อินสตาแกรมสเปซ : วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสถาปัตยกรรมฉาก, ทุนและปฏิบัติการเชิงพื้นที่ กรณีร้านกาแฟเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • วราพล สุริยา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • สันต์ สุวัจฉราภินันท์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

DOI:

https://doi.org/10.14456/bei.2023.27

คำสำคัญ:

อินสตาแกรมสเปซ, สถาปัตยกรรมฉาก, ทุน, ปฏิบัติการเชิงพื้นที่, ร้านกาแฟเชียงใหม่

บทคัดย่อ

บทความนี้ เป็นบทความวิจัยองค์ประกอบและความสัมพันธ์ของพื้นที่ที่ได้รับความนิยมในการถ่ายภาพอย่าง“อินสตาแกรมสเปซ” (Instagrammable Space) ผ่านแนวคิด The Duck & The Decorated Shed ที่ปรากฏในหนังสือ Learning From Las Vegas (1972) เขียนโดย Robert Venturi, Denise Scott Brown และ Steven Izenour และแนวคิด “ทุน” และ “ปฏิบัติการเชิงพื้นที่” โดย Pierre Bourdieu ซึ่งการเก็บข้อมูลประกอบไปด้วย การเก็บข้อมูลผ่านเอกสารที่เป็นทฤษฎีในข้างต้น และการเก็บข้อมูลภาคสนามด้วยการทำแผนที่, การใช้งานร้านกาแฟ, การบันทึกภาพภายนอกและภายในของร้าน และการจัดทำผังของร้าน รวมไปถึงการสัมภาษณ์ผู้เจ้าของร้าน โดยผ่านกรณีศึกษาเป็นร้านกาแฟจำนวน 10 ร้าน เสริมความเข้าใจด้วยผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์จำนวน 5 ผู้ใช้

ร้านกาแฟมีคุณสมบัติเป็น “สถาปัตยกรรมฉาก” ที่เป็นทั้งพื้นที่ถ่ายภาพและพื้นที่ที่เชื้อเชิญให้เกิดการถ่ายภาพโดยการประกอบรวมกันของ “คุณลักษณะสถาปัตยกรรมฉาก” และ “การสื่อสารสถาปัตยกรรมฉากกับของตกแต่ง”และถูกใช้ผ่าน “หลักการเส้นนำสายตา” และ “การจัดองค์ประกอบหน้า-กลาง-หลัง” ที่ได้จากองค์ประกอบสถาปัตยกรรมในข้างต้น โดยมี “ทุน” เป็นตัวกำหนดให้เจ้าของร้านเลือก “ปฏิบัติการเชิงพื้นที่” ผ่านการเปิดร้าน
โดยการ “เลือกใช้” คุณลักษณะสถาปัตยกรรมฉากและการสื่อสารสถาปัตยกรรมฉากกับของตกแต่ง มากไปกว่านั้น “ทุน” ยังเป็นตัวกำหนดให้
ผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์เลือก “ปฏิบัติการเชิงพื้นที่” ผ่านการถ่ายภาพโดยการเลือก “สถาปัตยกรรมฉาก” ร่วมกับเสื้อผ้า, การแต่งกาย และท่าทาง
เพื่อนำไปสู่การสร้างภาพถ่ายที่สื่อสารถึงภาพลักษณ์ในสื่อสังคมออนไลน์ ดังนั้น อินสตาแกรมสเปซ(Instagrammable Space) จึงเป็นความสัมพันธ์ของ “สถาปัตยกรรมฉาก” เป็นผลผลิตของ “ปฏิบัติการเชิงพื้นที่”ซึ่งเป็นไปตาม “ทุน” ที่มีความแตกต่างกันอย่างเช่น ทุนทรัพย์, รสนิยม, การเป็นที่รู้จักของคนในสังคมหรือการรู้จักผู้คนในสังคม, ความรู้ หรือความสามารถเป็นต้น ซึ่งทั้งสามองค์ประกอบนี้จะขาดองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งไม่ได้
เพราะแต่ละองค์ประกอบต่างส่งผลกระทบต่อกันและกัน

References

- Jantrawanich, S. (2019). Tritdī sangkhomwitthayā (Phimkhrangthī 8) [sociological theory]

(8th ed). Bangkok: Chulalongkorn University Printing House.

- สุภางค์ จันทวานิช. (2562). ทฤษฎีสังคมวิทยา (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

- Pongsakornvasu, T. & Agmapisarn, J. (2017). Kānsưksā rūpbǣp kāntalāt bō̜rikānkhō̜ʻong rānakāfǣ sataibūthīkhō̜: Kranīs ưksākhētʻamphœ̄mư̄ang čhangwat chīangmai [A study of boutique coffee shop service marketing strategies: a case study of downtown area in chiang mai]. Panyapiwat Journal, 9(3), 107-119. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/107093/84738

- ทวิช พงศกรวสุ และ เจริญชัย เอกมาไพศาล. (2560). การศึกษารูปแบบการตลาดบริการของร้านกาแฟสไตล์บูทีค:กรณีศึกษาเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 9(3), 107-119.

สืบค้นจาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/107093/84738

- Prasongbundid, S. (2010). Ǣokhwāmkhit hābithat khǭʻong piʻǣBūdiyoē kap tritd īthāng mānusayawitthayā (Phimkhrangthī 3) [Pierre Bourdieu's Habitus concept and anthropological theory (3th ed)]. Bangkok: Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre (Public Organisation).

- สุนีย์ ประสงค์บัณฑิต. (2553). แนวความคิดฮาบิทัสของปิแอร์ บูร์ดิเยอ กับทฤษฎีทางมานุษยวิทยา

(พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

Siri, R. (2560). “Mumm ǭng nakthǭngthīao nānāchāt thī mīt ǭʻarā na kāfǣ nai čhangwatchīangmai.” [International Tourist Perception on Coffee Shop in Chiang Mai, Thailand]. MFU Connexion, 6(2), 232-264. Retrieved from https://so05.tcihaijo.org/index.php/MFUconnexion/article/view/241288

- รักธิดา ศิริ. (2560). มุมมองนักท่องเที่ยวนานาชาติที่มีต่อร้านกาแฟในจังหวัดเชียงใหม่. MFU Connexion, 6(2), 232-264. สืบค้นจาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/MFUconnexion/article/view/241288

Pierre Bourdieu. (1996). Sētthakit khǭng sapsin choēngsanlak [l'économie des biens symboliques]. (Shanida Siangiampisansuk, Tran.s) Bangkok: Kobfai.

- Pierre Bourdieu. (1996). เศรษฐกิจของทรัพย์สินเชิงสัญลักษณ์. (ชนิดา เสงี่ยมไพศาลสุข, ผู้แปล) กรุงเทพฯ: คบไฟ.

- Cambridge Dictionary, Meaning of Instagrammable in English. Retrieved from https://dictionary.cambridge.org/dictionary/english/instagrammable

- Venturi, R., Brown, D. S., & Izenour, S. (1972). Learning from Las Vegas. Massachusetts: MIT Press.

- Beames, S. & Telford, J. (2013). Outdoor Adventure and Social Theory. Oxfordshire: Routledge.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-12

How to Cite

สุริยา ว., & สุวัจฉราภินันท์ ส. (2023). อินสตาแกรมสเปซ : วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสถาปัตยกรรมฉาก, ทุนและปฏิบัติการเชิงพื้นที่ กรณีร้านกาแฟเชียงใหม่. สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย, 22(3), 173–190. https://doi.org/10.14456/bei.2023.27