คุณภาพสิ่งแวดล้อมภายในอาคารจากมุมมองผู้ใช้งาน กรณีศึกษา อาคารเรียนประถมศึกษา เขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ปัทมาภรณ์ รัตนประดับ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ยิ่งสวัสดิ์ ไชยะกุล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

DOI:

https://doi.org/10.14456/bei.2024.15

คำสำคัญ:

คุณภาพสิ่งแวดล้อมอาคาร, อาคารเรียน, มุมมองผู้ใช้งาน, การประเมินหลังการใช้งาน

บทคัดย่อ

แนวคิดพื้นฐานอาคารที่ดี คือ อาคารมีความเหมาะสมกับกิจกรรมใช้งาน ผู้ใช้อาคารสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความสบาย และความปลอดภัย ซึ่งอาคารเรียนประถมศึกษา จัดเป็นกลุ่มอาคารที่มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นพื้นที่ส่งเสริมประสิทธิภาพการเรียนรู้ให้กับเด็ก เครื่องมือการประเมินอาคารหลังการเข้าใช้งานอาคารเรียน จากผู้ใช้อาคาร เป็นวิธีการเพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของอาคาร รวมถึงคุณภาพสิ่งแวดล้อมภายในอาคาร ข้อมูลที่ได้จากการประเมิน สะท้อนปัญหาและข้อบกพร่องอาคาร จากมุมมองผู้ใช้อาคาร และใช้เป็นข้อพิจารณาการออกแบบที่เอื้อต่อการอยู่อาศัยและการทำงาน การวิจัยนี้ นำเสนอผลการศึกษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมอาคารเรียน โดยผู้ใช้อาคาร ได้แก่ (1) นักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย (2) ตัวแทนครูระดับชั้นอนุบาล-ประถมศึกษาปีที่ 6 และ (3) ผู้บริหาร รวมจำนวน 540 คน ในโรงเรียนตัวอย่าง 18 แห่ง ในจังหวัดนครราชสีมา ผลการศึกษา พบว่า การใช้งานอาคารเรียน ได้รับผลกระทบจากด้านต่าง ๆ ต่อผู้ใช้งาน ได้แก่ อากาศ แสงสว่าง กายภาพอาคาร และ การใช้พื้นที่ โดยองค์ประกอบที่ควรได้รับการปรับปรุงมากที่สุดตามลำดับ ได้แก่ การใช้งานพื้นที่สีเขียวในโรงเรียน การใช้ประโยชน์จากพื้นที่สีเขียวในอาคารเรียน และห้องเรียน และการป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอกอาคารเรียน ในตอนท้ายของการศึกษานี้ นำเสนอข้อพิจารณาด้านการออกแบบ เพื่อเพิ่มคุณภาพสิ่งแวดล้อมเพื่อผู้ใช้อาคารเรียน และตัวอย่างแบบฟอร์มประเมินห้องเรียน ที่สามารถนำไปปรับใช้กับอาคารเรียนประเภทเดียวกัน

 

 

References

จันทร์จิรา จูมพลหล้า และคณะ. (2557). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการกรณีศึกษารูปแบบความสำเร็จ

การจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2562, จาก https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:67484

สุรีพรรณ์ สุพรรณสมบูรณ์. (2561). การศึกษาคุณภาพสภาวะแวดล้อมภายในห้องเรียน โดยประเมินความสบายของผู้ใช้. ในประชุมวิชาการเทคโนโลยีอาคารด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 5 (BATC 2018). (น.337-339) ขอนแก่น: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). ลักษณะอาคารเรียน อาคารประกอบ และราคามาตรฐาน อาคารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา. สืบค้นเมื่อ 21 กรกฎาคม 2565, จาก https:/www.sea12.go.th/plan/images/stories/plan2564/budget64/ 2.building1.pdf

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1. (2562). ข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา. สืบค้นเมื่อ 7 ธันวาคม 2562, จาก https://www.sites.google.com/a/ suanmon.ac.th/korat1/home/phaen-yuththsastr

วรารัตน์ ผลทวี (2556). การประเมินประสิทธิภาพด้านการใช้งานของอาคาร กรณีศึกษา: ศูนย์รับสมัครและ

บริการข้อมูลมหาวิทยาลัยกรุงเทพ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

อรรจน์ เศรษฐบุตร. (2561). การพัฒนา วางแผน ออกแบบก่อสร้างและบริหารจัดการอาคารเขียวให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Bluyssen, M.P., Zhang, D., Kruvers, S., Overtoom, M. & Ortiz-Sanchez, M. (2018). Self-reported health and comfort of school children in 54 classrooms of 21 Dutch school buildings. Building and Environment, 138, 106-123.

doi: 10.1016/j.buildenv.2018.04.032

Barrett, P. et al. (2015). The impact of classroom design on pupils' learning: Final results of a holistic, multi-level analysis. Building and Environment, 6, 118-133.

doi:10.1016/j.buildenv.2015.02.013

Choi, J.H., & Lee, K. (2018). Investigation of the feasibility of POE methodology for a modern commercial

office building. Building and Environment. 143 (2018) ,591–604.

doi: 10.1016/j.buildenv.2018.07.049

Li, P., Froese, M. T., & Brager, G. (2018). Post-occupancy evaluation: State-of-the-art

analysis and state-of-the-practice review. Building and Environment, 133, 187-202.

doi: 10.1016/j.buildenv.2018.02.024

Manahasa,O., Özsoy , A., & Manahasa, E. (2020) Evaluative, inclusive, participatory:

Developing a new language with children for school building design. Building and Environment, 188, 107374.

doi: 10.1016/j.buildenv.2020.107374

Rattanapradab, P. & Chaiyakul, Y. (2023). The Status quo and Problem of

User Well-being Related to Standard Design School Buildings: A Case Study of Primary

School Buildings, Mueang District and Area, Nakhon Ratchasima Province. Journal of Architectural/Planning Research and Studies (JARS), 20(1),37-54

doi: 10.56261/jars.v20i1.246828

Steemers, K. (2015). Architecture for Well-being and Health. Retrieved from

:http://thedaylightsite.com/wp-content/uploads/2015/09/Architecture-for-Wellbeing-and-Health.pdf

Whittem, V. et al. (2022). How comprehensive is post-occupancy feedback on school buildings for architects? A conceptual review based upon Integral Sustainable Design principles. Building and Environment, 218, 109109.

doi: 10.1016/j.buildenv.2022.109109

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-28

How to Cite

รัตนประดับ ป., & ไชยะกุล ย. (2024). คุณภาพสิ่งแวดล้อมภายในอาคารจากมุมมองผู้ใช้งาน กรณีศึกษา อาคารเรียนประถมศึกษา เขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย, 23(2), 68–80. https://doi.org/10.14456/bei.2024.15