ประสิทธิภาพด้านความร้อนของบล็อกช่องลมคอนกรีตสำหรับอาคาร

ผู้แต่ง

  • ปุญยะวีร์ เหลาแก้ว คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ยิ่งสวัสดิ์ ไชยะกุล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • นรากร พุทธโฆษ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

DOI:

https://doi.org/10.14456/bei.2024.16

คำสำคัญ:

บล็อกช่องลม, ประสิทธิภาพด้านความร้อน, ผนัง 2 ชั้น

บทคัดย่อ

ประเทศไทยมีสภาพอากาศแบบร้อนชื้นตลอดทั้งปี ผนังอาคารในทิศต่าง ๆ เป็นกรอบอาคารที่ได้รับความร้อนจากรังสีดวงอาทิตย์ การนำบล็อกช่องลม (Ventilation Block) มาติดตั้งเป็นเปลือกผนังอาคารมีส่วนช่วยในการป้องกันความร้อนที่เข้าสู่อาคารและช่วยในการลดการใช้พลังงานของระบบปรับอากาศภายในอาคาร งานศึกษานี้คัดเลือกรูปแบบของบล็อกช่องลม จำนวน 5 รูปแบบที่มีสัดส่วนหน้าตัดพื้นที่ว่างต่อขนาดของบล็อกช่องลม (Opening to block ratio - OBR) ตั้งแต่ 0 ถึง 46.81 % เพื่อนำไปทดสอบประสิทธิภาพด้านการป้องกันความร้อนของบล็อกช่องลม ผลการศึกษาในการคัดเลือกรูปแบบตัวอย่างของบล็อกช่องลม 50 รูปแบบ พบว่า ตัวอย่างบล็อกช่องลมที่ได้ถูกคัดเลือกมา จำนวน 92% มีพื้นที่ส่วนทึบมากกว่าพื้นที่ช่องเปิด ทำให้มีค่า OBR อยู่ในช่วง 0 ถึง 47.65 % และจำนวน 7 % มีพื้นที่ส่วนทึบน้อยกว่าพื้นที่ช่องเปิด โดยมีค่า OBR อยู่ที่ 51.13 ถึง 57.36 % และอีก 1 % มีพื้นที่ส่วนทึบเท่ากับพื้นที่ช่องเปิด มีค่า OBR อยู่ที่ 50.15 % และทดสอบหาประสิทธิภาพด้านความร้อนบล็อกช่องลมคอนกรีต จำนวน 5 รูปแบบ ได้แก่ บล็อกช่องลมที่มีค่า OBR เท่ากับ 46.81 % 27.39 % 26.59 % 22.11 % และ 0 % ตามลำดับ พบว่า กล่องทดสอบที่ติดตั้งบล็อกช่องลมที่มีรูปแบบ OBR ที่ต่ำกว่า จะป้องกันความร้อนที่เกิดขึ้นภายในกล่องทดสอบได้ดีกว่าบล็อกช่องลมที่มีรูปแบบข OBR ที่สูงกว่า และเมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของบล็อกช่องลมด้านความร้อนที่วัสดุต่างประเภทกัน พบว่า อุณหภูมิผิวบล็อกคอนกรีตทาสีดำมีอุณหภูมิผิวสูงที่สุด รองลงมาคือบล็อกคอนกรีต ไม่ทาสี บล็อกคอนกรีตทาสีขาว และบล็อกคอนกรีตดินเผา ตามลำดับ และผนังที่ติดตั้งบล็อกช่องลมที่มีค่า OBR 46.81 % เป็นผนังชั้นที่สอง จะมีอุณหภูมิความร้อนสูงกว่าผนังที่ติดตั้งบล็อกช่องลมที่มีค่า OBR 22.11 % เนื่องจาก แสงดวงอาทิตย์สามารถส่องผ่านช่องเปิดของบล็อกช่องลมที่มีค่า OBR 46.81 % เข้ามาภายในอาคารได้มากกว่าบล็อกช่องลมที่มีค่า OBR 22.11 %

References

กระทรวงอุตสาหกรรม. (2547). คอนกรีตบล็อกกลวงไม่รับน้ำหนัก มาตรฐานเลขที่ มอก.58 – 2533. มาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมคอนกรีตบล็อกไม่รับน้ำหนัก. ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 107 ตอนที่ 119 วันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2533.

ณัฐกานต์ เกษประทุม. (2543). พฤติกรรมการถ่ายเทความร้อนของผนังอาคารที่มีมวลสารมาก. วิทยานิพนธ์ปริญญา สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอาคารบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปนัดดา ตราชู. (2555). การลดการถ่ายเทความร้อนผ่านผนังอาคาร โดยการใช้บล็อกคอนกรีตระบายอากาศ. รายงาน การศึกษาอิสระ ปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอาคาร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พิสันต์ ไตรติลานันท์. (2549). การออกแบบแผงบังแดดให้ผนังอาคารสูงไม่เกิน 8 ชั้น. วิทยานิพนธ์ปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมเขตร้อนบัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง.

ยิ่งสวัสดิ์ ไชยะกุล. (2556). สีและความร้อนในอาคาร. วารสารวิชาการปีที่ 12 ปี 2556

วรรวิจิตร วิจิตรจันทร์. (2561). พฤติกรรมการถ่ายเทความร้อนและความชื้นผ่านวัสดุผนังที่ใช้ภายในอาคาร. วิทยานิพนธ์ปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอาคารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อิสรภาพ เสงี่ยมวิบูล. (2558). การลดการถ่ายเทความร้อนผ่านผนังอาคารโดยการบังแดด. วิทยานิพนธ์ปริญญา สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอาคารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ASHRAE. (1997). American Society of Heating. Refrigerating and Air-Conditioning Engineers: Atlanta, GA.

Yu, Jinghua & Ye, Hong & Xu, Xinhua & Huang, Junchao & Liu, Yunxi & Wang, Jinbo. (2018). Experimental study on the thermal performance of a hollow block ventilation wall. Renewable Energy. 122. 10.1016/j.renene.2018.01.126.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-30

How to Cite

เหลาแก้ว ป., ไชยะกุล ย. ., & พุทธโฆษ์ น. (2024). ประสิทธิภาพด้านความร้อนของบล็อกช่องลมคอนกรีตสำหรับอาคาร. สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย, 23(2), 81–98. https://doi.org/10.14456/bei.2024.16