การใช้แสงธรรมชาติในอาคารผ่านท่อนำแสงแนวดิ่ง

ผู้แต่ง

  • ศิวดล อุปพงษ์ หลักสูตรปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอาคารคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ยิ่งสวัสดิ์ ไชยะกุล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

แสงธรรมชาติ, ท่อนำแสง, อาคาร, Daylighting, Vertical Light, Building

บทคัดย่อ

Daylighting in Building Through a Vertical Light Pipe

Siwadon Upapong and Yingsawad Chaiyakul

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์นำเสนอความสัมพันธ์ของค่าปริมาณแสงสว่างกับขนาดและความยาวท่อนำแสงแนวทางของการนำท่อนำแสงแนวดิ่งมาใช้ในอาคาร การศึกษาวิจัยท่อนำแสงนี้ดำเนินการโดยการสร้างแบบจำลองคำนวณปริมาณแสงสว่างจากโปรแกรม DIALux 4.9 นำเสนอผลที่ได้เพื่อเป็นแนวทางในการใช้ท่อนำแสงแนวดิ่งในอาคาร แบบจำลองที่ใช้ในการศึกษา มีขนาดห้องกว้าง 20.00 เมตร ยาว 20.00 เมตร และสูง 3.00 เมตร ท่อนำแสงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.60 เมตร 0.80 เมตร และ 1.00 เมตร ความยาว ท่อขนาด 0.50 ถึง 6.00 เมตร ศึกษาทุกระยะ 0.50 เมตร และมีค่าสัมประสิทธิ์การสะท้อนแสง (R) ของผิวท่อนำแสงเท่ากับ 0.90 ตำแหน่งที่ใช้ในการคำนวณปริมาณแสงสว่าง ได้แก่ ที่ปากท่อนำแสง ที่ปลายท่อนำแสงที่ระนาบพื้นที่ใช้งาน (Workplane) และที่ระนาบพื้นห้อง วันเวลาในการเก็บข้อมูล คือ วันที่ 21 มีนาคม 21 มิถุนายน 21 กันยายน และ 21 ธันวาคม ในสภาพท้องแบบท้องฟ้าโปร่ง (Clear Sky) ท้องฟ้ามีเมฆบางส่วน (Party Cloudy Sky) และท้องฟ้ามีเมฆมาก (Overcast Sky) ผลที่ได้จากการศึกษานี้ ทำให้ทราบถึงความสัมพันธ์ของท่อนำแสง ขนาดท่อ ความยาวท่อ และปริมาณความสว่างที่ส่องผ่านท่อนำแสงแนวดิ่งเข้าสู่อาคาร โดยนำเสนอแผนภาพปริมาณความสว่างเฉลี่ยที่ระนาบพื้นที่ใช้งานและพื้นห้อง ตามความยาวท่อนำแสงแนวดิ่งเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดต่างๆ และแผนภาพ Daylight Factor (DF) ที่ระนาบพื้นที่ใช้งานและที่พื้นห้อง เพื่อเป็นข้อมูลแนวทางสำหรับการนำท่อนำแสงไปใช้ในอาคาร ให้อาคารประหยัดพลังงานด้านแสงสว่าง นำไปสู่การพัฒนาการใช้แสงธรรมชาติผ่านท่อนำแสงแนวดิ่งที่ดีขึ้นในอนาคตต่อไป

Downloads