พฤติกรรมการถ่ายเทความร้อนและความชื้นผ่านผนังจากขวดแก้ว
DOI:
https://doi.org/10.14456/bei.2022.23คำสำคัญ:
ถ่ายเทความร้อน, ความชื้น, ขวดแก้วบทคัดย่อ
การวิจัยนี้ศึกษาพฤติกรรมการถ่ายเทความร้อนและความชื้นผ่านผนังจากขวดแก้ว เพื่อเป็นแนวทางในการนำขยะประเภทขวดแก้วกลับมาประยุกต์ใช้กับงานก่อสร้างด้านผนังอาคาร เนื่องจากการลดการถ่ายเทความร้อนผ่านผนังอาคารช่วยลดภาระการทำความเย็นที่เพิ่มขึ้นของเครื่องปรับอากาศ จึงแสดงให้เห็นว่าวัสดุที่ใช้ในการป้องกันความร้อนละความชื้นด้านผนังอาคาร มีบทบาทต่อการถ่ายเทความร้อนเข้าสู่อาคาร จึงเกิดแนวทางในการศึกษาเกี่ยวกับวัสดุป้องกันความร้อนและความชื้นผ่านผนังจากขวดแก้วที่ใช้แล้ว
เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและนำไปปรับใช้ได้ตรงความต้องการ จึงได้ทำการศึกษาจากอาคารตัวอย่าง โดยทำการสำรวจภาคสนาม ศึกษาอาคารที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเก็บข้อมูลด้านกายภาพจากอาคารตัวอย่าง จำนวน 3 อาคาร คือ 1. วัดป่ามหาเจดีย์แก้ว จังหวัดศรีสะเกษ 2. วัดลาดเก่า จังหวัดยโสธร 3. แหล่งเรียนรู้การตัดขวดแก้วด้วยมือ จังหวัดสุรินทร์ ดำเนินการบันทึกและวัดค่าอุณหภูมิอากาศและความชื้นสัมพัทธ์ด้วยอุปกรณ์สำหรับเก็บข้อมูลเพื่อประมวลผลเพื่อนำมาเปรียบเทียบผลการทดลอง กับวัสดุผนังทดสอบที่สร้างขึ้นมา โดยกล่องที่ใช้มีขนาดพื้นที่บริเวณช่องเปิดด้านหน้าสำหรับการติดตั้งวัสดุทดสอบเท่ากับ 0.60 x 0.60 x 0.60 เมตร ความหนาของกล่อง 0.15 เมตร โดยทำการศึกษาผนังทดสอบ 3 ชนิด คือ 1. ทดสอบผนังก่ออิฐบล็อกฉาบปูนเรียบ 2. ทดสอบผนังก่ออิฐบล็อกก่อปิดทับด้านหน้าด้วยขวดแก้ว 3. ผนังก่อด้วยขวดแก้วตัด การทดสอบแบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยในส่วนที่ 1 เป็นการสำรวจตรวจวัดค่าเปรียบเทียบอุณหภูมิอากาศและความชื้นภายนอก ส่วนที่ 2 เป็นการทดสอบในกล่องทดลองเพื่อควบคุมตัวแปร ทำการวัดค่าอุณหภูมิอากาศและความชื้นสัมพัทธ์ทุก ๆ 5 นาที ด้วยอุปกรณ์สำหรับเก็บข้อมูล ทำการเก็บผลการทดลองในช่วงฤดูร้อน ระหว่างวันที่ 19-21 กุมภาพันธ์ 2565
ผลจากการสำรวจและวัดค่าจากอาคารตัวอย่างพบว่าช่วงเวลากลางคืนผนังก่ออิฐบล็อกก่อปิดทับด้านหน้าด้วยขวดแก้ว จะสามารถช่วยชะลอความรุนแรงของสภาพอากาศได้ดีเช่นเดียวกันกับผลจากการทดลองกับกล่องทดลอง จากการสำรวจจากอาคารตัวอย่างและจากการทดลองกับกล่องทดลอง ผนังอาคารขนาดพื้นที่ 1x1 ตร.ม. จะสามารถช่วยลดขยะประเภทขวดแก้ว ขนาด 620 มล. ได้จำนวน 100 ขวด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรูปแบบและระยะห่างในการจัดวางขวดแก้วด้วย ผนังก่ออิฐบล็อกก่อปิดทับด้านหน้าด้วยขวดแก้วจะมีค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างสูงกว่าผนังก่อบล็อคฉาบปูน ประมาณ 500-600 บาท เหมาะกับการนำไปปรับใช้กับอาคารที่มีการใช้งานในช่วงเวลากลางคืน จะสามารถช่วยชะลอความรุนแรงของสภาพอากาศได้ดีในช่วงเวลาหนึ่ง โดยที่จะช่วยป้องกันอากาศหนาวเย็นจากภายนอกในช่วงฤดูหนาวหรือช่วงกลางคืนได้ประมาณ 2-4 องศาเซลเซียส
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ