การออกแบบสร้างสรรค์นวัตกรรมโคมล้านนาร่วมสมัย สำหรับผู้ประกอบการในชุมชนเมืองสาตรหลวง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ศุภกร สมมิตร คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

DOI:

https://doi.org/10.14456/bei.2023.11

คำสำคัญ:

นวัตกรรมผลิตภัณฑ์โคมล้านนา, ส่งเสริมการขาย, ชีวิตวิถีใหม่, ชุมชนเมืองสาตรหลวง, จังหวัดเชียงใหม่

บทคัดย่อ

          การออกแบบสร้างสรรค์นวัตกรรมโคมล้านนาร่วมสมัยสำหรับผู้ประกอบการในชุมชนเมืองหลวง จังหวัดเชียงใหม่
มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อออกแบบสร้างสรรค์นวัตกรรมโคมล้านนาร่วมสมัยสำหรับผู้ประกอบการในชุมชนเมืองสาตรหลวง
จังหวัดเชียงใหม่ (2) เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้การสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์โคมล้านนาร่วมสมัย ร่วมกับการแลกเปลี่ยนกับตัวแทนชุมชน
สำหรับกลุ่มผู้ประกอบการร้านค้า และผู้ผลิตในชุมชนเมืองสาตรหลวงจังหวัดเชียงใหม่

          โดยเป็นงานวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) ผ่านกระบวนการ
การจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management Process) ร่วมกับตัวแทนผู้ผลิตผู้ประกอบการในชุมชนเมือง
สาตรหลวง โดยแบบสัมภาษณ์ข้อมูลเบื้องต้น สำหรับกลุ่มตัวอย่าง (ผู้ผลิต/ ผู้ประกอบการ) พบว่า โคมแบบ 8 เหลี่ยม
ขายดีที่สุด และประสบปัญหามากที่สุด จึงนำมาเป็นกรณีศึกษาในการวิจัย ส่วนความต้องการรูปแบบโคมใหม่ ได้พัฒนา
รูปแบบของโคมกระบอกรูปทรง 4 เหลี่ยม ที่สามารถพับ ลดขนาดให้เล็กลงทั้ง 2 รูปแบบ เพื่อแก้ปัญหาในด้าน
(1) การแบกรับต้นทุนการขนส่งที่สูงเกินราคาสินค้า (2) ขนาดที่มีผลต่อการบรรจุทำให้การส่งหรือเก็บพักสินค้าเปลือง
พื้นที่ใช้สอย (3) รูปแบบสินค้าไม่แปลกใหม่ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงลูกค้ากล่มใหม่หรือเปิดตลาดใหม่ได้ (4) ขาดอัตลักษณ์
เกิดการลอกเลียนแบบทำให้ลดคุณค่าความงามของ โคมไม่เป็นที่โดดเด่น ผู้วิจัยวิเคราะห์ปัญหาด้านรูปทรงและ
ประโยชน์ใช้สอย โดยใช้แนวคิดการออกแบบหัตถกรรมเชิงนวัตกรรม แก้ปัญหาทางด้านรูปทรงของโคม 8 เหลี่ยม
ซึ่งประกอบด้วย ส่วนหัว (ที่เรียกว่าจิก) ส่วนกลาง และส่วนหาง โครงสร้างทำจากไม้ไผ่ ยึดเข้าหากันด้วยกาวยางผสม
ลาเท็กซ์ หุ้มด้วยผ้า เมื่อพัฒนาร่วมกับชุมชนลดทอนโครงสร้างเส้นตั้งออก เหลือโครงไว้เส้นนอน แล้วใช้ตัวผ้าที่เป็น
ตัวดึงรั้งยึดรูปทรงยังคงความเป็นเอกลักษณ์ (8 เหลี่ยมตามเดิม) ให้สามารถพับเก็บได้ และคลี่กางออกเมื่อต้องใช้งาน
โดยไม่เสียรูปทรง และโคมกระบอกรูปทรงสี่เหลี่ยม ลักษณะส่วนล่าง และบนของโคมสามารถย่อยืดเพื่อการจัดเก็บ
และกางออกใช้งานไม่เสียรูปทรงแต่ยังคงเน้นการแสดงลวดลายส่วนที่เป็นอัตลักษณ์ของเชียงใหม่ แล้วทำการจัดอบรม
ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่ชุมชน โดยมีการประเมินความพึงพอใจจากกลุ่มตัวอย่างผู้ประกอบการ จำนวน 15 คน พบว่า
โคมแบบ 8 เหลี่ยม โดยรวม มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ อยู่ในระดับดี ( ) 4.38 S.D. = 0.49 จำแนกเป็นด้านรูปทรง
อยู่ในระดับดีมาก ( ) 4.50 S.D. = 0.46 ด้านประโยชน์ใช้สอย อยู่ในระดับดีมาก ( ) 4.52 S.D. = 0.46 และด้านวัสดุ
และกรรมวิธีการผลิต อยู่ในระดับดี ( ) 4.13 S.D. = 0.55 และโคมแบบ 4 เหลี่ยม โดยรวมมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ
อยู่ในระดับดี ( ) 4.56 S.D. = 0.45 จำแนกเป็นด้านรูปทรง อยู่ในระดับดีมาก ( ) 4.0 S.D. = 0.45 ด้านประโยชน์
ใช้สอย อยู่ในระดับดีมาก ( ) 4.60 S.D. = 0.47 และด้านวัสดุและกรรมวิธีการผลิต อยู่ในระดับดี ( ) 4.40 S.D. = 0.44

 

References

ตระกูลพันธ์ พัชรเมธา. (2559). ผลิตภัณฑ์หัตถกรรมกับการพัฒนาสู่สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์. วารสาร

มหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์และศิลปะ, 36(1), 67-80.

ญาตาวีมินทร์ พืชทองหลาง และประทีป พืชทองหลาง. (2560). โคมล้านนา : รูปแบบการผลิตแบบดั้งเดิมและ

ประยุกต์ สมัยใหม่เชิงพาณิชย์. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 43(2)

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: ศิริวัฒนาอินเตอร์-พริ้นท์.

วรัทยา ธรรมกิติภพ. (2559). กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการจัดการธุรกิจชุมชน เพื่อการสร้างความเข้ม

แข็งอย่างยั่งยืนของชุมชน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 4(1)

วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. (2536). ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ: ต้นอ้อ.

ศิริวัฒน์ นารีเลิศ. (2557). วิวัฒนาการของศิลปะไทย. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2565. จาก http://www.

baanjomyut.com/library_2/extension-3/evolution_of_thai_art/16.html.

สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์, พักตร์ผจง วัฒนสินธุ์, อัจฉรา จันทร์ฉาย และประกอบ คุปรัตร์. (2553). นวัตกรรม:

ความหมาย ประเภท และความสำคัญต่อการเป็นผู้ประกอบการ. วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัย

ธรรมศาสตร์, 33(128), 51-54.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12.

สืบค้นเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2565. จาก https://www.nesdc.go.th/main.php?filename=

develop_issue

อภิญญา เฟื่องฟูสกุล. (2546). อัตลักษณ์: การทบทวนทฤษฎีและกรอบแนวคิด. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการสภาวิจัย

แห่งชาติ สาขาสังคมวิทยา.

อุทุมพร จามรมาน และคณะ. (2553). การควบคุมการวัดประเมินและการจัดการความรู้. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-09

How to Cite

สมมิตร ศ. (2023). การออกแบบสร้างสรรค์นวัตกรรมโคมล้านนาร่วมสมัย สำหรับผู้ประกอบการในชุมชนเมืองสาตรหลวง จังหวัดเชียงใหม่. สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย, 22(2), 49–67. https://doi.org/10.14456/bei.2023.11