การศึกษาอัตลักษณ์ไทหล่มเพื่อเป็นแนวทางการออกแบบปรับปรุงพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดโพธิ์ทองน้ำครั่งแหล่งท่องเที่ยววัฒนธรรมทางวัตถุโบราณ จังหวัดเพชรบูรณ์
DOI:
https://doi.org/10.14456/bei.2023.3คำสำคัญ:
อัตลักษณ์ ไทหล่ม พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน วัฒนธรรม วัตถุโบราณบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ และวัฒนธรรมเชิงวัตถุของชาวไทหล่ม อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อศึกษาแนวคิด และความต้องการการออกแบบปรับปรุงพิพิธภัณฑ์แบบชุมชนมีส่วนร่วม และเพื่อเสนอแนะแนวทางการออกแบบตกแต่งภายในพิพิธภัณฑ์ โดยมีวิธีเก็บข้อมูล 4 ส่วน ดังนี้ 1) การศึกษาเอกสาร ประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต และวัฒนธรรมไทหล่ม 2) การสัมภาษณ์เชิงลึก ด้านแนวคิดการออกแบบปรับปรุงพิพิธภัณฑ์ร่วมกับผู้นำชุมชน จำนวน 10 คน 3) การเก็บแบบสอบถาม ด้านความต้องการการออกแบบปรับปรุงพิพิธภัณฑ์ จำนวน 100 คน และ 4) การประเมินผลการออกแบบพิพิธภัณฑ์จากกลุ่มประชากร จำนวน 50 คน และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 คน
จากผลการศึกษา พบว่า อัตลักษณ์ไทหล่มที่มีคุณค่า มี 2 ประเภท ดังนี้ 1. อัตลักษณ์วัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุ แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ อัตลักษณ์วัฒนธรรมการแห่ปราสาทผึ้งและอัตลักษณ์วัฒนธรรมการแทงหยวก 2. อัตลักษณ์วัฒนธรรมที่เป็นวัตถุ แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้ 1. อัตลักษณ์สถาปัตยกรรมบ้านเรือนและสถาปัตยกรรมทางศาสนา ได้แก่ เรือนไม้พื้นถิ่นไทหล่มรูปแบบผสมไทย-ลาว และสิมวัดโบราณ ศิลปะจิตรกรรมฝาผนังโบราณแบบศิลปะล้านช้างของวัดศรีมงคล (บ้านนาทราย) 2. อัตลักษณ์ภูมิปัญญาผ้าซิ่นหัวแดงตีนก่านที่มีลวดลายธรรมชาติอันเป็นเอกลักษณ์ โดยชุมชนมีแนวคิดการพัฒนาพิพิธภัณฑ์ 6 หลักการ ดังนี้ 1. การออกแบบที่มีจุดเด่นทางอัตลักษณ์และสร้างการจดจำได้ง่าย 2. การออกแบบที่สร้างพื้นที่เชื่อมโยงชุมชน 3. การออกแบบที่ใช้งานได้สะดวก 4. การออกแบบที่ดูแลรักษาง่ายและมีความปลอดภัย 5. การออกแบบที่เรียบง่ายจากวัสดุในท้องถิ่น 6. การออกแบบที่ลดต้นทุนการก่อสร้างและการดูแล โดยมีแนวทางการออกแบบปรับปรุงพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านตามวิถีชีวิตไทหล่ม ออกแบบจัดแสดงวัตถุและข้อมูลประเพณีให้มีความสวยงาม แบบการรักษาความเป็นของแท้ของวัตถุโบราณ โดยเน้นการจัดแสดงวัตถุให้มีจุดเด่นที่น่าสนใจ มีพื้นที่รองรับการทำกิจกรรมร่วมกันในชุมชน ปรับปรุงการตกแต่งภายใน โดยการใช้ลวดลายและรูปทรงที่ถอดจากประเพณีการแห่ปราสาทผึ้ง ประเพณีผีตาโม่ และประเพณีสงกรานต์ไทหล่ม ด้วยการใช้วัสดุไม้โทนสีธรรมชาติ และการใช้แสงธรรมชาติเพื่อลดงบประมาณการดูแลพิพิธภัณฑ์
References
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2552). การส่งเสริมการลงทุนธุรกิจท่องเที่ยวในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2563.
จาก https://www.tat.or.th/th/about-tat/annual-report
ชนัญ วงษ์วิภาค. (2547). การจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ทิวาวรรณ ศิริเจริญ และนันทกานต์ ศรีปลั่ง. (2560). การออกแบบเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมวิถีไทหล่ม เที่ยวไทหล่ม
เมืองสงบ มากเสน่ห์. งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์, 17(4), 472 - 480.
นภาภรณ์ หะวานนท์ และคณะ. (2550). ทฤษฎีฐานรากในเรื่องความเข้มแข็งของชุมชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับ
สนุนการวิจัย.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
บุษยรัตน์ ธรรมขันตี. (2555). เมืองหล่มดินแดนแห่งการสืบทอดประเพณีและวัฒนธรรมอาณาจักรล้านช้าง. วารสารศิลป
วัฒนธรรมเพชบุรี, 2(4), 65-75.
มาริสา หิรัญตียะกุล และนพดล ตั้งสกุล. (2565). การศึกษาอัตลักษณ์ถิ่นที่ในสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง. วารสารวิจัยและสาระ
สถาปัตยกรรม การผังเมือง, 19(1), 99-113.
วิศัลย์ โฆษิตานนท์. (2557). หล่มเก่า เมืองหลบ เมืองสงบ เมืองเสน่ห์. เพชรบูรณ์: องค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์และ
สภาวัฒนธรรม จังหวัดเพชรบูรณ์.
สวัสดิ์ สุขเลี้ยง. (2545). การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม : กรณีศึกษาหมู่บ้านห้วย โป่งผาลาด อำเภอเวียงป่าเป้า
จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
เสริมศักดิ์ ขุนพล. (2558). การศึกษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมความเชื่อของชุมชนเกาะยอ. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัย
ทักษิณ, 28(3), 83-103.
อมรา พงศาพิชญ์. (2537). วัฒนธรรม ศาสนา และชาติพันธุ์ : วิเคราะห์สังคมไทยแนว มานุษยวิทยา. (พิมพ์ครั้งที่ 3)
กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อภิญญา เฟื่องฟูสกุล. (2546). อัตลักษณ์ การทบทวนทฤษฎีและกรอบแนวคิด. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัย
แห่งชาติ.
Relph, E. (1976). Place and placelessness. London: Pion Limited.
Tilden, F. (1977). Interpreting our heritage. Chapen Hill: University of North Carolina: “n.p.”.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ