การศึกษาความเหลื่อมล้ำในเมืองด้านการเข้าถึงพื้นที่สาธารณะ เพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • รชยา พรมวงศ์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • ปัทมพร วงศ์วิริยะ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • จตุพร หงส์ทองคำ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

DOI:

https://doi.org/10.14456/bei.2024.2

คำสำคัญ:

ความเหลื่อมล้ำในเมือง, พื้นที่สาธารณะ, การเข้าถึง, สังคมผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

จากปรากฏการณ์ความเหลื่อมล้ำในมิติด้านต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในเมือง ซึ่งไม่ได้จำกัดอยู่เพียงด้านสังคมเศรษฐกิจ เท่านั้น หากยังรวมถึงโอกาสในการเข้าถึงกิจกรรมต่าง ๆ ในเมือง โดยเฉพาะการเข้าถึงพื้นที่สาธารณะต่าง ๆ ของเมือง งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาปรากฏการณ์การเข้าถึงพื้นที่สาธารณะเมือง เพื่อทำความเข้าใจถึงสภาพความเหลื่อมล้ำด้านการเข้าถึงพื้นที่สาธารณะและเสนอแนวทางการพัฒนาเมืองเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในมิติด้านการเข้าถึงพื้นที่สาธารณะเมือง การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เก็บข้อมูลพฤติกรรมการเข้าถึงพื้นที่เมืองนครราชสีมา จำนวน 150 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอ้างอิง ได้แก่ การถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ยังคงมีความเหลื่อมล้ำด้านการเข้าถึงพื้นที่สาธารณะเมืองระหว่างกลุ่มอายุต่าง ๆ โดยส่วนใหญ่คนวัยหนุ่มสาวในวัยทำงาน เป็นกลุ่มที่เดินทางเข้าถึงพื้นที่สาธารณะเมืองด้วยระบบขนส่งส่วนบุคคลและขับด้วยตนเองมากที่สุด สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ พบว่าส่วนใหญ่ผู้สูงอายุตอนต้นและตอนกลาง มักจะเดินทางโดยเป็นผู้โดยสารของระบบขนส่งส่วนบุคคล และมีการเดินและปั่นจักรยานบ้างเป็นส่วนน้อยสำหรับพื้นที่สาธารณะในละแวกบ้าน โดยปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการเดินทางเข้าถึงพื้นที่สาธารณะเมือง เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาพื้นที่การสัญจรให้ปลอดภัย และมีชีวิตชีวา สร้างความเพลิดเพลินให้กับผู้เดินทาง ตลอดจนผสานการเชื่อมต่อด้วยระบบขนส่งทุกระบบ ซึ่งนักวางแผนพัฒนาเมืองไม่ควรมองข้ามในการนำไปปรับปรุงและพัฒนาการเข้าถึงพื้นที่สาธารณะเมืองเพื่อตอบสนองความต้องการเข้าถึงพื้นที่สาธารณะเมืองของคนทุกกลุ่มและรองรับสังคมผู้สูงอายุได้อย่างมีคุณภาพในอนาคต

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. [ม.ป.ป.] แผนที่จังหวัดนครราชสีมา. [แผนที่]. กรุงเทพฯ:

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

พนกฤษณ คลังบุญครอง. (2561). การวางแผนการขนส่งในเขตเมืองอย่างยั่งยืน: หลักการและปฏิบัติการ. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วิโรจน์ รุโจปการ. (2544). การวางแผนการขนส่งเขตเมือง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:

ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Meyer, M.D. and Miller, E.J. (1984). Urban transportation planning: a decision-oriented approach. New York: McGraw-Hill.

Needham, B. (1977). How cities work: an introduction. 1st ed. Oxford; Elmsford, N.Y:

Pergamon Press.

Schuldiner, S. (1962). Electrode Processes--A Survey, 1956-1961. Washington, DC.: Naval Research Lab.

Hulin, C., Netemeyer, R., and Cudeck, R. (2001). Can a reliability coefficient be too high?. Journal of Consumer Psychology, 10(1/2), 55-58.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-09

How to Cite

พรมวงศ์ ร., วงศ์วิริยะ ป., & หงส์ทองคำ จ. (2024). การศึกษาความเหลื่อมล้ำในเมืองด้านการเข้าถึงพื้นที่สาธารณะ เพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ. สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย, 23(1), 19–37. https://doi.org/10.14456/bei.2024.2