การรับรู้ภาพจิตรกรรมผ่านสื่อดิจิทัล กรณีศึกษา ภาพจิตรกรรมสีน้ำมัน เทคนิคการระบายสีแบบหนา (IMPASTO)

ผู้แต่ง

  • มัชฌิมา มรรคา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • อภิพรรณ บริสุทธิ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พรรณชลัท สุริโยธิน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

DOI:

https://doi.org/10.14456/bei.2023.10

คำสำคัญ:

การรับรู้, สื่อดิจิทัล, ภาพจิตรกรรม, การระบายสีแบบหนา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการรับรู้ และเปรียบเทียบการรับรู้ภาพจิตรกรรมสีน้ำมัน เทคนิคการระบายสีแบบหนา (Impasto) ระหว่างการรับชมภาพที่จัดแสดงกับการรับชมภาพในหน้าจอหรือสื่อดิจิทัล เพื่อเสนอแนะแนวทางการจัดแสดงที่ส่งเสริมการรับรู้วัตถุประเภทภาพจิตรกรรมที่มีลักษณะพื้นผิวนูน ให้มีการรับรู้ที่ใกล้เคียงกัน โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 63 คน อายุระว่าง 21-40 ปี ด้วยแบบสอบถามคู่คำตรงข้าม มาตรประมาณค่า 6 ระดับ ดำเนินการทดลองในห้องจำลองที่มีการปรับเปลี่ยนปัจจัยในการศึกษาในการจัดแสดงภาพ 18 สภาวะ และรูปถ่าย 18 รูป ประกอบด้วย ปัจจัยด้านทิศทางการส่องสว่าง ได้แก่ การส่องจากทิศทางด้านหน้า และการส่องจากทิศทางด้านข้าง ปัจจัยด้านมุมส่องวัตถุที่ดวงโคมกระทำกับแนวดิ่งเท่ากับ 20 องศา, 30 องศา และ 35 องศา และปัจจัยด้านระดับความส่องสว่าง ได้แก่ 100%, 50% และ30% ทำการศึกษาการรับรู้ด้านความสว่าง ความมีสีสัน ความชัดเจน ความมีมิติของพื้นผิว ความสบายตา และความพึงพอใจ ผลการศึกษาพบว่าทิศทางการส่องสว่าง มุมส่องวัตถุ และระดับความส่องสว่าง มีอิทธิพลต่อการรับรู้ภาพที่จัดแสดงและภาพในหน้าจออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งนี้จากการพิจารณาโดยภาพรวมเพื่อให้การรับชมภาพที่จัดแสดงและการรับชมภาพในหน้าจอมีการรับรู้ที่ใกล้เคียงกันที่สุด การจัดแสดงภาพจิตรกรรมโดยใช้ทิศทางการส่องสว่างจากด้านข้าง มุมส่องวัตถุ 30 องศา ที่ระดับความส่องสว่าง 50% ทำให้การรับชมภาพที่จัดแสดงและการรับชมภาพในหน้าจอมีการรับรู้ที่ใกล้เคียงกัน สามารถส่งเสริมการรับรู้ในด้านความสว่าง ความมีสีสัน ความชัดเจน ความสบายตา และความพึงพอใจ แต่หากต้องการเน้นการรับรู้ความมีมิติของพื้นผิว จะทำให้การรับรู้ด้านอื่น ๆ ลดลง ทั้งการรับชมภาพที่จัดแสดงและการรับชมภาพในหน้าจอ อย่างไรก็ตามการเลือกใช้ขึ้นอยู่กับความต้องการในการนำเสนอผลงานของศิลปินด้วยเช่นกัน

Author Biographies

มัชฌิมา มรรคา, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นิสิตระดับปริญญาโท ภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อภิพรรณ บริสุทธิ์, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อาจารย์ ดร. อภิพรรณ บริสุทธิ์

อาจารย์ประจำ คณะสถาปัตยกรรมศาสาตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พรรณชลัท สุริโยธิน, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รองศาสตราจารย์ พรรณชลัท สุริโยธิน

อาจารย์ประจำ คณะสถาปัตยกรรมศาสาตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

References

Belhumeur, P. N., Kriegman, D. J., & Yuille, A. L. (1999). The Bas-Relief Ambiguity. International Journal of Computer Vision, 35(1).

Buether, A. (2014). Colour : design principles, planning strategies, visual communication. Munich, Germany: Edition Detail.

Carbon, C.-C. (2017). Art Perception in the Museum: How We Spend Time and Space in Art Exhibitions. i-Perception, 8(1).

CIE. (2004). CIE 157: Control of damage to museum objects by optical radiation Vienna, Austria: Commission International de l'Éclairage.

Cuttle, C. (2007). Light for art's sake lighting for artworks and museum displays (1st ed.). Amsterdam Butterworth-Heinemann.

Dee, H., & Santos, P. (2011). The Perception and Content of Cast Shadows: An Interdisciplinary Review. Spatial Cognition & Computation, 11.

Feltrin, F., Leccese, F., Hanselaer, P., & Smet, K. A. G. (2020). Impact of Illumination Correlated Color Temperature, Background Lightness, and Painting Color Content on Color Appearance and Appreciation of Paintings. LEUKOS, 16(1).

Green, M. (2018). Determining Visibility: Contrast is Fundamental. Retrieved from https://www.visualexpert.com/Resources/contrastfundamental.html

Hansen, E., Pajuste, M., & Xylakis, E. (2020). Flow of Light: Balancing Directionality and CCT in the Office Environment. LEUKOS, 18.

ICO. (1988). Visual acuity measurement standard. Italian J Ophthalmol, 2(1).

IESNA. (2000). The IESNA lighting handbook (9th ed.). New York: Illuminating Engineering Society of North America.

Ishihara, S. (1974). Tests for colour-blindness (24 plates ed.). Tokyo: Tokyo : Kanehara Shuppan Co.

Leccese, F., Salvadori, G., Maccheroni, D., & Feltrin, F. (2020). Lighting and visual experience of artworks: Results of a study campaign at the National Museum of San Matteo in Pisa, Italy. Journal of Cultural Heritage, 45.

Nascimento, S., & Masuda, O. (2014). Best lighting for visual appreciation of artistic Paintings - Experiments with real paintings and real illumination. Journal of the Optical Society of America. A, Optics, image science, and vision, 31.

Pelowski, M., Graser, A., Specker, E., Forster, M., von Hinüber, J., & Leder, H. (2019). Does Gallery Lighting Really Have an Impact on Appreciation of Art? An Ecologically Valid Study of Lighting Changes and the Assessment and Emotional Experience With Representational and Abstract Paintings. Frontiers in Psychology, 10.

Rockcastle, S., Danell, M., Calabrese, E., Sollom-Brotherton, G., Mahic, A., Van Den Wymelenberg, K., & Davis, R. (2021). Comparing perceptions of a dimmable LED lighting system between a real space and a virtual reality display. Lighting Research & Technology, 53(8).

SLL. (2015). Lighting Guide 08: Lighting for museums and art galleries. London: Society of Light and Lighting.

Sylaiou, S., Liarokapis, F., Kotsakis, K., & Patias, P. (2009). Virtual museums, a survey and some issues for consideration. Journal of Cultural Heritage, 10.

จรัสพร ชุมศรี. (2564, 1 ตุลาคม). ศิลปินภาพจิตรกรรมสีน้ำมัน. [สัมภาษณ์].

ธีรนาฎ มีนุ่น. (2564, 4 เมษายน). ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา. [สัมภาษณ์].

พรรณชลัท สุริโยธิน. (2565). แสง-ศาสตร์-ศิลป์ : การส่องสว่างสำหรับพิพิธภัณฑ์และหอศิลป์: พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน. (2561). เรื่องที่ ๑ พิพิธภัณฑสถาน. สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ. เล่มที่ 40. สืบค้นจาก https://www.saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?book=40&chap=1&page=chap1.htm

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-23

How to Cite

มรรคา ม., บริสุทธิ์ อ., & สุริโยธิน พ. (2023). การรับรู้ภาพจิตรกรรมผ่านสื่อดิจิทัล กรณีศึกษา ภาพจิตรกรรมสีน้ำมัน เทคนิคการระบายสีแบบหนา (IMPASTO). สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย, 22(2), 31–48. https://doi.org/10.14456/bei.2023.10