แนวทางการออกแบบสถาปัตยกรรมภายในต้นแบบศูนย์บริการลูกค้า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

ผู้แต่ง

  • กฤษณันต์ สุรภักดี หลักสูตรปริญญาสถาปัตยกรรมภายใน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • นพปฎล สุวัจนานนท์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน

คำสำคัญ:

ความเหมาะสมด้านพื้นที่, รูปแบบการบริการขององค์กร, ภาพลักษณ์องค์กรและทัศนคติต่อองค์กร, Appropriate Area Requirement, Service Format of Organization, Organization Image and Attitude

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อนำเสนอแนวทางในการออกแบบสถาปัตยกรรมภายในต้นแบบศูนย์บริการลูกค้าการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และเพื่อนำเสนอแนวทางการออกแบบเพื่อปรับภาพลักษณ์ตามกลยุทธ์ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในการสร้างความรู้สึกการใช้บริการที่ดีขึ้น ซึ่งนำ ไปใช้ในการออกแบบสถาปัตยกรรมภายในต้นแบบของศูนย์บริการลูกค้า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สำหรับกลุ่มลูกค้าผู้ใช้ไฟฟ้าและพนักงานในศูนย์บริการลูกค้าการไฟฟ้าสว่นภูมิภาค โดยการศึกษานี้เป็นการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณร่วมกับการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยนี้มุ่งไปสู่การหาสัดส่วนที่เหมาะสมของผู้ใช้บริการซึ่งประกอบด้วยลูกค้า ผู้มาติดต่อ และผู้ให้บริการซึ่งประกอบด้วย พนักงานศูนย์บริการลูกค้าการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และศึกษาเอกลักษณ์องค์กรเพื่อหาแนวทางการออกแบบปรับภาพลักษณ์ด้วยองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมภายในและให้สอดคล้องกับกลยุทธ์การให้บริการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเพื่อช่วยในการสร้างความรู้สึกที่ดีขึ้นแก่ลูกค้าผู้ใช้ไฟฟ้า

 

Design Guideline Interior Architectural Prototype of the Customer Service Center Provincial Electricity Authority

Kritzanan Surabhakdi and Nobpadol Suvachananonda

The main objective of the study is to propose model of interior architecture design as a prototype for The Customer Service Center, Provincial Electrictiy Authority (PEA). And to propose the design for adjusting organization image as PEA’s rebranding policy with the intention of deveolping a better position in the mind for customer’s satisfaction. The thesis leads the new design to the Customer Service Center Provincial Electricity Authority for the customer and employee who work ing the PEA Customer Service Center. This thesis analyze by using both quantitative and qualitative research method which aiming to find the appropriate proportion for the users approaching the PEA Customer Service Center including customers, visitors and facilitators, the PEA Customer Service Center Staff in which affect the design. And study Company Identity to plan the design for rebranding with the interior architecture method to make the custormer feel more satisfied with the PEA Customer Service Center. In according to that, statistical data collecting in the targeted center is one of approaches to this research. Another is the study of components of interior architecture together with PEA’s tactics in making customers better satisfactions.

Downloads