การวางแผนพัฒนาพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว กรณีศึกษา คำชะโนด อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • วิรัลยุพา ลาภไธสง วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • วิมลสิริ แสงกรด วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น

DOI:

https://doi.org/10.14456/bei.2024.27

คำสำคัญ:

การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว, ผลกระทบการท่องเที่ยว, วัฒนธรรมกระแสนิยม, วิถีชีวิต, คำชะโนด

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเปลี่ยนแปลงและผลกระทบของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกระแสนิยมต่อวิถีชีวิตของคนในชุมชนโดยรอบคำชะโนด อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี และเพื่อเสนอแนะแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวและแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวคำชะโนด อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี ด้วยวิธีการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์กับกลุ่มเป้าหมายที่เลือกแบบมีเกณฑ์ (Criterion Sampling) จำนวน 5 กลุ่ม ได้แก่ ผู้อยู่อาศัยดั้งเดิม ประชาชนที่ย้ายถิ่นเข้ามา ผู้ประกอบอาชีพและผู้ประกอบการรายย่อย เจ้าหน้าที่ของรัฐและคณะกรรมการบริหารคำชะโนด ผลการวิจัย พบว่า วิถีชีวิตของคนในชุมชนที่เคยมีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและเลี้ยงสัตว์ กลับมีลักษณะโครงสร้างทางสังคมและความสัมพันธ์ของคนในชุมชนคล้ายกับสังคมเมืองมากขึ้น และให้ความสนใจประกอบอาชีพธุรกิจการให้บริการและการค้าขายเพิ่มขึ้น โดยผลกระทบเชิงบวกด้านกายภาพ ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคมและวัฒนธรรมที่เกิดขึ้น ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐาน ระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการมีการพัฒนาและปรับปรุงอยู่เสมอ โอกาส และทางเลือกในการประกอบอาชีพเพิ่มมากขึ้น และวัฒนธรรมในพื้นที่ได้รับการปกป้องอนุรักษ์และฟื้นฟูไม่ให้สูญหายหรือถูกทำลาย ในขณะที่ผลกระทบเชิงลบ ได้แก่ การบุกรุกที่ดิน ระบบนิเวศและสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่บนเกาะคำชะโนดถูกรบกวน คนต่างถิ่นหรือนักธุรกิจเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ในพื้นที่มากขึ้น ค่าครองชีพและราคาที่ดินสูงขึ้น รวมถึงคนในชุมชนมีพฤติกรรมและค่านิยมที่เปลี่ยนแปลงไป จึงได้เสนอแนะแนวทางในการจัดการการท่องเที่ยวและการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้มีศักยภาพและยั่งยืนต่อไป

References

เกศประภา วะนาพันธ์. (2553). ผลกระทบของการท่องเที่ยวที่มีต่อชุมชนบ้านท่าล้งในเขตอุทยานแห่งชาติผาแต้ม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี).

จิตรลดา ปิ่นทอง. (2564). ผลกระทบของการพัฒนาการท่องเที่ยวที่มีต่อวิถีชีวิตของคนในชุมชนจังหวัดจันทบุรี. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 16(58), 34-45.

ไทยรัฐออนไลน์. (2559). นาคี. สืบค้นเมื่อ 27 มิถุนายน 2565, จาก https://www.thairath.co.th/novel/Nakee

นุชประวีณ์ ลิขิตศรัณย์. (2562). ผลกระทบทางการท่องเที่ยวต่อชุมชนรอบบริเวณอุทยานแห่งชาติพุเตย จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ, 20(2), 139-150.

ประไพพิมพ์ สุธีวสินนนท์ม, & ประสพชัย พสุนนท์. (2559). กลยุทธ์การเลือกตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ, 29(2), 31-48.

วัชรินทร์ อินทพรหม. (2562). การวิเคราะห์และการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 10(2), 314-333.

ศูนย์อำนวยการคำชะโนด. (2565). ประวัติความเป็นมาของคำชะโนด โดยสังเขป. สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2565, จาก http://www.khamchanod.in.th/history.php

สุธิรา อินทร์พรหม. (2547). ผลกระทบของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวต่อวิถีชีวิตของเกษตรกร: ศึกษากรณีชุมชนเฉวง อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

สุรีรัตน์ อินทองมาก, & ชุติมา หวังเบ็ญหมัด. (2562). การรับรู้สื่อประชาสัมพันธ์ที่มีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 10. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

อรไท ครุธเวโช, ณัฐิกา ทานนท์, ศุภรัตน์ หาญสมบัติ, กุลทิราณี บุญชัย, & วรพจน์ ตรีสุข. (2564). ผลกระทบการท่องเที่ยวจากวัฒนธรรมกระแสนิยมของละครที่ถ่ายทำในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม, 11(1), 274-287.

Choi, S.H. (2013). The impacts of tourism and local residents' support on tourism development: a case study of the rural community of Jeongseon, Gangwon Province, South Korea. AU-GSB e-journal, 6(1), 73-82.

Google Earth. (2022). Kham Chanot Wangnakhin Udonthani. Retrieved July 5, 2022, from https://earth.app.goo.gl/wN4UkW

Google Earth. (2023). Kham Chanot Wang Nakhin. Retrieved July 14, 2023, from https://earth.google.com/web/search/%e0%b8%84%e0%b8%b3%e0%b8%8a%e0%b8%b0%e0%b9%82%e0%b8%99%e0%b8%94%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%87%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%84%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b8%97%e0%b8%a3%e0%b9%8c+Ban+Muang,+Ban+Dung+District,+Udon+Thani/@17.7447363,103.3607225,177.04943313a,1000.53682076d,35y,-37.44549595h,45t,0r/data=CswBGqEBEpoBCiUweDMxMjRhZjg4Mjg5NWM3ZGY6MHhjZDI5NDVlNzMyZjUwZDhlGeCkxAmnvjFAIZsb0xMW11lAKl_guITguLPguIrguLDguYLguJnguJTguKfguLHguIfguJnguLLguITguLTguJnguJfguKPguYwgQmFuIE11YW5nLCBCYW4gRHVuZyBEaXN0cmljdCwgVWRvbiBUaGFuaRgCIAEiJgokCa48EOTmqEVAEaZItE9-XTZAGbNdbGdqq2VAIYd3lrir72HA

Hall, C.M., & Page, S.J. (2014). The Geography of Tourism and Recreation: Environment, Place and Space. (4th ed). England: Routledge.

Kim, S.S., Agrusa, J., Lee, H., & Chon, K. (2007). Effects of Korean television dramas on the flow of Japanese tourists. Tourism Management, 28(5), 1340-1353.

Moser, A., & Korstjens, I. (2017). Series: Practical guidance to qualitative research. Part 1: Introduction. European Journal of General Practice, 23(1), 271-273.

Pedersen, A. (2002). Managing Tourism at World Heritage Sites: A Practical Manual for World Heritage Site Managers. Paris: UNESCO World Heritage Centre.

Pizam, A., & Milman, A. (1984). The social impacts of tourism. Industry and Environment, 7(1), 11-14.

Ritchie, J., Lewis, J., Nicholls, C.M., & Ormston, R. (2013). Qualitative Research Practice: A Guide for Social Science Students and Researchers. (2nd ed). California: SAGE Publications.

Sharpley, R. (2008). Tourism, Tourists and Society: Tourism and Tourist Motivation. (5th ed). England: Routledge.

Tamakloe, G.D. (2011). The Impact of Tourism on The Socio-Cultural Setting of Rural Communities in Ghana" A Case Study of Boabeg-fiema in The Brong Ahafo Region". (Master of Public Policy thesis, KDI School of Public Policy and Management).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-26

How to Cite

ลาภไธสง ว., & แสงกรด ว. (2024). การวางแผนพัฒนาพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว กรณีศึกษา คำชะโนด อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี. สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย, 23(3), 158–175. https://doi.org/10.14456/bei.2024.27