบเฉพาะทางสำหรับบรรจุภัณฑ์และเพิ่มแนวทางการออกแบบจากต้นฉบับเดิม โดยจัดกลุ่มไว้ตามขั้นตอนกระบวนการคิดขณะเปิดบรรจุภัณฑ์ ได้แก่ 1) สังเกต-ระบุ-อ่านตัวบ่งชี้ แนะนำใช้ตัวบ่งชี้ 3 มิติเช่นรูปทรงฝาและลักษณะพื้นผิวรอบฝา เพื่อลดปัญหาการรับรู้ตัวบ่งชี้ 2 มิติขนาดเล็ก เช่น คำและเครื่องหมาย 2) เข้าใจวิธีการเปิด แนะนำใช้ตัวบ่งชี้ 3 มิติ ตามหลักการรูปทรงสอดคล้องการใช้งาน หากรูปทรงเรียบง่าย แนะนำเพิ่มตัวบ่งชี้ 2 มิติเช่นลูกศรเพื่อเพิ่มความแม่นยำการอธิบายวิธีการเปิด 3) เปิดบรรจุภัณฑ์ แนะนำพิจารณาข้อจำกัดการใช้มือของผู้สูงอายุ พฤติกรรมการใช้สินค้าและบรรจุภัณฑ์ กลไกการเปิดและใช้บรรจุภัณฑ์

References

Berns, T. (1981). The handling of consumer packaging. Applied Ergonomics, 12(3), 153-161.

CEN-CENELEC. (2014). Guidelines for accessibility in standards. (2nd ed.). Retrieved January 1, 2020, from

https://www.cencenelec.eu/standards/Guides/Pages/default.aspx

Chasanidou, D., Gasparini, A. A., & Lee, E. (2015). Design thinking methods and tools for

innovation. In M. Aaron, Design, user experience, and usability: Design discourse (pp. 12-23).

Cham, Switzerland: Springer.

Chavalkul, Y. (2009). Package openability: design for novel packaging for older people. (Doctoral thesis,

BCU).

Duizer, L. M., Robertson, T. & Han, J. (2009). Requirements for packaging from an ageing consumer’s

perspective. Packaging Technology and Science, 22 (4), 187-197.

Hartson, H. R. (2003). Cognitive, physical, sensory, and functional affordances in interaction design.

Behaviour & Information Technology, 22(5), 315-338.

Lauer, D., & Pentak, S. (2008). Design basics. Boston, CA: Wadsworth.

Lindahl, M. (2005). Engineering designers' requirements on design for environment methods and

tools. (Doctoral dissertation, KTH).

Lofthouse, V. (2006). Ecodesign tools for designers: defining the requirements. Journal of Cleaner

Production, 14(15-16), 1386-1395.

Madu, C. N. (2006). House of quality (QFD) in a minute. 2nd. Ed. Fairfield, CT: Chi Publishers.

Martin, B. and Hanington, B. (2012). Universal methods of design. Beverly, MA: Rockport publishers.

Norman, D. A. (2002). The design of everyday things. New York: Basic Books.

Osterwalder, A., Pigneur, Y., Bernarda, G., & Smith, A. (2014). Value proposition design: How to create

products and services customers want. Bangkok: WeLearn.

Sasananan, M. (2007). Product design for innovation and reverse engineering. Bangkok: Thammasat

University Publication.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-10-25

How to Cite

ชวาลกุล ญ. (2022). การปรับปรุงแนวทางการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ. สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย, 21(3), 63–77. https://doi.org/10.14456/bei.2022.22