พฤติกรรมการเดินทางของผู้สูงอายุในเมืองขนาดกลาง กรณีศึกษา เมืองขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • รชยา พรมวงศ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ปัทมพร วงศ์วิริยะ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

DOI:

https://doi.org/10.14456/bei.2022.20

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการเดินทางของผู้สูงอายุ, เมืองขนาดกลาง, เมืองขอนแก่น

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเดินทางของผู้สูงอายุเมืองขอนแก่น ในพื้นที่ศูนย์กลางเมืองและเมืองชั้นใน พื้นที่ชานเมืองชั้นใน และพื้นที่ชานเมืองชั้นนอก โดยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เก็บข้อมูลจากผู้สูงอายุ จำนวน 150 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา จากการศึกษาพบว่า พฤติกรรมการเดินทางของผู้สูงอายุเมืองขอนแก่นปัจจุบัน ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุตอนต้น (60-69 ปี) ที่มีกิจกรรมหลักในการเดินทาง คือการเดินทางเพื่อไปรับบริการทางการแพทย์มากที่สุด รองลงมาคือ การเดินทางเพื่อไปศาสนสถาน และการเดินทางเพื่อไปตลาด ตามลำดับ โดยพื้นที่จุดหมายปลายทางข้างต้นจะกระจุกตัวอยู่ในพื้นที่ศูนย์กลางเมืองและเมืองชั้นในมากที่สุด และส่วนใหญ่ผู้สูงอายุมีจุดเริ่มต้นการเดินทางจากที่พักอาศัยในพื้นที่ศูนย์กลางเมืองและเมืองชั้นในเช่นเดียวกัน โดยรูปแบบการเดินทางมักจะใช้รถยนต์ส่วนบุคคลมากที่สุด โดยใช้ถนนมิตรภาพและถนนศรีจันทร์เป็นเส้นทางหลักในการเดินทางในช่วงเช้าของวันจันทร์ถึงศุกร์เพื่อไปยังจุดหมายปลายทาง ที่มีระยะทางในการเดินทางส่วนใหญ่ในระยะ 401 ม.-10.0 กม. ใช้ระยะเวลาในการเดินทางส่วนใหญ่ 15-30 นาที โดยมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางเฉลี่ย 15 บาทต่อเที่ยวการเดินทาง และเมื่อพิจารณาการใช้ขนส่งสาธารณะในการเดินทางเพื่อไปทำกิจกรรมต่าง ๆ ของผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่ไม่เลือกใช้ขนส่งสาธารณะ เนื่องจากข้อจำกัดทางกายภาพของร่างกายที่ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของร่างกายลดลง ทำให้ผู้สูงอายุขาดความมั่นใจในความปลอดภัยเมื่อใช้ขนส่งสาธารณะ จากผลการศึกษาที่กล่าวมาข้างต้นแสดงให้เห็นถึงสถาณการณ์ปัจจุบันของการเดินทางเพื่อไปทำกิจกรรมของกลุ่มผู้สูงอายุเมืองขอนแก่นที่นักวิจัยและนักวางแผนพัฒนาเมืองสามารถนำไปใช้เป็นฐานข้อมูลเพื่อนำไปสู่การวางแผนพัฒนาเมืองด้านการขนส่งเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุได้อย่างเป็นมิตรมากขึ้น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-10-06

How to Cite

พรมวงศ์ ร., & วงศ์วิริยะ ป. (2022). พฤติกรรมการเดินทางของผู้สูงอายุในเมืองขนาดกลาง กรณีศึกษา เมืองขอนแก่น. สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย, 21(3), 17–42. https://doi.org/10.14456/bei.2022.20