นวัตกรรมเสาไม้เทียมจากพลาสติกเหลือใช้เพื่อสร้างแนวรั้วกันคลื่นชายหาด

ผู้แต่ง

  • วิเชียร พุทธศรี คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์

DOI:

https://doi.org/10.14456/bei.2023.19

คำสำคัญ:

เสาไม้เทียม, กันคลื่น, ดักตะกอน, ขยะพลาสติก

บทคัดย่อ

ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลของประเทศไทย จากกระแสคลื่นและลมทำให้ชายฝั่งถูกกัดเซาะจนไม่เหลือพื้นที่ชายหาด การแก้ปัญหาโดยใช้การก่อสร้างต่างๆแต่กลับพบว่าแก้ปัญหาได้แต่ก็ก่อปัญหาใหม่เพิ่มขึ้นมา การแก้ปัญหาด้วยการใช้ไม้รั้วดักคลื่นโดยไม้ไผ่จึงเป็นการแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอย่างหนึ่ง แต่แนวรั้วไม้กันคลื่นชายฝั่งทะเลที่ใช้งานในปัจจุบัน ใช้วัสดุที่ได้จากไม้จริงตามธรรมชาติ ได้แก่ ไม้ไผ่ ไม้ยูคาลิปตัส ไม้สน มีข้อจำกัดคือ อายุการใช้งานสั้น สภาพไม่คงทน ผุพังง่าย ทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณและไม่สามารถแก้ไขปัญหาการกัดเซาะตามแนวชายหาดได้อย่างยั่งยืน ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดออกแบบ พัฒนานวัตกรรมเสาไม้เทียมแทนเสาไม้ธรรมชาติเดิมจากขยะพลาสติกเพื่อแก้ไขปัญหาขยะพลาสติก และลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและปกป้องความสมบูรณ์ของระบบนิเวศชายฝั่งทะเล

ผลการวิจัยได้ออกแบบเสาไม้เทียมเลียนแบบรูปทรงระบบรากพืชป่าชายเลนตามชายฝั่งทะเล ได้แก่ ต้นแสม และออกแบบพัฒนาวัสดุทำเสาไม้เทียมเป็นรูปทรงคล้ายดินสอ (Pneumatophore, pencil root) โดยการนำพลาสติกเหลือใช้มาผ่านกระบวนการปรับแต่งหลอมขึ้นรูปตามแบบที่กำหนด แล้วนำกลับมาใช้ใหม่เพื่อเป็นวัสดุทดแทนไม้จริง และทดสอบความแข็งแรงทางวิศวกรรม คำนวณการกระทบจากคลื่นทะเลในระดับมาตรฐาน เพื่อเปรียบเทียบแรงที่เกิดจากคลื่น ผลจากการคำนวณสมการและแรงจากการทดสอบ พบว่าแรงที่เกิดจากคลื่นมีค่าต่ำกว่าแรงที่ใช้ทดสอบในห้องปฏิบัติการ 108.421 เท่า สรุปได้ว่าชิ้นงานแท่งพลาสติกมีความแข็งแรงมาก สามารถนำไปใช้เป็นเสาไม้เทียมกันคลื่นได้ และสามารถรับแรงกระทำที่เกิดจากคลื่นในทะเลได้เป็นอย่างดี และยังสามารถลดแรงหรือสลายพลังงานจากแรงกระแทกของคลื่น นอกจากนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้เสาไม้เทียมกันคลื่น ได้ออกแบบการจัดวางแนวรั้วเสาไม้เทียมกันคลื่นชายหาดในรูปทรงสลับฟันปลา (Zigzag shape) เป็นการเพิ่มการหักของคลื่น เพิ่มความปั่นป่วนทั้งด้านหน้าและด้านหลังของแนวรั้ว เป็นแนวสลายพลังงานคลื่นที่กระทบชายหาด และดักตะกอนทรายหลังแนวรั้วกันคลื่น สร้างหาดทรายและเนินทรายชายฝั่ง (Sand dune) ขึ้นมา เป็นการลดการกัดเซาะชายหาดอย่างยั่งยืน

References

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. (2559). คู่มือองค์ความรู้ แนวคิดระบบกลุ่มหาด (Littoral Cell)

ในประเทศไทยกับการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. (2561). แนวทางการจัดทำแผนงาน/โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัด เซาะชายฝั่ง. กองบริหารจัดการพื้นที่ชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

บริษัท เอส ที เอส เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์. (2560.) รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น โครงการก่อสร้าง เขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเล พื้นที่ชายฝั่งหาดทรายแก้ว ตำบลชิงโค อำเภอสิงหนคร จังหวัด สงขลา (ภายใต้โครงการออกแบบและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม เขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเล (ระยะที่ 4) จังหวัดสงขลา

ศักดิ์อนันต์ ปลาทอง. (2564). หลักการปักรั้วไม้สลายคลื่น. คณะวิทยาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. จังหวัดสงชลา

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2564). รายงานผลการพิจารณาศึกษาของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา ศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาคลื่นทะเลกัดเซาะชายฝั่งและการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลอย่าง เป็นระบบ. กรุงเทพมหานคร

สถาบันพัฒนาบุคลากรด้านการพัฒนาเมือง (2561) องค์ความรู้ตามประเด็นยุทธศาสตร์ ด้านการพัฒนาเมือง ดำเนินการจัดทำตามแผนการจัดการความรู้กรมโยธาธิการและผังเมือง ( DPT KM Action Plan ) ประจำปี งบประมาณ พ.ศ.2561 : กรุงเทพมหานคร. สำนักพิมพ์ :บริษัท เพรส ครีเอชั่น จำกัด

สายใจ สโมสร. (2556) ระบบรากพืชและอัตราการตกตะกอนในป่าชายเลนหลังแนวไม้ไผ่ชะลอคลื่น จังหวัด สมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร

Beach For Life. (2022). งบประมาณสร้างกำแพงกันคลื่น 2554-2565 โดยกรมโยธาธิการและผังเมือง. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2565. จาก https://www.tinyurl.com/

Sano, M., Jim_enez, J.A., Medina, R., Stanica, A., S-Arcilla, A., Trumbic, I., 2011. The role of coastal setbacks in the context of coastal erosion and climate change. Ocean Coast.

Manag. 54, (pp 943–950).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-22

How to Cite

พุทธศรี ว. (2023). นวัตกรรมเสาไม้เทียมจากพลาสติกเหลือใช้เพื่อสร้างแนวรั้วกันคลื่นชายหาด. สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย, 22(3), 33–50. https://doi.org/10.14456/bei.2023.19