ลักษณะเฉพาะเชิงพื้นที่เมืองเก่าเชียงใหม่เพื่อการเดินเท้า

ผู้แต่ง

  • ลักษณา สัมมนานิธิ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • Inpaeng Manhchalern คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • Tisone Souksomphan คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้

DOI:

https://doi.org/10.14456/bei.2024.13

คำสำคัญ:

คุณลักษณะเฉพาะเชิงพื้นที่, การเดิน, เมืองเก่าเชียงใหม่

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ลักษณะเฉพาะพื้นที่เมืองเก่าเชียงใหม่ จากบริบทและโครงสร้างเชิงสัณฐานพื้นที่ ค่าการเข้าถึงพื้นที่ของโครงข่ายสัญจร และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ใช้วิธีการวิเคราะห์เอกสาร สำรวจพื้นที่ สังเกตการณ์ และแบบจำลองสแปซซินแทกซ์

ผลการศึกษาพบว่าพื้นที่เมืองเก่าเชียงใหม่เขตกำแพงเมืองชั้นในมีค่าเฉลี่ยความกว้างและความยาวของบล็อกถนนแบบตาราง 243 เมตร และ 340.50 เมตร ตามลำดับ เขตกำแพงเมืองชั้นนอกบล็อกถนนเป็นแนวยาวตามเส้นถนนมีค่าเฉลี่ยความกว้างและความยาว 408.24 เมตร และ 574.53 เมตร ค่าการเข้าถึงพื้นที่ของโครงข่ายสัญจรระดับเมือง และระดับย่านมีค่าสูงในเขตพื้นที่เมืองเก่า สัมพันธ์กับขนาดบล็อกถนนและย่านพาณิชยกรรมตามแนวถนนหลัก ค่าเฉลี่ยการเข้าถึงระดับเมือง และย่าน มีค่า 0.67756 และ 1.31884 ตามลำดับ พื้นที่กำแพงเมืองชั้นนอกมีค่าการเข้าถึงในระดับช่วงถนนที่ดีกว่าที่ระยะรัศมี 400 เมตร และ 800 เมตร ช่วงถนนที่ถูกสัญจรผ่านมากมีค่าเฉลี่ย 671.479 และ 4270.150 ตามลำดับ บริเวณช่วงจุดตัดถนนสุริยวงศ์ (ตลาดกาดก้อม) ถนนนันทราราม (วัดนันทาราม) ถนนวัดลายและถนนทิพยเนตร (ตลาดทิพยเนตร และตลาดประตูหายยา)

อย่างไรก็ดีพบว่าช่วงถนนที่มีค่าการเข้าถึงสูงของการสัญจรไปยังพื้นที่จุดหมายปลายทางมีความเชื่อมโยงกันระหว่างพื้นที่เขตกำแพงเมืองชั้นในและเขตกำแพงเมืองชั้นนอกที่ระยะรัศมี 800 เมตร มีค่าเฉลี่ย 96.1632 ตามแนวช่วงถนนทิพยเนตร ถนนวัวลาย ถนนนันทาราม ถนนสุริยวงศ์ ผ่านประตูแสนปรุง (สวนปรุง) และประตูเมืองเชียงใหม่สู่พื้นที่กำแพงเมืองชั้นในตามแนวถนนคชสาร ถนนมูลเมือง ถนนพระปกเกล้า ถนนสามล้าน ถนนท่าแพ ถนนราชดำเนิน และถนนราชมรรคา แนวถนนดังกล่าวมีความเชื่อมโยงกันของละแวกชุมชนพื้นที่กำแพงเมืองชั้นนอกและพื้นที่กำแพงเมืองชั้นในที่ระยะเดินเท้า 800 เมตร อันเป็นข้อพิจารณาเพื่อส่งเสริมการเดินทางในเขตพื้นที่เมืองเก่าได้อย่างเหมาะสมต่อไป

References

Al_Sayed, K. (2018). Space syntax methodology: A teaching guide for the MRes/MSc Space Syntax course (Version 5). Bartlett School of Architecture, UCL.

Apiradee Kasemsuk. (2018). Space syntax: The one of morphological study. Magic Publications Co. Ltd.

Cohen, N. (1999). Urban conservation. The MIT Press.

Couclelis, H. (2021). Conceptualizing the city of the information age. Springer.

Hillier, B. (1996). Space is the machine: A configurational theory of architecture. Cambridge University Press.

Hillier, B., & Hanson, J. (1984). The social logic of space. Cambridge University Press.

Lefebvre, H. (2000). A socialist in space. In M. Chrang & N. Thrift (Eds.), Thinking space (pp. 155-174). Routledge.

Massey, D. (2005). For space. Sage Publications Ltd.

Ministry of Tourism and Sports. (2023). Tourism statistic 2022. Retrieved from https://www.mots.go.th/news/category/655

Nes, A., & Yamu, C. (2021). Introduction to space syntax in urban studies. Springer.

Pranom Tansukanun, & Wittaya Daungthima. (2013). The multi-layered districts of Chiang Mai city. Pu-Pae Printing.

Pranom Tansukanun. (2022). A place of the soul: Chiangmai neighborhoods. Patra Prepress.

Pranom Tansukanun. (2022). จิตวิญญาณแห่งถิ่นที่: ย่านชุมชนของเมืองเชียงใหม่. ภทระ พรีเพรส.

Rattanakosin and Old City Conservation and Development Subcommittee. (2010). Notifications of the Chiang Mai old city. Retrieved from https://culturalenvi.onep.go.th/site/detail/355

Rieid, E. (1999). Pedestrian-and transit-friendly design: A primer for smart growth. American. Retrieved from https://19january2017snapshot.epa.gov/smartgrowth/pedestrian-and-transit-friendly-design_.html

Urban Design and Development Center. (2020). Chiang Mai walkable city. Retrieved from https://www.uddc.net/publications

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2565). สถิติด้านการท่องเที่ยว ปี 2565. สืบค้นจาก https://www.mots.go.th/news/category/655

คณะอนุกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า. (2553). ประกาศเขตพื้นที่เมืองเก่าเชียงใหม่. สืบค้นจาก https://culturalenvi.onep.go.th/site/detail/355

ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง. (2563). เชียงใหม่ เมืองเดินได้. สืบค้นจาก https://www.uddc.net/publications

อภิรดี เกษมศุข. (2561). สเปซซินแท็กซ์ หนึ่งการศึกษาสัณฐานวิทยา. บริษัท เมจิค พับบลิเคชั่น จำกัด.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-28

How to Cite

สัมมนานิธิ ล., Manhchalern, I., & Souksomphan, T. (2024). ลักษณะเฉพาะเชิงพื้นที่เมืองเก่าเชียงใหม่เพื่อการเดินเท้า. สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย, 23(2), 34–49. https://doi.org/10.14456/bei.2024.13