บ้านพักอาศัยสำหรับครอบครัวเชิงขยายเพื่อสังคมผู้สูงอายุในชุมชนเมือง
DOI:
https://doi.org/10.14456/bei.2024.6คำสำคัญ:
บ้านพักอาศัย, ครอบครัวเชิงขยาย, ผู้สูงอายุ, ชุมชนเมืองบทคัดย่อ
การเปลี่ยนแปลงทางพลวัตประชากร สภาพสังคมและเศรษฐกิจส่งผลกระทบต่อการสร้างครอบครัวในสังคมไทย ทั้งด้านรูปแบบ ลักษณะครัวเรือน การอยู่อาศัย ไม่เพียงแต่การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร ปัจจุบันประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์แล้ว เนื่องจากสัดส่วนของผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนลักษณะรูปแบบการอยู่อาศัยร่วมกันของสมาชิกในครอบครัวขยายในชุมชนเมือง งานวิจัยนี้เป็นผลจากการศึกษา ผลงานสร้างสรรค์การออกแบบบ้านพักอาศัยสำหรับครอบครัวเชิงขยายเพื่อสังคมผู้สูงอายุในชุมชนเมือง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา รูปแบบทางสถาปัตยกรรม แนวความคิด และการวางผังที่เหมาะสมในการออกแบบ เพื่อตอบสนองประโยชน์ใช้สอยของผู้อยู่อาศัย ซึ่งต้องคำนึงถึงพฤติกรรมและลักษณะทางกายภาพของผู้อยู่อาศัย หรือมิติสัมพันธ์ด้านต่าง ๆ วิธีการศึกษาและขั้นตอนการดำเนินการวิจัยได้จากการศึกษาและสังเกตพฤติกรรมของผู้ใช้งานผ่านการสัมภาษณ์ พูดคุยแลกเปลี่ยนทัศนะความคิด ทำการสำรวจสภาพทางภูมิศาสตร์และกายภาพของที่ตั้ง ศึกษากฎหมายควบคุมอาคารที่เกี่ยวข้อง ออกแบบและเขียนแบบก่อสร้าง ดำเนินการก่อสร้าง และเก็บข้อมูลหลังการใช้งาน ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการในออกแบบ ได้แก่ การจัดสรรพื้นที่การใช้กิจกรรมร่วมกัน การเน้นการมองเห็นกันและกัน ควรจัดให้มีการออกแบบทางเลือกหลากหลายรูปแบบ การจัดวางกลุ่มกิจกรรมมีผลอย่างมากต่อพฤติกรรมและชีวิตความเป็นอยู่ของผู้อยู่อาศัย ทั้งยังช่วยส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุ รวมทั้งสภาวะทางจิตใจของคนในครอบครัว รัฐบาลควรมีนโยบายสนับสนุนหรือลดภาษีสำหรับสินค้าอุปกรณ์อำนวยความสะดวกและความปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ (ผส.). (2564). การศึกษารูปแบบการให้บริการการบริหารและการจัดการที่พักสำหรับผู้สูงอายุ.
สืบค้นเมื่อ 3 มิถุนายน 2566, จาก https://www.dop.go.th/th/know/4/109.
กรมกิจการผู้สูงอายุ (ผส.). (2564). คู่มือการจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและปลอดภัย สําหรับผู้สูงอายุ. สืบค้นเมื่อ
มิถุนายน 2566, จาก https://www.dop.go.th/th/know/15/577.
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.). (2562). นิยามและประเภทครอบครัว. สืบค้นเมื่อ
มิถุนายน 2566, จาก https://infocenter.nationalhealth.or.th/sites/default/files/นิยามและ
ประเภทครอบครัว.pdf
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.). (2565). การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2564.
กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.
นวลน้อย บุญวงษ์, และ นัททนี เนียมทรัพย์. (2545). การออกแบบภายในอาคารเพื่อคนพิการ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์
แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปัทมา ว่าพัฒนวงศ์. (2562). การอยู่อาศัยร่วมกันของสมาชิกในครัวเรือนไทย พ.ศ. 2539-2560: การจำแนกรูปแบบด้วยกลุ่ม
วัย. ในการประชุมวิชาการเรื่อง ครอบครัวไทย…สะท้อนอะไรในสังคมไทย (น. 37-49). นครปฐม: สถาบันวิจัย
ประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
ศุทธิดา ชวนวัน, กาญจนา เทียนลาย, วิชาญ ชูรัตน์, ปัณณวัฒน์ เถื่อนกลิ่น, และ สิทธิชาติ สมตา. (2565). การเข้าถึง
ระบบบริการสังคม. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
อัจฉราวรรณ งามญาณ, และ ณัฐวัชร์ เผ่าภู่. (2555). ผู้สูงอายุไทย: การเตรียมการทางด้านการเงินและลักษณบ้านพัก
หลังเกษียณที่ต้องการ. วารสารบริหารธุรกิจ, 35(136). 62-87.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ