สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นย่านเมืองเก่ากำแพงเพชร กรณีศึกษาถนนเทศา และถนนราชดำเนิน จังหวัดกำแพงเพชร

ผู้แต่ง

  • พัชรีรัต หารไชย คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
  • วีระพล พลีสัตย์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
  • พรนรินทร์ สายกลิ่น คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

DOI:

https://doi.org/10.14456/bei.2024.18

คำสำคัญ:

เรือนแถวพื้นถิ่น, เมืองเก่ากำแพงเพชร, รูปแบบสถาปัตยกรรม, วัสดุก่อสร้าง

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเรือนพื้นถิ่นบริเวณถนนเทศา และถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร นำไปสู่การจำแนกประเภท ถนนเทศาเป็นถนนสายแรกของเมืองกำแพงเพชรขนานไปตามลำน้ำปิงเป็นเส้นทางสัญจรทางบกที่เชื่อมกับเส้นทางสัญจรทางน้ำ ถนนราชดำเนินเส้นทางสัญจรทางบกขนานกับถนนเทศาถนนเส้นนี้ตัดเพื่อรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประภาสต้น ณ เมืองกำแพงเพชร ปรากฏหลักฐานสิ่งปลูกสร้าง
ที่สำคัญมีความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมทางกาย สังคม และเศรษฐกิจ ริมถนน 2 สายนี้ งานวิจัยนี้เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยจากการทบทวนเอกสาร การสำรวจ การจัดทำรังวัด สัมภาษณ์เจ้าของเรือนหรือผู้อยู่อาศัยเรือน และสัมภาษณ์นักวิชาการที่มีความรู้ประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นบริเวณถนนเทศา และถนนราชดำเนิน มีความคล้ายคลึงกับเรือนภาคกลาง เรือนไทยเดิมเป็นเรือนค้าขายจะมีใต้ถุนไม่สูงมากเพื่อให้ค้าขายสะดวก แต่ยังคงอัตลักษณ์ของเรือนไทยเดิมไว้ สามารถจำแนกประเภทได้ 3 กลุ่ม คือ 1) เรือนแถวไม้ชั้นเดียว 2) เรือนแถวไม้ 2 ชั้น และ3) เรือนคหบดีและเรือนข้าราชการ และอิทธิพลที่ส่งผลต่อรูปแบบสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นบริเวณถนนเทศาและถนนราชดำเนิน คือ 1) การเมืองการปกครอง 2) สภาพภูมิประเทศ และสภาพภูมิอากาศ 3) ด้านการประกอบอาชีพ และ4) ด้านเทคโนโลยีการก่อสร้างและวัสดุก่อสร้างพื้นถิ่น

References

โดม ไกรปกรณ์. (2565). มณฑลเทศาภิบาล. สถาบันพระปกเกล้า. Retrieved January 2022, from

http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title

ชัชวาล ธรรมสอน. (2547). เรือนไทยภูมิปัญญาไทย จังหวัดกำแพงเพชร. กำแพงเพชร : คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

น. ณ ปากน้ำ. (2563). แบบแผนบ้านเรือนในสยาม. พิมพ์ครั้งที่ 7. นนทบุรี : สำนักพิมพ์เมืองโบราณ.

ไพโรจน์ แสงจันทร์. (2536). สถาปัตยกรรมบ้านพักอาศัย. กรุงเทพฯ : หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมการฝึกหัดครู.

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2549). ครบ 100 ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสต้นเมือง

กำแพงเพชร วันที่ 18 สิงหาคม พุทธศักราช 2549. กำแพงเพชร : โรงพิมพ์สุรวัฒน์.

สามารถ สิริเวชพันธุ์. 2540.“สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นภาคเหนือ”. ในฝ่ายเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม

กรมศิลปากร, สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นภาคเหนือ ประเภทเรือนอยู่อาศัย. หน้า 98–169. กรุงเทพฯ : บริษัทสยามบุ๊คส์

แอนด์ พับลิเคชั่นส์ จำกัด.

ศิวพงศ์ ทองเจือ. (2562). รูปแบบเรือนพักอาศัยพื้นถิ่นของชุมชน 4 ชาติพันธุ์ ในจังหวัดภูเก็ต. วารสารวิชาการ

สถาปัตยกรรมศาสตร์. 68(1), 1-18.

สันติ อภัยราช. (2559). เรือนโบราณกำแพงเพชร. กำแพงเพชร : บทโทรทัศน์ สภาวัฒนธรรมจังหวัด

กำแพงเพชร

สันติ อภัยราช. (ม.ป.ป.). เอกสารประกอบการอบรมมัคคุเทศก์ เทศบาลเมืองกำแพงเพชร. กำแพงเพชร.

สุภาพรรณ ขอผล (2534). การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของภาคเหนือตอนล่างในช่วงปี พ.ศ. 2448-2484. (วิทยานิพนธ์

ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-24

How to Cite

หารไชย พ., พลีสัตย์ ว., & สายกลิ่น พ. (2024). สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นย่านเมืองเก่ากำแพงเพชร กรณีศึกษาถนนเทศา และถนนราชดำเนิน จังหวัดกำแพงเพชร. สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย, 23(3), 1–19. https://doi.org/10.14456/bei.2024.18