ลักษณะการใช้ที่ดินที่ส่งเสริมอุปสงค์การเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนรถไฟฟ้าใต้ดิน
คำสำคัญ:
การใช้ที่ดิน, ระบบขนส่งมวลชนรถไฟฟ้าใต้ดิน, ปริมาณผู้โดยสาร, Land use, Mass rapid transit, Ridershipบทคัดย่อ
โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล หรือสายสีนํ้าเงินในปัจจุบัน (ระบบขนส่งมวลชนรถไฟฟ้าใต้ดิน) เป็นรถไฟฟ้า ขนส่งมวลชนใต้ดินสายแรกของประเทศไทย เปิดบริการเดินรถ เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2547 มีระยะทางรวม 20 กิโลเมตร และ มีสถานีทั้งสิ้น 18 สถานี ภายหลังจากโครงการฯ ได้เริ่มดำเนินการมาจวบจนปัจจุบัน เป็นเวลา 7 ปี ผลการศึกษาวิจัยด้านความ สัมพันธ์ระหว่างอุปสงค์การเดินทางของผู้โดยสารระบบขนส่งมวลชนรถไฟฟ้าใต้ดินและลักษณะการใช้ที่ดินโดยรอบสถานีรถ ไฟฟ้าฯ ยังไม่ปรากฏเด่นชัด งานวิจัยชิ้นนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ที่ดินบริเวณที่ตั้งของสถานี โดยสารระบบขนส่งมวลชนรถไฟฟ้าใต้ดินและอุปสงค์การเดินทางของผู้โดยสารด้วยระบบดังกล่าว และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัย อื่นๆ ที่อาจส่งผลต่ออุปสงค์ในการเดินทางของผู้โดยสารด้วยระบบขนส่งมวลชนรถไฟฟ้าใต้ดิน โดยการวิจัยมีสมมติฐานการวิจัย คือ ลักษณะการใช้ที่ดินแบบผสมผสานบริเวณที่ตั้งของสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับอุปสงค์การเดินทางของ ผู้โดยสารด้วยระบบขนส่งมวลชนรถไฟฟ้าใต้ดิน ทั้งกรณีวันธรรมดา (จันทร์-ศุกร์) และวันหยุด (เสาร์-อาทิตย์) และวันนักขัตฤกษ์ จากผลการศึกษายืนยันสมมติฐานการวิจัยที่ได้กำหนดไว้ สำหรับปัจจัยอื่นที่มีนัยสำคัญต่อการส่งเสริมการเดินทางด้วยระบบขนส่ง มวลชนรถไฟฟ้าใต้ดิน ได้แก่ การมุ่งเน้นการให้บริการแก่กลุ่มเป้าหมายหลัก คือ กลุ่มผู้โดยสารที่จำต้องพึ่งพาระบบขนส่งมวลชน (สตรีและเด็กนักเรียน) และการอำนวยความสะดวกผ่านการพัฒนาออกแบบสถานีเชื่อมต่อระหว่างระบบการเดินทางต่างๆ ให้ผู้โดยสารได้สัญจรอย่างสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย
Land use characteristics promoting MRT’s patronage demand
The project of the Mass Rapid Transit (MRT), also known as “the Blue line”, was completed and then inaugurated on July 3, 2004. It is the first underground mass rapid transit system of Thailand. The MRT is 20 kilometers in length and includes eighteen stations. For the past seven years, the system has been operated, there is none of research results indicating a relationship between land use and the Blue line’s ridership. The objectives of this research are as follows: 1) to study the relationship between mixed land use on which MRT stations were situated and its travel demand and 2) to discover other factors possibly influencing the MRT travel demand. While ridership was used as the indicator of travel demand, the research hypothesis was stated that in both cases of business days and weekends or holidays, there is a positive correlation between mixed land use on which stations were situated and the MRT travel demand. As a result, the hypothesis holds true that is mixed land use is a key factor for promoting MRT’s patronage, as two other influential factors boosting the patronage include incentives for captive riders and thought-out design of interchange stations for easy access.
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ