บทบาทและการเปลี่ยนแปลงของย่านชุมชนเก่า ในเกาะรัตนโกสินทร์ กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ปัณฑารีย์ ชูตระกูล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • กฤตพร ห้าวเจริญ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

DOI:

https://doi.org/10.14456/bei.2023.20

คำสำคัญ:

บทบาท, การเปลี่ยนแปลง, ย่านชุมชนเก่า, เกาะรัตนโกสินทร์, กรุงเทพมหานคร

บทคัดย่อ

เกาะรัตนโกสินทร์ กรุงเทพมหานคร เป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์แห่งการปกครอง ศูนย์รวมทางเศรษฐกิจ และสังคมศิลปวัฒนธรรมที่สำคัญตั้งแต่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ภายในพื้นที่ยังคงเป็นแหล่งที่ตั้งของย่านชุมชนเก่าที่สะท้อนถึงอัตลักษณ์ของพื้นที่ ทั้งเชิงโครงสร้างทางกายภาพ วิถีชีวิตวัฒนธรรม และกิจกรรมทางเศรษฐกิจ แต่ด้วยผลพวงจากการพัฒนาเมืองส่งผลต่อการปรับตัวของย่านชุมชนเก่า เพื่อก่อให้เกิดการคงอยู่ของแต่ละกลุ่มสังคมในอดีตจนกระทั่งปัจจุบันอยู่เสมอ จึงมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาพัฒนาการและความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ของเกาะรัตนโกสินทร์ กรุงเทพมหานคร เพื่อนำไปสู่การทำความเข้าใจถึงบทบาทและการเปลี่ยนแปลงของย่านชุมชนเก่าในเกาะรัตนโกสินทร์ กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2325-2565 โดยงานวิจัยนี้มีการศึกษาผ่านการเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ คือ การทบทวนวรรณกรรมและเอกสารที่เกี่ยวข้อง ประกอบกับข้อมูลปฐมภูมิ คือ การสำรวจพื้นที่ภาคสนามโดยสังเขป ผลการศึกษาพบว่า พัฒนาการและความเป็นมาของเกาะรัตนโกสินทร์ในแต่ละช่วงเวลา ประกอบด้วยองค์ประกอบที่ส่งผลต่อบทบาทและการเปลี่ยนแปลง
ของย่านชุมชนเก่าที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะทางกายภาพ สังคมวัฒนธรรม และกิจกรรมทางเศรษฐกิจ สามารถแบ่งออกเป็น 3 ช่วงวเลาที่สำคัญ คือ (1) ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นระยะการสร้างรากฐานบ้านเมือง ส่งผลต่อบทบาทส่วนใหญ่ของย่านชุมชนที่มีบทบาทหลักทางด้านการเป็นท่าเรือทางการค้าและบทบาทรองทางด้านการเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย (2) ช่วงกลางกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นระยะความเจริญของกรุงรัตนโกสินทร์ ส่งผลต่อบทบาทส่วนใหญ่ของย่านชุมชนที่มีบทบาทหลักทางด้านการเป็นตลาดการค้าและบทบาทรองทางด้านการเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย และช่วงปลายรัตนโกสินทร์ เป็นระยะการเปลี่ยนแปลงของกรุงรัตนโกสินทร์สู่ยุคสมัยใหม่ ส่งผลต่อบทบาทส่วนใหญ่ของย่านชุมชนที่มีบทบาทหลักทางด้านตลาดการค้า และบทบาทรองทางด้านการเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย รวมถึงแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม แสดงถึงการดำรงรักษาสัญลักษณ์ของกลุ่มสังคม และปรับตัวไปตามเงื่อนไขในช่วงเวลาหนึ่งผ่านการเกิดขึ้นของความสัมพันธ์ระหว่างผู้คน พื้นที่ กิจกรรม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งผลการศึกษาดังกล่าวจักเป็นประโยชน์ในด้านองค์ความรู้ในด้านประวัติศาสตร์ของเกาะรัตนโกสินทร์และพัฒนาการของย่านชุมชนเก่าภายในเกาะรัตนโกสินทร์ กรุงเทพมหานคร และสร้างความตระหนักต่อคุณค่าและความสำคัญของย่านชุมชนเก่าในการพัฒนาและอนุรักษ์ย่านชุมชนเก่าควบคู่กันอย่างร่วมสมัยและยั่งยืน

References

เอกสารอ้างอิง

Nisbet, Robert A. (1969). Social Change and History: Aspect of the Western Theory of Development. London: Oxford University Press.

กำธร กุลชล และทรงสรรค์ นิลกำแหง. (2525). วิวัฒนาการทางกายภาพของ กรุงรัตนโกสินทร์ฝั่งตะวันออก:ตั้งแต่ก่อนเริ่มสร้างกรุงจนถึงสมัยเปลี่ยนแปลงระบบการปกครอง ในวารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับพิเศษกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี. กรุงเทพฯ: อมรินทร์การพิมพ์.

ปัณฑารีย์ ชูตระกูล และกฤตพร ห้าวเจริญ. (2563). การปรับตัวที่ส่งผลต่อการคงอยู่ของย่านชุมชนเก่า ชุมชนนางเลิ้ง กรุงเทพมหานคร. วารสารสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 20, 21-36. doi: 10.14456/bei.2021.2

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า พ.ศ.2564. (20 สิงหาคม 2564). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 138 ตอนพิเศษ 193ง, หน้า 1-5.

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2560). แผนผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ: ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2563). เมืองเก่ากับการอนุรักษ์และพัฒนา. กรุงเทพฯ:

อี.ที.พับลิซซิ่ง.

สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม. (2562). 2325-2562 ใต้ร่มประบารมี 237 ปี กรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ:

รุ่งศิลป์การพิมพ์.

สุภาภรณ์ จิดามณีโรจน์, ปิยะวดี อภิชาตบุตร และศรีศักร วัลลิโภดม. (2554). ย่านเก่าในกรุงเทพมหานคร. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร

อคิน รพีพัฒน์, ม.ร.ว. (2527). สังคมไทยในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ.2325-2416. พิมพ์ครั้งที่ 2.

ปทุมธานี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

เกียรติ จิวะกุล และคณะ. (2525). ตลาดในกรุงเทพมหานคร: การขยายตัวและพัฒนาการ. สืบค้นจาก http://www.thaistudies.chula.ac.th/document/ebook/ตลาดในกรุงเทพมหานคร%20การขยายตัวและพัฒนาการ.pdf

สำนักงานจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม. (2559). คู่มือการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมประเภทย่านชุมชนเก่า. [e-book]. สืบค้นจาก http://www.onep.go.th/nced/wp-content/uploads/2016/09/คู่มือการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมประเภทย่านชุมชนเก่า.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-19

How to Cite

ชูตระกูล ป., & ห้าวเจริญ ก. (2023). บทบาทและการเปลี่ยนแปลงของย่านชุมชนเก่า ในเกาะรัตนโกสินทร์ กรุงเทพมหานคร . สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย, 22(3), 51–67. https://doi.org/10.14456/bei.2023.20