การวิิเคราะห์โครงสร้างไม้ในสิิมอีีสาน จัังหวััดร้อยเอ็็ด

ผู้แต่ง

  • อรรถ ชมาฤกษ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

DOI:

https://doi.org/10.14456/bei.2024.3

คำสำคัญ:

สิมอีสาน, จังหวัดร้อยเอ็ด, โครงสร้างไม้ในสิมอีสาน

บทคัดย่อ

          งานวิจัยโครงสร้างไม้ในสิมอีสานสกุลช่างจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจและวิเคราะห์เพื่อทราบถึงวิธีแก้ปัญหาด้านโครงสร้างของช่างโบราณ ในการวิจัยนี้ได้ทำการสำรวจสิมในเขตพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 4 หลัง โดยมีการจัดทำภาพจำลองส่วนประกอบโครงสร้างไม้เพื่อการวิเคราะห์แรงต่างๆที่เกิดขึ้นในโครงสร้างตลอดจนวิเคราะห์ถึงการเลือกใช้วิธีการเข้าไม้ในรอยต่อของส่วนต่างๆของช่างโบราณ

จากการวิจัยนี้พบว่า ช่างโบราณที่ทำการก่อสร้างสิมทั้ง 4 หลังมีการใช้รูปแบบโครงสร้างหลังคาไม้ในระบบโครงถัก มีการออกแบบให้ถ่ายแรงผ่านศูนย์กลางของส่วนประกอบโครงสร้างเพื่อลดแรงดัด และมีการเลือกการเข้าไม้ที่จุดเชื่อมต่ออย่างสัมพันธ์กับพฤติกรรมการรับแรงของโครงสร้าง หากแต่การเลือกใช้ขนาดของส่วนประกอบโครงสร้างนั้น พบว่าช่างโบราณที่ก่อสร้างสิมในงานวิจัยนี้ นิยมเลือกใช้ไม้ที่มีขนาดหน้าตัดใหญ่ทั้งสิ้น

 

References

บรรณานุกรม

กรมการศาสนา. (2537). ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่มที่ 13 กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.

โชติ กัลยาณมิตร, ศาสตราจารย์. (2539). สถาปัตยกรรมแบบไทยเดิม พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

โชติ กัลยาณมิตร. (2548). พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปะเกี่ยวเนื่อง พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ.

ต่อพงษ์ ยมนาค, รองศาสตราจารย์. (2541). วัสดุและการก่อสร้างไม้ พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธวัช ปุณโณทก. (2522). วรรณกรรมอีสาน. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

นงนุช ภู่มาลี. (2552). “สกุลช่างพื้นบ้าน : สิมอีสานในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด”. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ไพโรจน์ สโมสร. (2532). จิตรกรรมอีสาน. กรุงเทพฯ : อมรินทร์ พริ้นติ้ง กรุ๊ฟ.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2514). พจนานุกรม ราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ ส่วนท้องถิ่น.

เรืองศักดิ์ กันตะบุตร, ศาสตราจารย์. (2528). วิทยาการอาคาร. หนังสือวิชาการรวบรวมผลงานศาสตราจารย์เรืองศักดิ์ กันตะบุตร คณะกรรมการนักศึกษา สถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพมหานคร.

วัฒนา อุ่นทรัพย์. (2550). “พงศาวดารหัวเมืองมณฑลอีสาน:เมืองสุวรรณภูมิ” ศิลปากร50, 3พฤษภาคม-มิถุนายน2550.

วินิต ช่อวิเชียร. (2545). การออกแบบโครงสร้างไม้ . พิมพ์ครั้งที่ 2 . กรุงเทพมหานคร : ป.สัมพันธ์พาณิชย์.

วิโรฒ สรีสุโร. (2536). สิมอีสาน. กรุงเทพฯ : มูลนิธิโตโยต้า.

สงวน รอดบุญ. (2545). พุทธศิลปลาว พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สายธาร.

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2521). วินัยมุข เล่ม 3. กรุงเทพฯ :

มหามกุฏราชวิทยาลัย.

สมเด็จมหาวีรวงศ์. (2513). พจนานุกรมภาคอีสาน-ภาคกลาง. กรุงเทพฯ : ม.ป.ท.

สุวิทย์ จิระมณี. (2533). "สิมพื้นถิ่นอีสานตอนกลาง" วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตสาขาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุวิทย์ จิระมณี. (2545). ศิลปะสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในวัฒนธรรมไทย-ลาว. ชลบุรี :

คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุรสวัสดิ์ สุขสวัสดิ์. (2535). จากหลวงพระบางถึงเวียงจันท์. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ.

สุเทพ สุนทรเภสัช. (2511). สังคมวิทยาของหมูบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. กรุงเทพฯ : คณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศักดิ์ชัย สายสิงห์, ศาสตราจารย์. (2555). เจดีย์ พระพุทธรูป ฮูปแต้ม ศิลปะลาวและอีสาน. กรุงเทพมหานคร : มิวเซียมเพลส.

https://sites.google.com/site/banfaleuxm/prawati-wad-ra-sri-sil สืบค้นเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2558

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-19

How to Cite

ชมาฤกษ์ อ. (2024). การวิิเคราะห์โครงสร้างไม้ในสิิมอีีสาน จัังหวััดร้อยเอ็็ด. สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย, 23(1), 39–55. https://doi.org/10.14456/bei.2024.3