ผลกระทบการท่องเที่ยวต่ออัตลักษณ์ชุมชน: กรณีศึกษาชุมชนแหล่งท่องเที่ยวอัมพวา
คำสำคัญ:
อัตลักษณ์ชุมชน, แบรนด์สถานที่, ผลกระทบการท่องเที่ยว, Community Identity, Brand Identity, Tourism Impactsบทคัดย่อ
ชุมชนแหล่งท่องเที่ยวอัมพวา เป็นชุมชนที่มีต้นทุนทางสังคมและวัฒนธรรมสูง หากแต่ได้ รับผลกระทบจากการท่องเที่ยวทั้งด้านการส่งเสริมการสร้างแบรนด์สถานที่ (Place Branding) จากอัตลักษณ์ที่มีคุณค่า ผ่านการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่รู้จักมาก ขึ้น แต่ในอีกด้านหนึ่งอัตลักษณ์ชุมชนถูกลดทอนคุณค่าที่สำคัญ ด้วยการสร้างเลียนแบบเพื่อเป็น สินค้าการท่องเที่ยว โดยขาดการคำนึงถึงรากเหง้าที่เกิดจากวิถีดั้งเดิมของชุมชน ซึ่งมีผลต่อการ รับรู้อัตลักษณ์ที่ไม่แท้จริง (Inauthentic) และไม่สอดคล้องกับหลักนโยบายการท่องเที่ยวอย่าง ยั่งยืน บทความนี้จึงนำเสนอผลการศึกษาอัตลักษณ์ชุมชนอัมพวาที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนา เพื่อการท่องเที่ยว โดยการใช้เทคนิค Delphi และการสัมภาษณ์นักอนุรักษ์ชุมชน นักวิชาการ วัฒนธรรม เพื่อประกอบการวิเคราะห์
ผลการศึกษาพบว่าอัตลักษณ์ ทั้ง 3 กลุ่ม คือ กลุ่มกายภาพ กลุ่มกิจกรรมบนพื้นที่ กลุ่ม การสื่อความหมาย/สัญลักษณ์ โดยภาพรวม ได้รับผลกระทบจากนโยบายการพัฒนาการท่องเที่ยว โดยส่วนหนึ่งได้ส่งเสริมอัตลักษณ์ทางกายภาพของชุมชนอัมพวา เช่น การพลิกฟื้นอัตลักษณ์ตลาด นํ้าเพื่อสร้างแบรนด์สถานที่ (Place Branding) แต่อีกด้านหนึ่งนโยบายการพัฒนาการท่องเที่ยว ได้ลดทอนคุณค่าอัตลักษณ์ชุมชน เช่น การรื้อถอนบ้านไม้พื้นถิ่นบางส่วนออกไปเพื่อปลูกสร้าง อาคารที่พักสำหรับนักท่องเที่ยว สำหรับอัตลักษณ์กลุ่มกิจกรรมบนพื้นที่ พบว่านโยบายการท่อง เที่ยวได้ส่งเสริมพืชผลเศรษฐกิจพื้นถิ่น รวมถึงการเป็นศูนย์กลางอาหารทะเลให้เป็นรู้จักมากยิ่งขึ้น แต่ในขณะเดียวกันได้ลดทอนคุณค่าอัตลักษณ์ เช่น การเลียนแบบวิถีชีวิตชาวบ้านในอดีตที่เคย นำผลผลิตจากสวนเกษตรมาค้าขายบริเวณตลาดนํ้าคลองอัมพวา แต่ปัจจุบันกลายเป็นคนนอก พื้นที่เข้ามาค้าขายสินค้าหลากหลายชนิด เช่น อาหาร ขนมหวาน เสื้อผ้า ของที่ระลึกฯ นอกจากนี้ นโยบายการท่องเที่ยวได้ส่งเสริม อัตลักษณ์ด้านการสื่อความหมาย/สัญลักษณ์ โดยการรักษาความ หมายความเป็นเมืองแห่งมรดกวัฒนธรรมด้วยการอนุรักษ์ประเพณีและการเชื่อมโยงประวัติศาสตร์ ให้เกิดความยั่งยืน แต่คุณค่าอัตลักษณ์บางส่วน เช่น ความเป็นเวนิสตะวันออกเมืองไทยเป็นความ หมายที่ใช้สื่อถึงชุมชนถูกลดคุณค่าลง เนื่องจากกิจกรรมการท่องเที่ยวที่ทำให้วิถีวัฒนธรรมชาว คลองเปลี่ยนแปลงไป ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าภาครัฐควรทบทวนแนวทางการพัฒนาแหล่ง ท่องเที่ยวโดยให้ความสำคัญด้านการส่งเสริมให้เห็นถึงอัตลักษณ์ที่แท้จริงของชุมชนแหล่งท่องเที่ยว และควรมีมาตรการควบคุมการพัฒนาการท่องเที่ยวในเขตพื้นที่ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์หรือ วัฒนธรรมเพื่อป้องกันไม่ให้อัตลักษณ์สูญหายหรือถูกทำลาย
Tourism Impact on Community Indentity: Case of Amphawa Community
Siriluck Meak-on and Monsicha Bejarananda
Amphawa is a community with high recognition of its socio-cultural capital. The community, however, has been affected by the tourism policy aimed to promote the community as a new tourist destination. Though the policy has caused the creation of community’s place branding, it also caused the devaluation of community’s identity. Several communities’ valued identities are imitated and reproduced for tourism consumption with no respect to the community’s original ways of life resulting the inauthentic identity and inconsistency of sustainable tourism development policy. This paper aims to investigate the identity of Amphawa community and tourism impact on its identity. Delphi techniques as well as interviewing local residents and culturalists are used as tools for the analysis. The results indicate the impact of tourism development on three dimensions of community identities, physical identity, activity system, and symbolic meaning. Tourism development policy in Amphawa has revived the old fl oating market as a new brand identity of the community. On the other hand, the tourism development has caused the new modern construction in the community that consequently result the destruction of some old houses. Regarding to the activity system, local agricultural products are promoted and put on sell in the fl oating market. This kind of policy, though positively affect the economy of the community as a whole, it damage the original ways of plantation and orchards in Amphawa. Finally, though several customs and tradition are revived and transformed to a new festival of the community, the community’s original way of canal living of Amphawa is devalued and diminished. The study also suggests that government should review the tourism development policy by emphasizing more on the issue of community identity especially when dealing with communities with long history and high cultural values.
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ