พฤติกรรมการเดินทางในเมืองหลักของภูมิภาค: กรณีศึกษา เมืองเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • เอกวัฒน์ พันธาสุุ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตรสถาปัตยกรรมและ การวางแผน คณะสถาปัตยกรรม-ศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • มนสิชา เพชรานนท์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการเดินทาง, รูปแบบเมือง, ประสิทธิภาพการให้บริการระบบขนส่งสาธารณะ, Travel Behavior, Urban Form, Efficiency of Public Transports, Land-use and Transports

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มปัจจัยที่คาดว่าจะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเดินทาง ได้แก่ ลักษณะเศรษฐกิจ-สังคมครัวเรือน รูปแบบเมือง และประสิทธิภาพการให้บริการระบบขนส่งสาธารณะเมือง เพื่อทราบกลไกและข้อจำกัดในมิติกิจกรรมการเดินทางภายในเมืองเชียงใหม่ และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการวางแผนพัฒนาด้านการใช้ประโยชน์ที่ดินควบคู่กับการคมนาคมขนส่งที่มีประสิทธิภาพ โดยรวบรวมข้อมูลพื้นฐานจากหน่วยงานต่างๆ ผนวกกับการลงสำรวจภาคสนาม สัมภาษณ์และเก็บแบบสอบถามจำนวน 400 ตัวอย่าง มาทำการทดสอบ

ผลของการศึกษา พบว่า ปัจจัยทั้ง 3 กลุ่ม มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเดินทาง โดยรูปแบบพฤติกรรมการเดินทางของประชากรเมืองเชียงใหม่มีลักษณะเฉพาะเป็นไปตามเงื่อนไขข้อจำกัดด้านเศรษฐกิจ-สังคมครัวเรือน ลักษณะเชิงพื้นที่และลักษณะการให้บริการของขนส่งสาธารณะในย่านที่อยู่อาศัย

ผลจากการศึกษาชี้ให้เห็นว่า 1) ข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินและการคมนาคมขนส่งของเมืองเชียงใหม่บางส่วนไม่มีความสอดคล้องกับพฤติกรรมการเดินทางของประชากรเมือง และ 2) นโยบายการพัฒนาการใช้ประโยชน์ที่ดินและแผนการรองรับด้านคมนาคมขนส่งไม่ทำให้ประชากรเมืองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเดินทางแต่อย่างใด ซึ่งหากเป็นไปตามข้อสังเกตนี้ อาจทำให้เมืองเชียงใหม่ขยายตัวแบบไร้ทิศทางเนื่องจากพฤติกรรมการเดินทางของประชากรเมืองที่เป็นไปอย่างอิสระ ดังนั้น การพัฒนาเมืองเชียงใหม่ในอนาคต ควรเริ่มต้นจากการเรียนรู้พฤติกรรมการเดินทางของประชากร และเน้นการสร้างความสมดุลระหว่างการใช้ประโยชน์ที่ดินควบคู่กับการคมนาคมขนส่งที่สอดคล้องกับมิติด้านพฤติกรรม

 

Travel Behavior in Regional City : A Case Study of Chiang-Mai City

The purpose of this study is to investigate the relationship among factors expected to have influences on travel behavior. These factors are socio-economic characteristics of household, urban form, and efficiency and satisfaction in public transport. Also the study aims to examine the mechanism and limitations of travel behavior system in ChiangMai city including the applications of land-use and transportation planning. Related data from various agencies are collected in accordance with field survey and interviewing 400 people in study area.

The results indicate that the three factors are related to travel behavior. The travel behavior of people in ChiangMai is unique because of their household conditions, the city’s spatial characteristics, and public transport services in their district.

The findings also reveal the inconsistency between land-use plan, transport plan, and travel behavior of people in ChiangMai. Present land-use and transport policy of the city does not encourage people to change their behavior in travelling. As a consequence, the city becomes more sprawl and people depend more on personal automobile. ChiangMai’s development policy, therefore, should focus on learning the travel behavior of people and balancing the uses of land and transport system within the city.

Downloads