บ้านเคหะชนบทแบบบูรณาการ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

ผู้แต่ง

  • นพดล ตั้งสกุล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สรนาถ สินอุไรพันธ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • นิสรา อารุณี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ทรงยศ วีระทวีมาศ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สักการ ราษีสุทธิ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สุกัญญา พรหมนารถ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • เขมโชต ภู่ประเสริฐ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • กุลศรี ตั้งสกุล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ธีรศักดิ์ สิงห์ปรีชา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

บ้านชนบท, เรือนพื้นถิ่น, แบบก่อสร้างบ้าน, ภาคอีสานตอนบน, Rural House, Vernacular House, Construction Drawing, Upper Part of North-eastern Region

บทคัดย่อ

สภาพแวดล้อมพื้นที่ชนบทภาคอีสานมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เป็นผลมาจาก การพัฒนาด้านต่างๆซึ่งส่งผลให้ผู้คนในชนบทจำเป็นต้องมีการปรับตัวเพื่อรองรับวิถีชีวิตใหม่ที่แตก ต่างจากวิถีชีวิตตามแบบชนบท งานวิจัยนี้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว ดังนั้น จึงต้องการทราบ ถึงการพัฒนาแนวคิดและแสวงหารูปแบบบ้านที่เหมาะสมกับความต้องการของประชาชนในชนบท เพื่อจัดทำบ้านต้นแบบสำหรับประชาชนที่มีความสัมพันธ์และสอดคล้องกันของบ้านพักอาศัยกับ เงื่อนไขทางเศรษฐกิจ สังคม-วัฒนธรรม และสภาพแวดล้อมของการอยู่อาศัย ที่เปลี่ยนแปลงใน ปัจจุบัน

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอต้นแบบบ้านที่มีความเหมาะสมกับวิถีชีวิตและ วัฒนธรรมของชนบทภาคอีสานปัจจุบัน จากการศึกษาการเปลี่ยนแปลงในมิติต่างๆที่เกี่ยวข้องกับ ที่อยู่อาศัยชนบทในพื้นที่ภาคอีสานตอนบนในพื้นที่จังหวัด เลย หนองบัวลำภู หนองคาย อุดรธานี สกลนคร และนครพนม โดยทำการศึกษาพัฒนาการของแบบแผนบ้านพักอาศัยและสถานการณ์ ปัจจุบันของที่พักอาศัยในชนบท จากการวิเคราะห์ข้อมูลภาคเอกสารและจากการสำรวจภาคสนาม ทั้งลักษณะทางกายภาพและสภาพแวดล้อมของที่อยู่อาศัยในชนบท การสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์ การประชุมกลุ่มย่อย การประชุมเชิงปฏิบัติการและการประกวดแนวคิดทางสถาปัตยกรรมเกี่ยวกับ บ้านในชนบท การศึกษาจะทำการเก็บข้อมูลทั้งที่เป็นบ้านแบบประเพณีและบ้านสมัยใหม่ทั้งนี้เพื่อ ทราบถึงแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงที่สอดคล้องกับบริบทปัจจุบัน การสำรวจทัศนคติต่อรูปแบบบ้าน การใช้ชีวิตในชนบทปัจจุบัน ความเชื่อทางสังคมที่สอดคล้องกับการใช้พื้นที่ ค่านิยมในการเลือกใช้ วัสดุและเครื่องเรือน เครื่องใช้ภายในบ้าน

จากการศึกษาพบว่า พฤติกรรมการใช้พื้นที่บ้านพักอาศัยในชนบทภาคอีสานตอนบน ยังมีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของสังคมเกษตรกรรมชัดเจน แม้ว่าจะมีการปรับเปลี่ยนทัศนคติต่อ รูปแบบและการใช้วัสดุก่อสร้างอยู่อาศัยที่เปลี่ยนไปบ้าง แต่ผู้คนในพื้นที่ยังคงสืบทอดมิติทาง สังคมผ่านการให้ความหมายของพื้นที่สำคัญในระดับครัวเรือนอย่างชัดเจน จากข้อค้นพบดังกล่าว ได้นำมาออกแบบบ้านและจัดทำเป็นแบบก่อสร้างสำหรับบ้านในชนบทภาคอีสานตอนบน โดยใช้ แบบแผนการจัดวางพื้นที่ที่เน้นความยืดหยุ่นในการใช้งาน สามารถปรับเปลี่ยนและขยายได้ตาม ความต้องการที่สอดคล้องกับฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมของแต่ละครอบครัว โดยมีการใช้วัสดุ และวิธีการก่อสร้างที่เป็นการผสมผสานกันระหว่างวัสดุในท้องถิ่นและวัสดุสมัยใหม่ที่อยู่ในระบบ อุตสาหกรรม และใช้รูปแบบที่เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศพร้อมกับมีอัตลักษณ์พื้นถิ่น ในขณะ เดียวกันก็มีความสอดคล้องกับชีวิตร่วมสมัยของชนบท

 

Integrated Approach Rural Housing Design in the Upper Part of North-eastern Region

Nopadon Thungsakul, Soranart Sinuraibhan, Nisara Aruni, Songyot Weerataweemat, Sakkara Rasrisuttha, Sukanya Prommanart, Khemchote Pooprasert and Teerasak Singhapreecha

The rural area in the North eastern Thailand has been rapidly changed due to the country’s various developments, thus, the residents need to adjust their life accordingly. This research addresses the emerging concerns in the lifestyle alterations and aspires to develop fi tting concepts and designs for suitable houses for the rural areas. The designs would be residential prototypes that conform to the environmental, economic and socio-cultural factors affecting Thai population nowadays.

The research aims to explore the various aspects of rural residences in the upper part of the northeastern region, i.e. Loei, Nong Bua Lamphu, Nong Khai, Udon Thani, Sakol Nakorn and Nakorn Phanom. The study on the evolution of rural houses included the analysis of relevant documents, fi eld surveys, interview, direct observation, focus group meetings, workshops and architecture design competition on houses in rural areas.

To perceive the direction of changes in the present context, the research examined the inhabitants’ attitudes, lifestyles, social norms in spatial usage, values in furniture and construction materials choosing, both in the tradition and contemporary houses.

The study reveals that behaviors of rural inhabitants in the upper northeastern region still distinctively related to the agricultural lifestyle. While the attitude on design and types of construction materials has been changed, the rural residents still keep their social values through the meaningful usage of the principal area in their home. The research fi ndings were integrated into a design of houses for the rural area of the upper northeastern Thailand. The design was emphasized on the fl exibility of the functional spaces that can be adjusted to suit the families’ social and fi nancial situations. Local and industrial materials are used for the construction. Moreover, the design is to be tropical climate responsive with local identity and can be related to the contemporary lifestyle in the rural area.

Downloads