การออกแบบบรรจุภัณฑ์อาหารที่ย่อยสลายได้จากแกนต้นคล้าวัสดุเหลือทิ้ง

ผู้แต่ง

  • ธนสิทธิ์ จันทะรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ชลวุฒิ พรหมสาขา ณ สกลนคร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

DOI:

https://doi.org/10.14456/bei.2024.10

คำสำคัญ:

การออกแบบ, บรรจุภัณฑ์อาหาร, ต้นคล้า, วัสดุเหลือทิ้ง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทดลองวัสดุและออกแบบบรรจุภัณฑ์อาหารสุขภาพจากเศษวัสดุเหลือใช้จากกระบวนการจักสานต้นคล้า วิธีวิจัยด้านทดลองวัสดุ นำเศษวัสดุเหลือใช้จากกระบวนการจักสานต้นคล้าซึ่งมีสองลักษณะคือ แกนใส้ในของต้นคล้า และเปลือกด้านในของต้นคล้า นำมาทดลองให้ได้เส้นใยโดยการต้มกับโซเดียมไฮดร็อกไซด์ และต้มกับไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ เป็นเวลา 1 ชั่วโมง จะได้เส้นใยจากเปลือกด้านในของต้นคล้า ส่วนแกนใส้ในของต้นคล้าเมื่อต้มแล้วนำไปปั่นด้วยเครื่องปั่นจะได้เส้นใยละเอียดที่นุ่ม นำไปผสมกับกาวแป้งเปียกที่ทำจากแป้งมันสัมปะหลังผสมน้ำและน้ำส้มสายชู นำไปเทในตระแกรงผึ่งให้หมาดแล้วนำไปอัดเป็นแผ่นด้วยครื่องอัดไฮดรอลิก แล้วนำไปกดในแม่พิมพ์ ได้ต้นแบบจานจากเส้นใยคล้า นำไปทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพ แล้วประเมินต้นแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ

ผลการวิจัยด้านวัสดุได้วัสดุ 2 ลักษณะคือ ได้เส้นใยเป็นเส้นยาว และได้เส้นใยเล็กละเอียด นำไปเป็นวัตถุดิบในการผลิตต้นแบบ โดยผลการออกแบบเลือกแบบจานที่ออกแบบให้มีช่องสำหรับใส่ ซอส พริกน้ำปลา หรือ น้ำจิ้ม ทำแม่พิมพ์และทำต้นแบบ นำต้นแบบไปทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพ ได้ผลคือ การย่อยสลายโดยฝังกลบในดิน แบบที่ 1 จานแกนต้นคล้าไม่เคลือบไขผึ้ง ย่อยสลายหมดภายใน 30 วัน แบบที่ 2 จานเปลือกด้านในของต้นคล้าเคลือบไขผึ้ง ย่อยสลายหมดภายใน 35 วัน ผลการทดสอบ การทนต่อความร้อนด้วยเครื่อง Thermal Gravimetric Analyzer (TGA) แบบที่ 1 เริ่มสลายตัวเมื่อเวลาผ่านไป 26 นาทีที่อุณหภูมิ 200 องศาเซลเซียส แบบที่ 2 เริ่มสลายตัวเมื่อเวลาผ่านไป 26 นาทีที่อุณหภูมิ 220 องศาเซลเซียส สรุปว่าจานทั้งสอบแบบทนความร้อนได้ถึง 200 องศาเซลเซียส ผลการทดสอบแรงดึงขาดสูงสุดที่ทำให้ชิ้นงานขาด (Tensile Strength) แบบที่ 1 ได้ค่า 2.557±0.904 (N/mm2) แบบที่ 2 ได้ค่า 1.640±0.722 (N/mm2), ร้อยละการยืดของชิ้นงานทดสอบที่จุดขาด  (%Elongation at Break) แบบที่ 1 ได้ค่า 1.53±0.39% แบบที่ 2 ได้ค่า 1.80±1.08%, ความต้านทานแรงดันทะลุ (Burst Strength) แบบที่ 1 ได้ค่า 34.983±12.223 (N) แบบที่ 2 ได้ค่า 70.085±18.147 (N) และระยะห่างที่เจาะทะลุ (Distance to Burst) แบบที่ 1 ได้ค่า 1.996±0.242 (mm) แบบที่ 2 ได้ค่า 2.935±0.471 (mm) สรุปได้ว่าจานคล้าทั้งสองแบบ มีความแข็งแรงไม่ขาดง่ายเมื่อนำไปใช้งาน และได้ทดลองการเคลือบกันน้ำด้วยสเปรย์กันน้ำที่สกัดจากวัตถุดิบธรรมชาติ 90% จาก Coconut & Jojoba Oil ในแบบที่ 1 และเคลือบไขผึ้งในแบบที่ 2 ผลการทดลองทั้งสองแบบกันน้ำได้ดีมาก สามารถบรรจุอาหารน้ำได้ และผลประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน สรุปได้ว่า ต้นแบบงานวิจัย จานจากเส้นใยคล้ามีพื้นผิวที่ไม่เหมาะกับบรรจุภัณฑ์อาหาร แต่มีพื้นผิวที่น่าสนใจมีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสามารถนำไปทำเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ได้หลากหลาย 

References

นวลน้อย บุญวงศ์. (2542). หลักการออกแบบ. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มลสุดา ลิวไธสง. (2556). การผลิตภาชนะย่อยสลายได้ทางชีวภาพจากกาบกล้วย. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตร

มหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล ส้านักวิชาวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี สุรนารี. วิภา สุโรจ

โสภิดา วิศาลศักดิ์กุล และอรวัลภ์อุปถัมภานนท์. (2566). การศึกษาสมบัติทางเคมีและกายภาพของภาชนะย่อย

สลายได้ทางชีวภาพจากเปลือกกล้วยน้ำว้าเสริมกาบกล้วย. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 1 (มกราคม – เมษายน พ.ศ. 2566)

มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย. (22 พฤษภาคม 2563). ขยะพลาสติกพุ่งกว่า 60% ในช่วงโควิด - 19. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2566, จาก http://www.tei.or.th/th/blog_detail.php?blog_id=49

ตุลยา สวนสันต์. (19 พฤษภาคม 2563). ภาชนะ Eco. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2566, จาก

https://www.urbancreature.co/eco-packaging

สำนักข่าวอิศรา. (17 พฤศจิกายน 2559). ประเทศไทย 4.0. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2566, จาก https://www.isranews.org/

ThaiPublica. (25 กุมภาพันธ์ 2565). เศรษฐกิจ BCG สู่ประเทศไทยที่ยั่งยืน. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2566, จาก https:/www.thaipublica.org

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30

How to Cite

จันทะรี ธ., & พรหมสาขา ณ สกลนคร ช. (2024). การออกแบบบรรจุภัณฑ์อาหารที่ย่อยสลายได้จากแกนต้นคล้าวัสดุเหลือทิ้ง. สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย, 23(1), 159–177. https://doi.org/10.14456/bei.2024.10