การควบคุมความชื้นในอาคารโดยผนังอาคาร
คำสำคัญ:
-บทคัดย่อ
ประเทศไทยอยู่ในเขตอากาศร้อนชื้นทำให้มีความชื้นสูงตลอดทั้งปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ ความชื้นภายในอาคารมีระดับมากหรือน้อยเกินไป จะก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ ความเสื่อมของ วัสดุก่อสร้าง รวมถึงไม่อยู่ขอบเขตภาวะน่าสบาย อีกทั้งต้องใช้พลังงานอย่างมากเพื่อลดความชื้น ในระบบปรับอากาศ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการป้องกันความชื้นในอาคารโดยผนัง อาคาร โดยทำการศึกษา 3 อย่าง ในการศึกษาเรื่องที่ 1 เป็นการศึกษาลักษณะช่องเปิด แบ่ง การศึกษาออกเป็น 2 ส่วน คือ อัตราส่วนช่องเปิดต่อพื้นที่ผนังอาคาร (Window to wall ratio: WWR) และการศึกษาจำนวนการเปิดช่อง ผลการศึกษาพบว่าผนังที่มี WWR 50% และผนังที่ มี WWR 80% ความชื้นภายในลดลงจากภายนอกได้ใกล้เคียงกัน แต่ลดลงไปได้มากกว่าผนังที่ มี WWR 20% โดยผนังที่มี WWR ทั้ง 3 ระดับควบคุมความชื้นให้คงที่ได้น้อย ส่วนการศึกษา จำนวนการเปิดช่องพบว่า การเปิด 1 ช่องด้านเดียว ส่งผลให้ความชื้นภายในลดลงจากภายนอก มากกว่าการเปิด 2 ช่องด้านตรงกันข้าม และการเปิด 4 ช่องทุกด้านตามลำดับ แต่การเปิดช่องทั้ง 3 แบบ ไม่สามารถควบคุมความชื้นให้คงที่ได้ ในการศึกษาเรื่องที่ 2 เป็นการศึกษาวัสดุก่อผนัง อาคาร โดยนำวัสดุก่อผนังอาคารที่ได้รับความนิยมจากการสำรวจมาทดสอบ ได้แก่ อิฐมอญ อิฐ มวลเบา และยิปซั่มบอร์ด ผลการศึกษากรณีเปิดช่องแสดงให้เห็นว่าความชื้นในกล่องยิปซั่มบอร์ด ลดลงจากภายนอกได้มากกว่าอิฐมวลเบา และอิฐมอญตามลำดับ ส่วนในกรณีปิดช่องอิฐมอญและ อิฐมวลเบาจะสามารถควบคุมความชื้นให้คงที่ได้ดี แต่ยิปซั่มบอร์ดไม่สามารถควบคุมความชื้นให้ คงที่ได้ ในการศึกษาเรื่องสุดท้ายเป็นการศึกษาวัสดุเคมีภัณฑ์ป้องกันความชื้น ผลการศึกษากรณี เปิดช่องพบว่า สีอะคริลิคเรซิ่นมีความสามารถในการป้องกันความชื้นให้คงที่ได้ดีกว่า ซิลิโคนกัน ซึม และยางพารากันซึมตามลำดับ แต่ควบคุมความชื้นให้คงที่ได้น้อย ส่วนผลการศึกษากรณีที่ 2 กรณีปิดช่องพบว่า สีอะคริลิคเรซิ่นมีความสามารถในการควบคุมความชื้นให้คงที่มากที่สุด รองลงมาคือซิลิโคนกันซึม และยางพารากันซึมตามลำดับ ซึ่งวัสดุเคมีภัณฑ์ทั้ง 3 ชนิดสามารถ ควบคุมความชื้นให้คงที่ได้เป็นอย่างดี
Humidity control in building by building wall
Thailand is located in a tropical zone. Therefore, the weather is warm to hot and mist year-round. Especially when the unsuitable humidity level in building, it will affect to people health, building materials and comfort level for living. Moreover, it requires high energy in the air conditioning system to reduce the humidity. This research focused on humidity control in building by building wall on three issues. The fi rst topic is characteristic of voids, which are window to wall ratio (WWR) and the amount of void. The results of the experiment showed that the humidity in WWR 50% wall and WWR 80% wall decreased similarly and reduced humidity in the box more than the humidity in WWR 20% wall. Furthermore, all of WWR walls can control humidity slightly. The results from amount of void are the humidity in one opening reduced humidity more than humidity in two opposite-side openings and four-side openings respectively. However if there is an opening in the box, it cannot control humidity inside. The second topic is wall materials which were chosen upon the questionnaire results comprising masonry wall, lightweight concrete block and gypsum board. The fi rst test when using opening box showed that the humidity in gypsum board reduced more than lightweight concrete block and masonry wall, respectively. In the closed voids case, the masonry wall and lightweight concrete block can control humidity as well but the gypsum board cannot control humidity. The fi nal topic is humidity protective by chemistry. The results in opening boxes are that the acrylic resin paint can control humidity better than silicone waterproofi ng and waterproof rubber, respectively, but less effective control. In the close case and rainfall, the results showed consecutively that the acrylic resin painting, silicone
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ