การจัดหมวดหมู่ประเภทตราสินค้าสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย
DOI:
https://doi.org/10.14456/bei.2024.20คำสำคัญ:
ประเภทตราสินค้า, การจัดหมวดหมู่ตราสินค้า, อัตลักษณ์ตราสินค้า, วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม, เอสเอ็มอีไทยบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดประเภทตราสินค้า (Brand Type) ที่เหมาะสมสอดคล้องกับบริบทการประกอบกิจการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ไทย และสำรวจจำนวน SME ไทยในแต่ละประเภทตราสินค้า โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิง ผ่านการทบทวนวรรณกรรมและการวิจัยเอกสาร เพื่อรวบรวมแนวคิดในการจัดหมวดหมู่ประเภทตราสินค้า นำมาสู่การสังเคราะห์และจัดประเภทตราสินค้าที่สะท้อนเจตจำนง (Purpose) ในการดำเนินกิจการ ซึ่งสามารถสื่อสารและสร้างจุดเด่นที่แตกต่างให้กับตราสินค้าของ SME ได้โดยผู้วิจัย และผ่านการพิจารณา ตรวจสอบความถูกต้องเหมาะสมด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งมีโครงสร้างโดยผู้เชี่ยวชาญ
ผลการศึกษาพบว่าประเภทตราสินค้าที่เหมาะสมกับบริบทการดำเนินกิจการของ SME ไทย มีทั้งสิ้น 7 ประเภท ได้แก่ 1) Sustainable Brand: แบรนด์ยั่งยืน 2) Disruptive Brand: แบรนด์เปลี่ยนโลก 3) Culture Brand: แบรนด์วัฒนธรรม 4) Aesthetics Brand: แบรนด์สุนทรียะ 5) Experience Brand: แบรนด์สร้างประสบการณ์ 6) Performance Brand: แบรนด์เปี่ยมประสิทธิภาพ และ 7) Value Brand: แบรนด์คุ้มค่า จากการใช้แบบสอบถามสำรวจข้อมูลจากผู้ประกอบการ SME ของไทย จำนวน 2,723 ราย ใน 6 ภูมิภาคทั่วประเทศ พบว่าตราสินค้า 7 ประเภทนี้ปรากฏอยู่ใน 4 ภาคธุรกิจ คือ ภาคการผลิต ภาคการค้า ภาคบริการ และภาคการเกษตร โดย Value Brand มีจำนวนมากที่สุดคิดเป็น 66% ตามด้วย Performance Brand 16.8% Aesthetics Brand 7.3% Culture Brand 5.2% Experience Brand 2.1% Disruptive Brand 1.4% และ Sustainable Brand 1.2% ตามลำดับ
โดยประเภทตราสินค้าที่เหมาะสมกับ SME ไทยทั้ง 7 ประเภทนี้ สามารถสื่อสารเจตจำนงในการดำเนินกิจการ จุดเด่น และสร้างคุณค่าให้กับตราสินค้า รวมถึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบอัตลักษณ์ตราสินค้า (Brand Identity Design) ที่สะท้อนเอกลักษณ์เฉพาะตัวในแต่ละประเภทตราสินค้า เพื่อสร้างความแตกต่าง โดดเด่น และคุณค่าให้กับตราสินค้าของผู้ประกอบการไทยได้ต่อไป
References
กฎกระทรวงกำหนดลักษณะวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2562. (2563, 7 มกราคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 137 ตอนที่ 1 ก. หน้า 1.
กฤตินี พงษ์ธนเลิศ. (2566, 24 เมษายน). อาจารย์ประจำภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์ และการบัญชีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. [สัมภาษณ์].
ชุตยาเวศ สินธุพันธุ์. (2566, 3 เมษายน). ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ขอนแก่น. [สัมภาษณ์].
ฐิตา เภกานนท์ และ ศราวัลย์ อังกลมเกลียว. (2561, 17 ธันวาคม). ปลดล็อก SMEs ไทย ปรับตัวอย่างไรให้เติบโต. ธนาคารแห่งประเทศไทย. https://www.bot.or.th/th/research-and-publications/
articles-and-publications/articles/Article_17Dec201.html
ณัฐพล ม่วงทำ. (2566, 23 เมษายน). เจ้าของเพจการตลาดวันละตอน และที่ปรึกษาด้าน Data-Driven Marketing. [สัมภาษณ์].
ดิศปนัดดา ดิศกุล. ม.ล. (2566, 24 เมษายน). ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์. [สัมภาษณ์].
ตรียุทธ พรหมศิริ. (2565, 21 เมษายน). The Elements of Value Pyramid: 30 คุณค่าที่มนุษย์ทุกคนมองหาและวิธีการส่งมอบผ่านธุรกิจของคุณ. neobycmmu. https://www.neobycmmu.com/post/
the-elements-of-value-pyramid-application
ธัญยธรณ์ จิรโชควรพัฒน์. (2566, 28 มีนาคม). รองผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายและแผนส่งเสริม SME สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. [สัมภาษณ์].
นธกฤต วันต๊ะเมล์. (2566, 21 เมษายน). หัวหน้าภาควิชานิเทศศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. [สัมภาษณ์].
บุปผา ลาภะวัฒนาพันธ์. (2566, 20 เมษายน). อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. [สัมภาษณ์].
พิริยะ โพธิ์วิจิตร. (2566, 8 เมษายน). อาจารย์พิเศษ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และบริษัท เชิญยิ้ม ฟู้ด โปรดักส์ จำกัด. [สัมภาษณ์].
ภัทรพร โพธิ์สุวรรณ์. (2566, 7 เมษายน). ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อีเว้นท์ ป๊อป จำกัด. [สัมภาษณ์].
มานา ปัจฉิมนันท์. (2566, 22 เมษายน). อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. [สัมภาษณ์].
ราชา ราชมันนาร์. (2565). การตลาดควอนตัม (ศรรวริศา เมฆไพบูลย์, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: อัมรินทร์ฮาวทู อมรินทร์
พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
เรขา ศรีสมบูรณ์. (2566, 21 เมษายน). ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์สถานการณ์และเตือนภัยทางเศรษฐกิจ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. [สัมภาษณ์].
ลลนา เถกิงรัศมี. (2566, 7 เมษายน). ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายและแผนส่งเสริม SME สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. [สัมภาษณ์].
วรพจน์ ประสานพาณิช. (2566, 30 มีนาคม). ผู้อำนวยการฝ่ายสนับสนุนองค์ความรู้และระบบให้บริการ SMEสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. [สัมภาษณ์].
วิมลกานต์ โกสุมาศ. (2566, 10 เมษายน). รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. [สัมภาษณ์].
วีระพงศ์ มาลัย. (2566, 11 เมษายน). ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. [สัมภาษณ์].
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2562, กุมภาพันธ์). SME จับเทรนด์รักษ์โลก เร่งสร้างเม็ดเงิน. kasikornresearch. https://www.kasikornresearch.com/SiteCollectionDocuments/analysis/k-social-media/
sme/GreenBusiness/GreenBusiness.pdf
ศิริกุล เลากัยกุล. (2566, 9 พฤศจิกายน). ผู้อำนวยการ Sustainable Brand (SB) THAILAND และผู้อำนวยการ โครงการพอแล้วดี The Creator. [สัมภาษณ์].
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2567). โครงสร้างธุรกิจ SME. https://www.
smebigdata.com/views-dashboard/view/
สุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล. (2566, 28 เมษายน). ผู้อำนวยการสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. [สัมภาษณ์.]
อภิรดี ขาวเธียร. (ผู้ปาฐกถา). สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2566, 30 พฤศจิกายน). สถานการณ์ภาพรวม และทิศทางการส่งเสริม SME. การประชุมชี้แจงแนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ประจำปี พ.ศ. 2568. โรงแรม เดอะ เบอร์เคลีย์ ประตูน้ำ กรุงเทพมหานคร.
Almquist, E., Senior, J., & Bloch, N. (2016, September). The Elements of Value. Harvard Business Review, September 2016, 46–53.
Amado, F. (2019, March, 4). The Elements of Value. Snowball. https://snowball.digital/blog/
the-elements-of-value
Arek Dvornechuck. (2022, November, 13). The Basic: Brand vs Branding vs Identity. Ebaqdesign. https://www.ebaqdesign.com/blog/branding-brand-identity
Baramezi. (2564, 18 พฤษภาคม). การแบ่งประเภทแบรนด์ตามประเภทธุรกิจ. Baramezi. https://www.
baramizi.co.th/branding/การแบ่งประเภทแบรนด์/
Bhasin, H. (2023, June, 10). 13 Types of Branding and the Benefits of Branding Explained. Marketing91. https://www.marketing91.com/types-of-branding/
Burnett, J. (2023). Types of Brand. Course Sidekick. https://www.coursesidekick.com/marketing/
study-guides/cochise-marketing/reading-types-of-brands
Crawford, S. (2023, November, 27). The 8 Types of Brands. Inkbot Design. https://inkbotdesign.com/
types-of-brands/
Dueñas Morales, E. (2021, May, 10). White, luxury and premium brands: trademark considerations. lexology. https://www.lexology.com/commentary/intellectual-property/international/
omc-abogados-consultores/white-luxury-and-premium-brands-trademark-considerations
Editorial Team, Indeed. (2022, June, 25). 21 Types of Brands. Indeed. https://www.indeed.com/
career-advice/career-development/types-of-brands
Goldring, K. (2023). 11 Powerful Types of Branding. Tailor Brands. https://www.tailorbrands.com/
blog/types-of-branding
Kramer, L. (2021). The 8 types of branding. 99 designs. https://99designs.com/blog/logo-branding/
types-of-branding/
Mark Di Somma. (2015, January, 27). 21 Different Types of Brand. Branding Strategy Insider. https://brandingstrategyinsider.com/18-different-types-of-brand/
Reichheld, F. (1996). The Loyalty Effect: The Hidden Force Behind Driving Growth, Profits, and Lifelong Value. Harvard Business School.
Smart SME. (2566, 6 พฤศจิกายน). วิธีรับมือ เมื่อเจอคู่แข่ง "ขายตัดราคา". Smartsme. https://www.
smartsme.co.th/content/251463
Wheeler, A. (2018). Designing Brand Identity: An Essential Guide for the Whole Branding Team (5th ed.). John Wiley & Sons, Inc.
Will Kenton. (2023, December, 13). Types of Brands and How to Create a Successful Brand Identity. Investopedia. https://www.investopedia.com/terms/b/brand.asp#toc-types-of-brands
Yohn, Denise Lee. (2018). FUSION: How Integrating Brand And Culture Powers the World’s Greatest Companies. Nicholas Brealey Publishing.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ