การพัฒนาแผ่นคอนกรีตสำเร็จรูปที่มีส่วนผสมจากผักตบชวา

ผู้แต่ง

  • กุลวดี ปิติวิทยากุล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • โสภา วิศิษฏ์ศักดิ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ณัฏรี ศรีดารานนท์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ผักตบชวา, ผนังคอนกรีตสำเร็จรูป, ผนังคอนกรีตชนิดไม่รับน้ำหนัก, การถ่ายเทความร้อน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการนำผักตบชวาที่เป็นปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันซึ่งมีคุณสมบัติเด่นทางด้านองค์ประกอบทางเคมี และมีเส้นใยเซลลูโลสจำนวนมาก มาพัฒนาต่อยอดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการลดความร้อนของกรอบอาคารในอุตสาหกรรมก่อสร้าง ที่จะช่วยลดปริมาณการใช้คอนกรีต และวัสดุสังเคราะห์ทดแทนการใช้วัสดุกันความร้อนที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น โฟมโพลียูลีเทน โพลีสไตรีน ฉนวนใยแก้ว แผ่นยิปซั่มและ สีเคลือบสะท้อนความร้อน เป็นต้น ทำการศึกษาศักยภาพในการพัฒนาเป็นแผ่นคอนกรีตสำเร็จรูปชนิดไม่รับน้ำหนัก ประกอบด้วย การผลิตแผ่นวัสดุตัวอย่างที่มี 3 ขนาด ได้แก่ ขนาดกว้าง 20 x ยาว 20 x หนา 7.5 เซนติเมตร ขนาดลูกบาศก์ 15 เซนติเมตร และขนาดลูกบาศก์ 5 เซนติเมตร ที่มีอัตราส่วนผสมของ ซีเมนต์ : ทราย : น้ำ เท่ากับ 1 : 1.5 : 0.5 และมีการใส่ผักตบชวาในอัตราส่วนต่าง ๆ กันรวม 5 สูตร (A1 – A5) ได้แก่ 0.08 , 0.1, 0.125 , 0.15 และ 0.175 ตามลำดับ เพื่อทดสอบการขึ้นรูป หาค่าความหนาแน่น การดูดซึมน้ำ การนำความร้อน (k) การต้านแรงอัด และแรงดัด ผลการทดสอบพบว่าทุกสูตร มีค่าการนำความร้อน ผ่านเกณฑ์ประกาศกระทรวงพลังงาน โดยเฉลี่ยอยู่ในช่วง 0.3 - 0.47 W/m.K และมีค่าการต้านแรงอัดชิ้นวัสดุตัวอย่างทดสอบเฉลี่ยที่อายุ 28 วัน ซึ่งต่ำกว่ามาตรฐาน มอก. 58-2533 เพียงเล็กน้อย (≥2.5 เมกะพลาสคัล) โดยสูตร A1 มีค่าใกล้เคียงค่ามาตรฐานมากสุด (1.89 เมกะพลาสคัล) และมีค่าการดูดซึมน้ำที่ (ร้อยละ 15.86) ซึ่งใกล้เคียงค่ามาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. 2226-2548 (≤ร้อยละ14)  ผลการทดสอบในภาพรวมยืนยันว่าเส้นใยจากผักตบชวามีศักยภาพในการนำไปพัฒนาต่อยอดเป็นแผ่นผนังคอนกรีตสำเร็จรูปเพื่อการนำไปใช้ในอนาคต

References

กรมโยธาธิการเเละผังเมือง ศูนย์ประสานงานเเก้ไขปัญหาผักตบชวา. (2560). ข้อมูลผักตบชวาเบื้องต้น.

กระทรวงพลังงาน. (2564). เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการคำนวณ และการรับรองผลการตรวจประเมินในการออกแบบอาคาร

เพื่อการอนุรักษ์พลังงานแต่ละระบบ การใช้พลังงานโดยรวมของอาคาร และการใช้พลังงานหมุนเวียนในระบบ

ต่าง ๆ ของอาคาร.

กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. (2533). เรื่อง แก้ไขมาตรฐานผลิตภัณฑ์

อุตสาหกรรมคอนกรีตบล็อกไม่รับน้ำหนัก (แก้ไขครั้งที่ 1) มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. 58-2530

มอก. 58-2533.

กระทรวงอุตสาหกรรม, สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. (2548). มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก.

-2548 แผ่นผนังคอนกรีตสำเร็จรูป.

ชัยรัตน์ บุญถนอมวงค์, & วรรณี เอกศิลป์. (2557). สมรรถนะทางความร้อนของอิฐบล็อกผสมผักตบชวาและขี้เลื่อย. ใน

ประชุมวิชาการระดับชาติ ประจำปี 2557 (หน้า 179-186). ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล วิทยาลัย

วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต.

นิตยา พัดเกาะ, กิตติศักดิ์ บัวศรี, & ประยูร สุรินทร์. (2555). การผลิตและศึกษาคุณสมบัติแผ่นฉนวนผนังเบาจากเส้น

ใยชานอ้อย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร.

เพ็ญชาย เวียงใต้, ปิยะพล สีหาบุตร, เจษฏาศิริ เถื่อนมูลล่ะ, & ภคพล ช่างยันต์. (2562). การใช้ผักตบชวาผลิตอิฐบล็อก

ประสานเพื่อลดการถ่ายเทความร้อน. สาขาการจัดการงานช่างและผังเมือง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย

ราชภัฏมหาสารคาม.

วิจิตรไตรธรรม, ก. (2563). การพัฒนาวัสดุผนังวอลเปเปอร์จากเส้นใยผักตบชวา. สาขาออกแบบชุมชนเมือง คณะ

สถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล.

Bimspaces. (2564). เจาะเทรนด์วัสดุก่อสร้าง 2565 สร้างเพื่อชีวิตที่ยั่งยืน. สืบค้นจาก https://

bimspaces.com/blog/building_materials_trend2022/

Thai metal. (2565). สารก่อมะเร็งที่ซ่อนอยู่ในวัสดุก่อสร้าง. สืบค้นจาก https://www.tm-aluwindow

.com/article/cancer-instrument/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-03