ปัจจัยที่ส่งผลต่อสำนึกในถิ่นที่ในย่านการค้าเก่าเมืองอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • ดนัย นิลสกุล นักศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิต สาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • นพดล ตั้งสกุล อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ถิ่น, แนวคิดสำนึกในถิ่นที่, ย่านการค้าเก่าเมืองอุบลราชธานี, Place, Concept of Sense of Place, Ubonratchathani Old Commercial District

บทคัดย่อ

แนวคิด “สำนึกในถิ่นที่” เป็นแนวคิดที่ใช้อธิบายความสัมพันธ์ของคนกับถิ่น ซึ่งรูปแบบความสัมพันธ์ดังกล่าว มีความซับซ้อนและคลุมเครือ เป็นประเด็นที่นำมาอภิปรายกันมากกว่าทศวรรษ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวม หลักการและแนวคิดสำนึกในถิ่นที่ของนักวิชาการในหลายสาขา ทั้งจากเอกสาร หนังสือและงานวิจัย โดยจากการศึกษา แนวคิดดังกล่าวพบว่า “ถิ่น” และ “คน” คือองค์ประกอบหลักของสำนึกในถิ่นที่ สะท้อนถึงอัตลักษณ์ซึ่งกันและกัน นำไปสู่การดูแลรักษาคุณภาพของสภาพแวดล้อมและคนที่ดำรงอยู่ในถิ่น การรับรู้สำนึกสามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่แรก เข้าไปสัมผัส จนถึงระดับของการที่คนรู้สึกหลอมรวมไปกับถิ่น อีกทั้งบทความนี้ได้แสดงการคาดการณ์ทางปัจจัย ที่ส่งผลต่อการเกิดสำนึกในถิ่นที่ของคนในและคนนอกกับพื้นที่ 4 แห่งในย่านการค้าเก่าเมืองอุบลราชธานี ซึ่งปัจจัย ที่เกิดขึ้นมีระยะเวลาของการอยู่ในพื้นที่เป็นสิ่งสำคัญถึงการเชื่อมต่อกับถิ่น โดยคนในมีการดำรงอยู่แบบสถานการณ์ เชิงลึก สะสมซ้อนทับความรู้ ประสบการณ์กับกิจกรรมในพื้นที่ต่อเนื่องเป็นเวลานาน ในส่วนคนนอกที่อาจไม่เคย เข้ามาหรือเคยมาสัมพันธ์กับพื้นที่ในช่วงเวลาไม่นาน สามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์กับถิ่นได้ด้วยปัจจัยทาง ประสบการณ์ ความทรงจำในอดีตทั้งทางตรงและทางอ้อมกับองค์ประกอบภายในถิ่น ซึ่งตัวแปรทางปัจจัยเหล่านี้ อาจทำให้เกิดสำนึกในถิ่นที่ได้ แต่ยังคงรู้สึกแปลกแยกหรือเหินห่างกับถิ่นซึ่งแตกต่างจากคนใน การนำไปใช้ตั้ง ข้อสังเกตนี้เพื่อเข้าใจหลักการและแนวคิดเบื้องต้น สามารถนำไปเป็นแนวทางในการศึกษาเชิงลึกให้เกิดความเข้าใจ ปรากฏการณ์ทางความสัมพันธ์ของคนกับถิ่นต่อไป

 

Factors Influencing Sense of Place in Ubonratchathani Old Commercial District

Danai Nilsakul and Nopadon Thungsakul

Sense of place is a concept used to describe the complexity and ambiguity in the relationship between people and place. It has been an issue that has been debated for more than a decade. This article is intended to explore the sense of place principles and theoretical framework from the review of publications and documentation including issues on sense of place and its meaning and role, perception of place and influenced factors. The study found that the relationship between place and people can be developed and reflected at the different levels, ranking from the first time experience to engaging closely with place. Moreover, this paper suggests the keywords contributing to sense of place that can be further applied as a structure for an observation on sense of place in Ubonratchathani old commercial district which expressed towards physical characteristics among local people and groups of people. The findings can further be a guideline of study for an in-depth understanding of the phenomena of the place.

Downloads