ความมีชีวิตชีวาของเมืองกับการใช้พื้นที่สาธารณะย่านการค้าเมืองอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • ปัญญา บุญประคม นักบริหารงานช่างระดับ 7 หัวหน้าฝ่ายควบคุมอาคาร และผังเมือง กองช่างเทศบาลตำบลหนองบัว จ.อุดรธานี

คำสำคัญ:

-

บทคัดย่อ

พัฒนาการของเมืองอุดรธานี จากพ.ศ.2436 มาจนปัจจุบัน ย่านการค้าศูนย์กลางเมือง อุดรธานีได้เริ่มจากบริเวณทิศใต้ของทุ่งศรีเมืองและได้ขยายตัวไปทิศทางทิศตะวันออกสู่สถานี รถไฟและมีการเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยมาอย่างต่อเนื่อง การศึกษาครั้งนี้ได้เปรียบเทียบการ ใช้พื้นที่สาธารณะที่ฝังตัวอยู่ในย่านการค้าเก่าและย่านการค้าใหม่ซึ่งมีโครงสร้างทางกายภาพที่แตกต่าง

ผลการศึกษาพบว่า ภาพรวมการใช้พื้นที่สาธารณะย่านการค้าเก่าสร้างความมีชีวิตชีวา มากกว่าย่านการค้าใหม่ ในระดับพื้นที่ย่อย พื้นที่สาธารณะที่มีความสัมพันธ์กับบริบทและความ เชื่อมโยงจะมีความถี่ในการใช้มากกว่าพื้นที่สาธารณะที่มีความหมายหรือกายภาพที่ดีเพียงอย่าง เดียวแต่ขาดความสัมพันธ์กับพื้นที่สาธารณะนั้นๆ กิจกรรมที่เกิดขึ้นบนพื้นที่สาธารณะ กิจกรรม ปกติจะขึ้นกับแรงดึงดูดของแหล่งกิจกรรมทางการค้าและธุรกิจหลักในย่าน ส่วนกิจกรรมทางเลือก และกิจกรรมทางสังคมพบว่ากระจายตัวอยู่ในพื้นที่สาธารณะที่ใกล้แหล่งกิจกรรมหลักนั้นด้วย ซึ่งจะมีความต้องการแตกต่างกันโดยผู้ใช้ที่เป็นคนในพื้นที่หรือคนนอกพื้นที่ โดยคนในพื้นที่จะมี กิจกรรมทางเลือกและกิจกรรมสังคมบนพื้นที่สาธารณะบริเวณใกล้เคียงแต่คนนอกพื้นที่จะอาศัย แรงดึงดูดของแหล่งกิจกรรมหลักของย่านเป็นที่รองรับกิจกรรมทางสังคม

 

Urban Liveliness and the Use of Public Space in Udon Thani Commercial Zone

According to the development of Udon Thani city from 1893 to present, commercial zone was located around the South of Thung Sri Muang urban open space, and has been expended to the East of Udon Thani railway station. This study aimed to compare the use of public area settled down in the old quarter of commercial area with a contemporary commercial area which have different physical structures.

The results of this study were found that over all of public area use in the old quarter of commercial zone are livelier than the contemporary one. In the subsidiary level public area which has a relation with contexts is used more frequently than the public area which has a good appearance but has no relation with its physical setting. For activities held in the area, necessary activities will be held with attractions of the main commercial activity sources. However, for optional and social activities, it was found that they are scattered in areas near main commercial activity zone as well. Demanding of users is different. Local people have optional and social activities in public area nearby, but outsiders consider the attractions of the area for the social activities.

Downloads