แนวทางการปรับปรุงสภาพแวดล้อมภายในของอาคารพักอาศัยบุคลากร ทางการแพทย์ เพื่อเพิ่มโอกาสในการกระจายของอากาศด้วยวิธีธรรมชาติ

ผู้แต่ง

  • ธีรภัทร์ แสงนิล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • นพดล ตั้งสกุล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • อธิป อุทัยวัฒนานนท์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

DOI:

https://doi.org/10.14456/bei.2023.7

คำสำคัญ:

อาคารพักอาศัยรวม, การระบายอากาศโดยวิธีธรรมชาติ, สภาพแวดล้อมภายใน, พลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณ, การกระจายของอากาศ

บทคัดย่อ

ปัจจุบันยังมีการใช้งานอาคารพักอาศัยแบบรวมที่มีการก่อสร้างเมื่อนานมาแล้ว โดยอาคารเหล่านี้ไม่ได้ค􀄞ำ
ถึงการออกแบบที่ปลอดภัยจากโรคติดต่อทางอากาศเท่าที่ควร ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงต้องการศึกษาแนวทางการพัฒนา
อาคารพักอาศัยรวม โดยมีแบบหมายเลข 3852 และแบบหมายเลข 5462 ที่ออกแบบโดยกองแบบแผน กรมสนับสนุน
บริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข เป็นกรณีศึกษาเพื่อเพิ่มโอกาสในการกระจายตัวของอากาศโดยวิธีธรรมชาติ
ซึ่งอาจช่วยลดโอกาสในการติดเชื้อทางอากาศได้ การคัดเลือกแบบอาคารใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจงโดยเน้นที่พักอาศัย
แบบรวมและเป็นการอาศัยร่วมกันระหว่างบุคลากรจากหลายวิชาชีพซึ่งเสี่ยงต่อการสัมผัสเชื้อ วิธีการศึกษาประกอบ
ด้วยการทบทวนเอกสารจากข้อมูลทุติยภูมิและแบบทางสถาปัตยกรรม การส􀄞ำรวจพฤติกรรมการใช้พื้นที่ภายในอาคาร
พักอาศัย และการจ􀄞ำลองอาคารเพื่อค􀄞ำนวณพลศาสตร์ของไหล (CFD) ให้ทราบถึงการกระจายตัวของลมภายในที่พัก
อาศัย โดยผลการศึกษาพบว่า บุคลากรทางการแพทย์มีการใช้พื้นที่อเนกประสงค์ส่วนกลางร่วมกัน ในเวลาช่วงเดียวกัน
มีล􀄞ำดับการใช้งานพื้นที่ที่อาจส่งผลต่อการแพร่เชื้อโรคติดต่อทางอากาศ ผลการทดสอบการกระจายตัวอากาศภายหลัง
การปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมภายในห้องพัก พบว่า สามารถเพิ่มการระบายอากาศในพื้นที่ส่วนกลางได้ดียิ่งขึ้น
โดยแนวทางการออกแบบเพื่อเพิ่มโอกาสในการระบายอากาศ เสนอให้มีการจัดล􀄞ำดับการใช้งานพื้นที่ การจัดสัดส่วน
พื้นที่พักอาศัยและปรับเปลี่ยนช่องเปิดอาคารบางส่วน

References

ตรึงใจ บูรณสมภพ. (2521). การออกแบบสถาปัตยกรรมเมืองร้อนในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

ธีรภัทร ถนัดศิลปกุล. (2559) การออกแบบผังห้องชุดพักอาศัยที่มีช่องเปิดด้านเดียวเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการสร้าง

สภาวะสบายจากการระบายอากาศด้วยวิธีธรรมชาติ. วิทยานิพนธ์ปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรมหา

บัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธีรภัทร์ แสงนิล, นพดล ตั้งสกุล และอธิป อุทัยวัฒนานนท์. (2565). การสำรวจลักษณะอาคารพักอาศัยรวมของ

บุคลากรทางการแพทย์ เพื่อเสนอแนวทางการออกแบบที่ลดการแพร่ระบาดของเชื้อโรคในสถานการณ์

โรคติดต่อทางอากาศ. วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง, 4(3).

พิมลศิริ ประจงสาร. (2559). วิธีการศึกษาการระบายอากาศดวยวิธีธรรมชาติ เพื่อเพิ่มความสบาย. หนาจั่ว:

วาด้วยสถาปตยกรรมการออกแบบ และสภาพแวดลอม, 30(1).

มณีนาถ ลินวัฒนา. (2559). แนวทางการออกแบบช่องเปิดเกล็ดระบายอากาศ สำหรับอาคารพักอาศัยรวมแบบ

ผังทางเดินร่วม. วิทยานิพนธ์ปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม ภาควิชา

สถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2556ก). คู่มือปฏิบัติการป้องกันและควบคุมการติด

เชื้อในโรงพยาบาล. นนทบุรี: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

Inkarojrit, V. (2010). Natural Ventilation in Thai Hospitals: A Field Study. Proceedings of the 31st

AIVC International Conference. Korea, 26-28 October 2010.

Olgyay, V. (1963). Design with Climate: A Bioclimatic Approach to Architecture. New Jersey:

Princeton University Press.

Sterling, E. M., Arundel, A., & Sterling, T. D. (1985). Criteria for Human Exposure to Humidity in

Occupied Building. [Electronic version]. ASHRAE Transaction, 91(1).

World Health Organization. (2009) Natural Ventilation for Infection Control in Health-care Settings,

Canberra: Biotext.

________. (2021). Coronavirus disease (COVID-19) advice for the public. Retrieved October

, 2021, from https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-

/advice-for-public?fbclid=IwAR2vvYJDtbbPBb6TW1qzwhxkmboygutak-

c6CHX25KcrBzlQoHQUtRwyubc

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-21

How to Cite

แสงนิล ธ., ตั้งสกุล น., & อุทัยวัฒนานนท์ อ. (2023). แนวทางการปรับปรุงสภาพแวดล้อมภายในของอาคารพักอาศัยบุคลากร ทางการแพทย์ เพื่อเพิ่มโอกาสในการกระจายของอากาศด้วยวิธีธรรมชาติ. สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย, 22(1), 111–132. https://doi.org/10.14456/bei.2023.7