การปรับปรุงอาคารเรียนมาตรฐานตามกฎกระทรวงเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
DOI:
https://doi.org/10.14456/bei.2024.12คำสำคัญ:
อาคารอนุรักษ์พลังงาน, ปรับปรุงแบบอาคารเรียนมาตรฐาน, มาตรการบังคับใช้เกณฑ์มาตรฐานอาคาร, ด้านพลังงานบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาค่าการใช้พลังงานจองอาคารเรียนมาตรฐาน สพฐ. ที่โรงเรียนภายใต้สังกัดนำมาก่อสร้างและเพิ่มเติมระบบปรับอากาศ โดยนำแบบอาคารเรียนมาตรฐานปี 2563 ที่มีการนำมาก่อสร้างจำนวนมาก เป็นอาคาร 1 ใน 9 ประเภทที่กระทรวงพลังงานควบคุมการใช้พลังงาน และมีพื้นที่อาคารมากกว่า 2,000 ตารางเมตร มาทำการหาค่าการใช้พลังงานโดยใช้เกณฑ์มาตรฐานของกฏกระทรวงกำหนดคุณสมบัติหน้าที่และจำนวนผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน พ.ศ.2552 ตามประกาศของกระทรวงพลังงาน โดยใช้โปรแกรม BEC V1.0.6 (Building energy code) และทำการเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงอาคารแบบอาคาร โดยการเปลี่ยนทิศทางการวางตัวของอาคาร เปลี่ยนวัสดุอาคาร เปลี่ยนระบบปรับอากาศอาคาร และเพิ่มพลังงานทางเลือก Pv system เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาแบบอาคารเรียนมาตรฐาน เป็นอาคารประหยัดพลังงาน
References
กรมพัฒนาพลังงานทดแทน กระทรวงพลังงาน. (2563). โปรแกรมประเมินประสิทธิภาพอาคารพลังงานของอาคาร BEC V.1.0.6. กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาพลังงานทดแทน.
กระทรวงพลังงาน. (2565). ประกาศคณะกรรมการควบคุมอาคาร ฉบับกฤษฎีกา ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารเรื่องการนำกฎกระทรวงกำหนดประเภทหรือขนาดของอาคาร และมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2563. ราชกิจจานุเบกษา, 140(17ง), 21-23.
ชนิกานต์ ยิ้มประยูร. (2558). แนวทางในการพัฒนาโปรแกรมจำลองการใช้พลังงานในอาคารสำหรับประเทศไทย. วารสารวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 64, 47-62.
พรสวัสดิ์ พิริยะศรัทธา. (2564). การประเมินอาคารอนุรักษ์พลังงาน กรณีศึกษา อาคารพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารวิชาการ พลังงานและสิ่งแวดล้อมในอาคาร, 4(1), 30-45.
พีระพงษ์ โมลิกา. (2546). การปรับปรุงประสิทธิภาพ ของเปลือกอาคารประเภทอาคารหอสมุด ในสถาบันการศึกษา เพื่อลดภาระการทำความเย็นในระบบปรับอากาศ กรณีศึกษา: อาคาร 7 สำนักหอสมุด และศูนย์สารสนเทศ มหาวิทยาลัยรังสิต. [วิทยานิพนธ์ปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต]. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
มัลลิกา ปู่เพ็ชร์. (2555). แนวทางการพัฒนาเกณฑ์ประสิทธิภาพพลังงานของอาคารในแบบประเมินความยั่งยืนทางพลังงานและสิ่งแวดล้อมไทย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ศูนย์ประสานงานการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน. (2563ก). การออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน (Building Energy code). กรุงเทพฯ: กระทรวงพลังงาน.
ศูนย์ประสานงานการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน. (2563ข). คู่มือ โปรแกรม Building Energy Code: การตรวจประเมินอาคารที่จะก่อสร้างหรือ ดัดแปลง เพื่อการอนุรักษ์พลังงานตามกฎหมาย. กรุงเทพฯ: กระทรวงพลังงาน.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ