แผ่นวัสดุดูดซับเสียงจากเส้นใยชานอ้อย และวัสดุประสานจากธรรมชาติ

ผู้แต่ง

  • ณัฐณิชา ภมะราภา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ณัฏรี ศรีดารานนท์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • โสภา วิศิษฏ์ศักดิ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ชานอ้อย, กาวธรรมชาติ, การลดเสียง, วัสดุทางเลือก, เทคโนโลยีที่เหมาะสม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มุ่งเน้นการนำเส้นใยชานอ้อยที่เป็นเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรจากโรงงานอุตสาหกรรม และวัสดุประสานจากธรรมชาติ (น้ำยางพารา และยางบง) มาพัฒนาเป็นแผ่นวัสดุรองพื้นดูดซับเสียงภายในอาคาร เพื่อใช้เป็นวัสดุทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่มาจากวัสดุธรรมชาติ 100% โดยการผลิตแผ่นตัวอย่างที่กำหนดให้มีความหนาแน่น 400 กก./ลบ.ม. และมีอัตราส่วนโดยน้ำหนักของ ชานอ้อย: น้ำยางพารา: ยางบง: น้ำ ที่แตกต่างกัน ทำการขึ้นรูปด้วยวิธีการอัดร้อนที่อุณหภูมิ 120 องศาเซลเซียส แรงดัน 100 กก./ตร.ซม. เป็นเวลา 15 นาที จากนั้นทำการทดสอบค่าความหนาแน่น การรับแรงดัด การรับแรงดึง และการดูดซับเสียง เปรียบเทียบกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแผ่นชิ้นไม้อัดชนิดอัดราบ (มอก.876-2547)

ผลทดสอบพบว่าแผ่นที่มีอัตราส่วนผสม (โดยน้ำหนัก) ของชานอ้อย:ยางพารา เท่ากับ 60:40 และยางบง:น้ำ เท่ากับ 1:3 โดยอัตราส่วนของยางบงเท่ากับ 10% ของน้ำหนักชานอ้อย และยางพารา นั้นมีคุณสมบัติในภาพรวมดีที่สุดคือมีการรับแรงดัดเท่ากับ 1.415 MPa แรงดึงเท่ากับ 0.203 MPa และการดูดซับเสียงด้านผิวขรุขระเท่ากับ 0.325 NRC มีความเหมาะสมในการนำไปพัฒนาต่อยอดมากที่สุด จากผลการทดสอบจะเห็นได้ว่ามีความเป็นไปได้ที่จะทำ เส้นใยธรรมชาติจากชานอ้อยไปพัฒนาต่อยอดเป็นแผ่นรองพื้นภายในอาคารที่สามารถดูดซับเสียงและป้องกันเสียงกระแทกจากของตกหล่นภายในอาคารได้ อย่างไรก็ตามควรพัฒนาคุณสมบัติด้านต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้นรวมถึงคุณสมบัติด้านการลามไฟเพื่อการนำไปใช้งานในอนาคต

References

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษพลังงาน กระทรวงพลังงาน. (2555).

กรมวิทยาศาสตร์. (2540). ชานอ้อยมีคุณสมบัติเคมีและฟิสิกส์ใกล้เคียงกับไมใบกว้าง.

กรมวิทยาศาสตร์บริการ, ฐานข้อมูลและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP. (2562). ชานอ้อย. วารสารสินค้าทาง

การเกษตร,

กระทรวงอุตสาหกรรม, มาตรฐานรายการวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง. (2561). มาตรฐานการทดสอบพื้น. 2563.

คณิศร ใจเอื้อ. (2554). ผลของโครงสร้างตาข่ายของยางธรรมชาติที่มีต่อการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย. (วิทยานิพนธ์ปริญญา

มหาบัณทิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ณัฐพร เมาระพงษ์. (2557). แผ่นดูดซับเสียงจากเปลือกมะขาม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณทิต). มหาวิทยาลัย

เกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร

ธัญญารัตน์ คงขุนเทียน. (2559). ชานอ้อยวัตถุดิบสิ่งทอชีวมวล. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

นิตยา พัดเกาะ. (2558). การผลิตและศึกษาคุณสมบัติแผ่นฉนวนผนังเบาจากเส้นใยชานอ้อยเพื่อใช้ในงาน

สถาปัตยกรรม. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ราชมงคลธัญบุรี, 13(2), 11-20.

ปรีชา เกียรติกระจาย. (2532). การใช้ประโยชน์จากชานอ้อย. ใน การประชุมวิชาการอ้อยและน้ำตาลทราย เมื่อวันที่

-13 กันยายน 2532 จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย วารสารน้ำตาล, 13-19.

ปรีชา เกียรติกระจาย. (2532). คุณสมบัติเมื่อนำมาทำวัสดุก่อสร้างจากชานอ้อย. ใน การประชุมวิชาการอ้อยและ

น้ำตาลทราย เมื่อวันที่ 12-13 กันยายน 2532 จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการออยและน้ำตาลทราย วารสาร

ชานอ้อย, 2563.

สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย. (2556). อ้อย. วารสารอ้อย, 7-8.สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. (2547). มาตรฐานแผ่นชิ้นไม้อัดชนิดอัดราบ มอก. 876-2547. 2563.

สุฤกษ์ คงทอง. (2553). ยางธรรมชาติที่เกิดการพองตัวในน้ำ. วารสารมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 67-75.

ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ค่าทางน้ำตาลและสารอนุพันธ์. (2560). คุณสมบัติทางเคมีและฟิสิกส์ของเซลล์อ้อย. 2563.

Propertygurugroup. (2014). Advantages and disadvantages of carpets used in interior room.

https://www.ddproperty.com/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-03