การศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมของแผ่นผนังฉนวนกันความร้อนเข้าสู่อาคาร ของเส้นใยจากเปลือกตาลโตนดผสมขี้เลื่อยละเอียด

ผู้แต่ง

  • เจนจิรา ขุนทอง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
  • ณัฐรดา บุญถัด คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
  • บูชา ผกากรอง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

DOI:

https://doi.org/10.14456/bei.2024.17

คำสำคัญ:

เส้นใยธรรมชาติ, เส้นใยเปลือกลูกตาลโตนด, การเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม, ขี้เลื่อยละเอียด, สภาวะน่าสบาย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแผ่นผนังที่มีคุณสมบัติเป็นฉนวนเพื่อป้องกันความร้อนเข้าสู่ภายในอาคารระหว่างเส้นใยจากเปลือกตาลโตนดและขี้เลื่อยละเอียด ซึ่งเป็นวัสดุที่เหลือทิ้งจากการประกอบอาชีพ โดยใช้ผงชันและน้ำมันยางซึ่งเป็นวัสดุประสานจากธรรมชาติ ผสมกับเส้นใยจากเปลือกตาลโตนดและขี้เลื่อยละเอียด ด้วยอัตราส่วนที่แตกต่างกันขึ้นรูปด้วยบล็อกแผ่นผนังเหล็ก ขนาด กว้าง 20 เซนติเมตร ยาว 20 เซนติเมตร หนา 2.5 เซนติเมตร เพื่อใช้ทดสอบการขึ้นรูปแผ่นผนังอย่างง่าย ผลการทดลอง พบว่า การขึ้นรูปแผ่นผนังที่อัตราส่วนเส้นใยจากเปลือกตาลโตนด 1 ส่วน ต่อ ขี้เลื่อยละเอียด 1 ส่วน ต่อ วัสดุประสาน 1 ส่วน เมื่อทำการขึ้นรูป พบว่า ไม่สามารถขึ้นรูปได้ เนื่องจากการยึดเกาะของวัสดุประสานไม่เพียงพอต่อการยึดเกาะเป็นแผ่นผนัง แต่เมื่อปรับปริมาณเส้นใยจากเปลือกตาลโตนด ต่อ ขี้เลื่อยละเอียด ต่อ วัสดุประสาน ให้ขึ้นรูปได้ดี คือ 1:1:4 สามารถขึ้นรูปเป็นแผ่นผนังฉนวนกันความร้อนเข้าสู่อาคารได้ดีที่สุด

References

กิตติศักดิ์ บัวศรี. (2544). การผลิตแผ่นฉนวนความร้อนจากฟางข้าว. [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

บุญญารัตน์ พิมพรม และคณะ. (2552). การพัฒนาฉนวนกันความร้อนจากฟางข้าว. การประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาสารคามวิจัย ครั้งที่ 13.

ผ่องพรรณ วะชุม. (2557). แผ่นบุผนังภายในที่ผลิตจากขี้เลื่อย. [วิทยานิพนธ์สถาปัตยกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ภาณุเดช ขัดเงางาม. (2549). การผลิตแผ่นผนังภายในอาคารที่ทำจากต้นธูปฤาษี. ศึกษาค้นคว้าอิสระสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขานวัตกรรมอาคาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

โรสลีนา จาราแว. (2559). รายงานการวิจัยการพัฒนาฉนวนกันความร้อนจากพืชในเขตท้องถิ่น. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

วิศิษฏ์ โล้เจริญรัตน์. (2549). การผลิตฉนวนความร้อนจากเส้นใยฟางข้าวและน้ำยางธรรมชาติ. วิศวกรรมสาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 19(57), 32-45.

ศรัณยา รัตนากร. (2558). การผลิตแผ่นฉนวนกันความร้อนจากเส้นใยลูกตาล. [วิทยานิพนธ์สถาปัตยกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

อนุภา สกุลพาณิชย์. (2558). การพัฒนาฉนวนกันความร้อนสู่อาคารจากซังข้าวโพดและน้ำยางธรรมชาติ. [วิทยานิพนธ์สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-30

How to Cite

ขุนทอง เ., บุญถัด ณ., & ผกากรอง บ. (2024). การศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมของแผ่นผนังฉนวนกันความร้อนเข้าสู่อาคาร ของเส้นใยจากเปลือกตาลโตนดผสมขี้เลื่อยละเอียด. สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย, 23(2), 99–111. https://doi.org/10.14456/bei.2024.17