ผลกระทบของการระบาดโรคโควิด-19 (COVID-19) ต่อปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของโรงแรมกักตัวทางเลือก: กรณีศึกษา โรงแรมขนาดเล็กในจังหวัดน่าน
DOI:
https://doi.org/10.14456/bei.2023.26คำสำคัญ:
คาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร, โรงแรม, โรคโควิด-19, โรงแรมกักตัวทางเลือกบทคัดย่อ
การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ตั้งแต่ช่วงต้นปี พ.ศ. 2563 ส่งผลให้โรงแรมบางส่วนมีการปรับตัวเป็น
โรงแรมกักตัวทางเลือกเพื่อเฝ้าควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งมีพฤติกรรมในการเข้าพักแรมที่แตกต่าง
จากช่วงการท่องเที่ยวโดยทั่วไป และส่งผลต่อปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์
เพื่อประเมิน และเปรียบเทียบปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในช่วงก่อน และหลังที่มีการปรับเปลี่ยนเป็นโรงแรมกักตัว
ทางเลือก กรณีศึกษาโรงแรมกักตัวขนาดเล็ก ในจังหวัดน่าน จำนวน 1 แห่ง ในช่วงระยะเวลาปี พ.ศ. 2562 - 2564
โดยรวบรวมข้อมูลกิจกรรมจากการรวบรวมใบเสร็จ และการสอบถามผู้ประกอบการ พนักงาน ประกอบกับการพิจารณา
ข้อกำหนดสำหรับโรงแรมที่ต้องการปรับเปลี่ยนเป็นสถานที่กักตัวทางเลือก
ผลการศึกษาพบว่า ในปี พ.ศ. 2564 (ปีที่ปรับเป็นโรงแรมกักตัว) เมื่อเปรียบเทียบกับ ปี พ.ศ. 2562 (ปีฐาน)
ปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์รายปีโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.52 และการเปรียบเทียบในเดือน มี.ค., ส.ค.-ธ.ค. ปีพ.ศ.
2564 (เดือนที่ปรับเป็นโรงแรมกักตัว) ปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์รายเดือนโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 107.40 โดยเฉพาะ
การปล่อยคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในขอบเขตที่ 3 ซึ่งจากการสอบถามพบว่ามีการใช้ทรัพยากรต่างๆ อาทิ ถุงครอบแก้ว
รองเท้าสำหรับใส่ในห้อง และการขนส่งอาหาร เพิ่มขึ้นร้อยละ 616.67
References
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2551). อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ