การเปลี่ยนแปลงจินตภาพเมืองวังเวียง สปป.ลาวจากการพัฒนาท่องเที่ยว

ผู้แต่ง

  • อนุชา คำมุงคุน นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตรการวางแผนภาคและ เมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ปรานอม ตันสุขานันท์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • นพดล ตั้งสกุล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยว, จินตภาพเมือง, วังเวียง สปป.ลาว, Tourism, Image of the City, Vangvieng Lao. PDR

บทคัดย่อ

บทความนี้มีจุดมุ่งหมายในการหาสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมเมือง วังเวียง โดยตั้งข้อสมมุติฐานว่า ต้นเหตุของเริ่มต้นจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการรับรู้และให้ ความหมายสภาพแวดล้อมเมืองของผู้ที่เป็นเจ้าของพื้นที่หรือชาวเมือง ดังนั้น การศึกษาจึงเลือกวิธี ทดสอบการรับรู้และความเข้าใจต่อความหมายของสภาพแวดล้อมเมืองของคนในพื้นที่ ด้วยการใช้ วิธีการเขียนแผนที่ทางจินตภาพ โดยเฉพาะแผนที่ทางจิตและการวาดภาพตามจินตนาการ ผลจากการศึกษาพบว่า ชาวเมืองส่วนใหญ่เริ่มรับรู้สภาพแวดล้อมเมืองวังเวียงในมุมที่แตกต่างออกไปจากอดีต จากเดิมที่มีคุณค่าทางจิตใจ ได้เปลี่ยนไปสู่ มุมมองที่เน้นด้านสุนทรียภาพมากขึ้นและรับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมที่ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจมากขึ้น ซึ่งจินตภาพสร้างใหม่และความเข้าใจเหล่านี้ ล้วนแต่เป็นองค์ความรู้ใหม่ที่ถูกสร้างขึ้นหรือเข้ามาตามกระแสวัฒนธรรมของการท่องเที่ยว

 

Changes of Vangvieng’s Image in Lao PDR. from Tourism Development

The objective of this research was to discuss on changes of Vangvieng environments. The hypothesis was the changes of locals’ behavior in the way that they perceived meaning of their environments, had initially established the change of Vangvieng’s image. In order to prove the hypothesis, the Mental Mapping Technique and the Perspective Sketching Technique were applied as methodology for this research. The results have shown that most people were aware of the changes of their environments and were significantly perceived them in different ways form the past. Their perceptions had changed from emphasizing essence of inherit meaning to an aesthetics-based viewpoint with the opinion leaning towards economic responses. The new constructing image and understanding of environments were new knowledge of people which have been shaped through tourism culture.

Downloads