การศึกษานํ้ายางพืชเพื่อการตกแต่งเครื่องปั้นดินเผาพื้นบ้านสำหรับชุมชนภาคใต้

ผู้แต่ง

  • ฉัตรชัย แก้วดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การออกแบบผลิตภัณฑ์) คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

นํ้ายางพืช, การตกแต่ง, เครื่องปั้นดินเผาพื้นบ้าน, ชุมชนภาคใต้, Letex Plant, Decoration, Local Pottery, Southern Region Community

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและพัฒนานํ้ายางพืชให้มีคุณสมบัติเหมาะสมใน การนำมาใช้ตกแต่งเครื่องปั้นดินเผาพื้นบ้านสำหรับชุมชนภาคใต้ด้วยกระบวนการเขียนสี และ เผารมควัน 2) พัฒนาเนื้อดินเครื่องปั้นดินเผาพื้นบ้านและลวดลายที่เหมาะสมด้วยกระบวนการ เขียนสีด้วยนํ้ายางพืช และเผารมควัน และ 3) สร้างแนวทางในการออกแบบและการประยุกต์ ใช้งานเครื่องปั้นดินเผาพื้นบ้าน ที่ตกแต่งด้วยนํ้ายางพืชที่เหมาะสมกับการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ ของชุมชนภาคใต้ โดยใช้กลุ่มผู้ผลิตเครื่องปั้นดินเผาในชุมชนบ้านมะยิง อำเภอท่าศาลา จังหวัด นครศรีธรรมราช เป็นกลุ่มกรณีศึกษาเพื่อการทดลองหาสูตรเนื้อดินปั้น และปฏิบัติการผลิต ผลิตภัณฑ์ต้นแบบการทดลองได้เลือกใช้นํ้ายางพืช 5 ชนิด ได้แก่ นํ้ายางเปลือกมังคุด นํ้ายางกล้วย นํ้ายางพารา นํ้ายางมะละกอ และนํ้ายางขนุน เพื่อใช้ทดลองเขียนสีรมควันเป็นลวดลายจากการ ประยุกต์ลวดลายจากผ้าปาเต๊ะของชาวใต้ ผลการวิจัยพบว่า 1) นํ้ายางพืชที่มีคุณสมบัติเหมาะสม สำหรับการนำมาใช้งานตกแต่งเครื่องปั้นดินเผาพื้นบ้าน มีจำนวน 2 ชนิด ได้แก่ นํ้ายางเปลือกมังคุด โดยมีอัตราส่วนระหว่างยางเปลือกมังคุด : นํ้า เท่ากับ 100 : 4 และนํ้ายางพารา โดยมีอัตราส่วน ระหว่าง นํ้ายางพารา : แอมโมเนีย : นํ้า เท่ากับ 100 : 1 : 4 โดยนํ้ายางพืชทั้ง 2 ชนิด สามารถ นำมาประยุกต์เป็น 2 รูปแบบ คือ แบบเขียนสีจากนํ้ายางเปลือกมังคุดเป็นลายเส้น เว้นสีพื้นเป็น สี เนื้อดินเครื่องปั้นดินเผาและ แบบเขียนนํ้ายางพาราเป็นลายเส้น แล้วทานํ้ายางเปลือกมังคุดให้ สีรมควันเป็นสีพื้น เว้นลายเส้นเป็นสีเนื้อดินเครื่องปั้นดินเผา 2) อัตราส่วนผสมของดินปั้นที่เหมาะ สมสำหรับการนำมาใช้งาน คือ ดินทุ่งนํ้าเค็ม : ทรายละเอียด : ขี้เถ้าแกลบ เท่ากับ 70 : 20 : 10 และ 3) ผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาต้นแบบ ที่ผลิตขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างผู้วิจัยกับชุมชนกรณี ศึกษา สามารถผลิตเป็นต้นแบบได้จำนวน 5 รูปแบบ คือ กระถางต้นไม้ภายในอาคาร กระถางต้นไม้ ภายนอกอาคาร แจกันประดับอาคาร โคมไฟตั้งโต๊ะ และโคมไฟสนาม โดยผลิตภัณฑ์ต้นแบบทั้ง 5 แบบได้ผ่านเกณฑ์การประเมินความพึงพอใจของผู้เชี่ยวชาญ ผู้ซื้อ ผู้ขาย และผู้ผลิต เฉลี่ยอยู่ ในระดับพึงพอใจมาก (x= 4.29, S.D. = 0.63) และสามารถนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนได้

 

A Study of Plant Latex for Local Pottery Decoration of Southern Region Community

Chatchai Keawdee

This research purposes include, 1) to study and develop plant latex that are property to decorate on local pottery of Southern region community by painting and smoke fi ring technique, 2) to develop local pottery clay and pattern that are appropriated for plant latex drawing and smoke fi ring technique, and 3) to create trends of design and applied local pottery work which decorated with appropriate plant latex, that was developed by Southern region community potters in Ban Maying village, Ta Sala district, Nakhon Sri Thammarat province, whom were case study group to experiment formula clays, and produced original products. The experimented plant latexes included 5 kinds, mangosteen shell latex, banana tree latex, rubber tree latex, papaya latex, and jackfruit tree latex, that were used for painting and smoke fi ring to be designed a pattern from Southern region batik. The research found that, 1) two plant latexes had property for decoration on local pottery included: 1. Proportions were mixture between 100 percents of mangosteen shell latex and 4 percents of water.; 2. Proportions were mixture between 100 percents of rubber tree latex, a percent of Ammonia, and 4 percents of water, and two plant latex materials could be applied with two designs included; 2.1 To paint color line by mangosteen shell latex except other pottery’s surface positions.; 2.2 To paint resistant line by rubber tree latex and paint mangosteen shell latex on other pottery’s surface positions. 2) the appropriate clay proportion were mixture between 70 percents of Tong Numkam clay, 20 percents of fi nely powdered sand, and chaff ashes, and 3) pottery prototype, produced by researcher and community case study’s cooperation, were produced 5 products included: inside fl owerpot, outside fl owerpot, decoration vase, desk lamp, and yard lamp. The 5 products were passed assessment satisfaction from experienced persons, buyers, and potters. The average satisfaction were good class (x= 4.29, S.D. = 0.63) and could be community products.

Downloads