การศึกษาวิธีการออกแบบ ผลิต และการพัฒนาศิลปะเครื่องประดับทองโบราณเมืองอุบล ด้วยกระบวนการการวิจัยแบบมีส่วนร่วม

ผู้แต่ง

  • เจตน์ เหล่าวีระกุล นักศึกษาปริญญาโท คณะศิลปประยุกต์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

เครื่องประดับทองโบราณเมืองอุบล, ช่างทองโบราณเมืองอุบล, Ubon Ratchathani’s Ancient Gold Jewelry, Ubon Ratchathani’s Ancient GoldSmiths

บทคัดย่อ

การศึกษาวิธีการออกแบบ ผลิต และการพัฒนาเครื่องประดับทองโบราณเมืองอุบล ด้วยกระบวนการการวิจัยแบบมีส่วนร่วมนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาประวัติความเป็นมาของ ศิลปะงานทองโบราณจากอดีตจนถึงปัจจุบัน (2) ออกแบบ ผลิต และพัฒนาเครื่องประดับทอง โบราณเมืองอุบลฯ (3) เผยแพร่ศิลปะงานทองโบราณในจังหวัดอุบลราชธานี โดยมีช่างทองเป็น กลุ่มกลุ่มเป้าหมายในการศึกษานี้

งานวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพร่วมกับการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดย ได้ทำการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง และเก็บข้อมูลจากภาคสนามโดยวิธีการสัมภาษณ์เจาะลึก สนทนากลุ่ม แบบสอบถาม จัดเวที บันทึกเทป จดบันทึก ถ่ายภาพ และนำเสนอผลแบบพรรณนา วิเคราะห์

ผลจากการศึกษาพบว่า งานทองเมืองอุบลมีมาตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์จนถึงปัจจุบัน โดยมีการผสมผสานศิลปะงานทองโบราณของไทยกับเขมรเข้าด้วยกัน และในการพัฒนาภูมิปัญญา งานทองโบราณเมืองอุบลสู่รูปแบบงานทองร่วมสมัยทำให้ได้งานทองรูปพรรณร่วมสมัย 2 กลุ่ม คือ กลุ่มงานทองริมแม่นํ้ามูล และกลุ่มงานทองลายโบราณ

ผลจากการศึกษานี้ ได้นำมาสู่การพัฒนาศิลปะเครื่องประดับทองโบราณเมืองอุบล และ ได้ทำตัวอย่างงานทองโบราณเมืองอุบลขึ้นเผยแพร่ในช่องทางต่างๆ ได้แก่ การเผยแพร่ทางเคเบิ้ล ทีวี การจัดเวทีเสวนา และการจัดนิทรรศการเผยแพร่ผลงาน รวมถึงการติดตามประเมินความ พึงพอใจและทัศนคติในด้านต่างๆของประชากรที่มีต่อศิลปะงานทองโบราณเมืองอุบล ซึ่งได้รับ การตอบรับเป็นอย่างดี

 

The Study of Procedures for Designing, Producing and Developing Ubon’s Ancient Gold Jewelry through the Participatory Action Research Process

The purposes of this research are (1) to study the history of ancient goldwork from the past to the present (2) to develop Ubon’s ancient goldwork into an contemporary one, and (3) to publicize the ancient goldwork of Ubon Ratchathani. The samples of this study are goldsmiths.

This qualitative participatory action research has been conducted through the study of related literature and fi eldwork, using in-depth interviews, focus groups, questionnaires, forum, tape-recording, note-taking, photographing and descriptive analysis presentation. It was found that Ubon’s goldwork had been fi rstly, developed in the early Rattanakosin era.

It was the combination of Thai and Khmer arts of ancient goldwork. Through the development of contemporary goldwork from ancient goldworking wisdom, two kinds of contemporary gold jewelry were developed: goldwork near the Mun River and ancient-pattern goldwork.

The results of the study led to the improvement of Ubon’s ancient gold jewelry. Some examples of Ubon’s ancient goldwork were also publicized via cable TV, a forum and an exhibition. Moreover, a follow-up survey was carried out on people’s satisfaction and attitudes towards Ubon’s ancient goldwork. The results were positive.

Downloads