การปรับปรุงสภาพแวดล้อมของเสียงภายในห้องประชุมคณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
คำสำคัญ:
คุณภาพเสียง, ห้องประชุม, การดูดซับเสียง, Sound Quality, Conference Room, Sound Absorption, Reverberation Timeบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมของเสียงในกิจกรรมการบรรยาย ภายในห้องประชุมคณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมีแนวทางการศึกษาและขั้นตอนการวิจัย ขั้นต้นจากการตรวจสอบลักษณะทางกายภาพของห้องประชุม จากนั้นทำการวัดค่าต่างๆโดยใช้เครื่อง วัดและวิเคราะห์เสียง(Audio analyzer)Phonic รุ่น PAA3 และนำข้อมูลที่ได้มาคำนวณ ตรวจสอบ เปรียบเทียบก่อนและหลังการปรับปรุง พร้อมทั้งได้มีการจำลองแบบทางสถาปัตยกรรมด้วยโปรแกรม จำลองผล(EASE Focus 2, Version 2.0.11)ในเครื่องประมวลผล
ผลการวิจัยพบว่ามีวัตถุประสงค์เพื่อการแก้ไขปัญหาได้ดังนี้ 1. การลดความเข้มเสียงพื้นหลังที่ รบกวนภายในห้องโดยการเพิ่มค่าค่าการดูดซับเสียงของวัสดุและการลดอัตราการเป่าลมเย็นจากเครื่อง ปรับอากาศ 2. การปรับปรุงค่ารีเวอร์บีเรชั่นไทม์ (RT60ค่าการสะท้อนก้องของเสียง) ให้มีความเหมาะ สมซึ่งจากการตรวจวัดพบว่าค่าดังกล่าวนี้มีค่ามากกว่าค่ามาตรฐานที่กำหนดคือมีค่า NC 30 – NC 40 (Egan, 1972) ซึ่งการแก้ไขในส่วนนี้สามารถทำได้โดยการเพิ่มค่าของสัมประสิทธิ์การดูดซับเสียงของ วัสดุภายใน การเพิ่มพื้นที่ในการดูดซับเสียง และการลดขนาดปริมาตรของห้อง ด้วยการปรับปรุงค่า รีเวอร์บีเรชั่นไทม์ (RT60ค่าการสะท้อนก้องของเสียง) ภายในห้องนี้สามารถทำให้ค่าการสะท้อนก้อง ของเสียงภายในห้องประชุมมีความเหมาะสมกับกิจกรรมการบรรยายได้ 3. การใช้วัสดุสะท้อนเสียง เพื่อกระจายเสียงจากบริเวณด้านหน้าของห้อง เพื่อทำให้เสียงบรรยายสามารถกระจายได้ทั่วทั้งพื้นที่ โดยใช้การวิเคราะห์การสะท้อนของเสียงในพื้นที่ (Ray Analysis) จากผลของการปรับปรุงทั้งสามส่วนนี้ สามารถนำไปใช้ปรับปรุงคุณภาพเสียงภายในห้องประชุม และพื้นที่อื่นที่มีลักษณะใกล้เคียงกันได้อย่าง มีประสิทธิภาพ โดยใช้งบประมาณในการปรับปรุงไม่เกิน 200,000 บาท
The Improvement of Acoustical Environment in Conference Room, Faculty of Technology, Khon Kaen University
The objective of this research is to improve the sound quality which enhances the hearing process of the audiences a conference room the Faculty of Technology, Khon Kaen University. The research methods of this research are Audio analyzer Phonic (PAA3); surveying the physical appearance of this conference room, monitoring the value is NC 30 – NC 40 (Egan, 1972) that derive from the room confi gurations, comparative calculations, and computer simulations to compare existing room with developed models.
The result showed, that the guidelines to improve this conference room are; fi rstly, minimizing the background noise by increasing the absorption value of inner materials and minimizing the fl ow rate of air conditioning system which generates the noise; Secondly, improving the reverberation value of this room by increase area of absorption and absorption coeffi cient. Otherwise, reducing the room volume was used to decrease the reverberation value by adjust the room ceiling with appropriate level and thirdly, the sound refl ection materials were installed at the side of the lecturer to refl ect the sound from the lecturer to all audience by ray analysis method. The three steps of improving the acoustic quality can be used to improve the acoustical environment in conference room and other place that like this room with low budgeting (200,000 baht).
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ