อัตลักษณ์และการเปลี่ยนแปลงด้านสถาปัตยกรรมของเรือนโคราช: กรณีศึกษาบ้านโคกกระชาย อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา
DOI:
https://doi.org/10.14456/bei.2024.4คำสำคัญ:
เรือนโคราช, อัตลักษณ์, การเปลี่ยนแปลงด้านสถาปัตยกรรม, ภููมิิปััญญาการปลููกสร้างเรืือน, บ้านโคกกระชายบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อระบุอัตลักษณ์เรือนโคราชของบ้านโคกกระชาย ถอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาการปลูกสร้างเรือน พร้อมทั้งวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงด้านสถาปัตยกรรม โดยสำรวจรังวัดเรือนกรณีศึกษา 6 หลัง และสัมภาษณ์ ผู้อยู่อาศัย ช่างก่อสร้าง และปราชญ์ชาวบ้าน จากนั้นจึงวิเคราะห์ข้อมูลด้วยหลักการวิเคราะห์รูปลักษณ์ จากการศึกษาพบว่า เรือนโคราชของชาวโคกกระชายมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากพื้นที่อื่น โดยมีรูปแบบเรือนที่สัมพันธ์กับองค์ประกอบโครงสร้าง ได้แก่ เรือนสองจั่วและเรือนสามจั่ว ซึ่งองค์ประกอบโครงหลังคาแสดงให้เห็นถึงการผสมผสานเทคนิคการก่อสร้างรูปแบบเก่าและใหม่เข้าด้วยกันอย่างลงตัว และมีเทคนิคการติดตั้งที่แตกต่างจากที่อื่น นอกจากนั้นยังพบลักษณะเฉพาะของฝาเรือนที่แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการด้านรูปแบบและระบบการติดตั้ง ลักษณะเฉพาะดังกล่าวเกิดจาก การที่ช่างสร้างที่พักอาศัยตามแบบแผนเรือนโคราชและได้มีการปรับเปลี่ยนดัดแปลงด้วยภูมิปัญญาของช่างท้องถิ่น เพื่อให้เข้ากับบริบทพื้นที่และวิถีชีวิต จึงเกิดลักษณะสถาปัตยกรรมที่เป็นอัตลักษณ์ประจำถิ่น ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรม ประกอบกับการเกิดขึ้นของวัสดุและเทคโนโลยีการก่อสร้างสมัยใหม่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านรูปแบบเรือน โครงสร้าง และองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมโดยตรง
References
กาญจนา ตันสุวรรณรัตน์. (2545). รายงานการวิจัย เรื่อง สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น: กรณีศึกษา เรือนโคราช จังหวัดนครราชสีมา. นครราชสีมา: สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
การุณย์ ศุภมิตรโยธิน. (2561). เรือนโคราชกับวัฒนธรรมการใช้พื้นที่ของกลุ่มชาติพันธุ์ไทย ลาว และมอญ. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
การุณย์ ศุภมิตรโยธิน และวารุณี หวัง. (2558). สถานภาพการดำรงอยู่ของเรือนโคราชในปัจจุบัน กรณีศึกษาหมู่บ้านพระเพลิง จ.นครราชสีมา. วารสารสังคมลุ่มน้ำโขง, 11(1), 129-149.
_______. (2559). คุณค่าของเรือนโคราชในทัศนคติของผู้อยู่อาศัย. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 15(2), 17-32.
นฤมล ปิยวิทย์. (2537). มรดกโคราช: เรือนไทยโคราช. นครราชสีมา: ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏนครราชสีมา.
บัญชา นาคทอง. (2557). รายงานการวิจัย เรื่อง การศึกษาอัตลักษณ์เรือนพื้นถิ่นชุมชนบ้านนกออก ต.นกออก อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.
ประภากร แก้ววรรณา. (2554). โครงการจัดทำตำราและงานวิจัยเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. มหาวิทยาลัยราชภัฎกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
พัชรินทร์ เวียงชัย. (2546). แนวความคิดในการอนุรักษ์ชุมชนไท-โคราช กรณีศึกษา: หมู่บ้านพระเพลิง. วิทยานิพนธ์ปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ยศ สันตสมบัติ. (2542).ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน. พิมพ์ครั้งที่ 2.เชียงใหม่: นพบุรีการพิมพ์.
วิโรฒ ศรีสุโร. (2530). เรือนพักอาศัยชาวไท-โคราช (หรือเรือนโบราณของลูกหลานย่าโม)สถาปัตยกรรมอีสาน. กรุงเทพฯ: เมฆาเพรส.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สุนันทา วีระประดิษฐ์. (2542). เรือนไทยโคราชในวิถีชีวิตของชาวอำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาไทยคดีศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุวัฒน์ ตัณฑนุช และคณะ. (2542). เรือนไทยโคราช. นครราชสีมา: สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
เอกวิทย์ ณ ถลาง. (2540). ภูมิปัญญาชาวบ้านสี่ภูมิภาค: วิถีชีวิตและกระบวนการเรียนรู้ของชาวบ้านไทย.นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.
เอี่ยม ทองดี. (2542). วัฒนธรรมข้าว : พิธีกรรมเกี่ยวกับข้าวและการทำนา : เทคโนโลยีของอดีต ประเพณี
Lawrence, R. (1990). Learning From Colonial Houses and Lifestyles. Vernacular Architecture: Paradigms of Environmental Response, (4), 219-257.
Oliver, P. (1997). Encyclopedias of Vernacular architecture of the World: Volume 1 Theories and Principles. UK: Cambridge University Press.
Rapoport, A. (1969). House form and culture. Englewood Cliffs N.J.: Prentice-Hall.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ