การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาไฟตํ่า โดยการผสมผสานภูมิปัญญางาน หัตถกรรมพื้นถิ่นของชุมชนบ้านวังถั่ว ต.วังชัย อ.นํ้าพอง จ.ขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • สุภาพร อรรถโกมล หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต คณะศิลปประยุกต์ และการออกแบบ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

เครื่องปั้นดินเผาอีสาน, ภูมิปัญญาหัตถกรรมพื้นถิ่น, เครื่องปั้นดินเผาไฟตํ่า,

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาภูมิปัญญาที่เกี่ยวกับงานหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผา ชุมชนบ้านวังถั่ว และกำหนดแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาไฟตํ่ารูปแบบใหม่ ที่มาจากการผสมผสานภูมิปัญญาหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผาแบบดั้งเดิม โดยการศึกษาและทดลอง วัตถุดิบ ขั้นตอนกระบวนการผลิต การตกแต่ง การใช้เทคโนโลยีที่มีความเหมาะสม และการผสม ผสานวัสดุอื่นๆที่มีอยู่ในท้องถิ่น

ผลการวิจัยพบว่าเครื่องปั้นดินเผาไฟตํ่าเป็นภูมิปัญญาแบบดั้งเดิม ใช้วิธีการขึ้นรูปด้วยการ ตี ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มีรูปทรงก้นกลมที่เกิดจากวิธีการอุ้มตีซึ่งเป็นกระบวนการที่อาศัยทักษะความ ชำนาญเป็นอย่างมาก เนื้อดินของผลิตภัณฑ์ภายหลังการเผามีความพรุนตัวสูง รูปแบบผลิตภัณฑ์จึง เหมาะกับผลิตภัณฑ์ประเภทของตกแต่งบ้านแต่งสวน และของที่ระลึก จากการศึกษาภูมิปัญญาการ ทำเครื่องปั้นดินเผาตามกระบวนการแบบดั้งเดิมและการทดลอง สรุปได้ว่าแนวทางในการพัฒนา ผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาไฟตํ่าโดยยึดหลักภูมิปัญญาแบบดั้งเดิมควรคำนึงถึงหลักการ 4 ด้าน ดังนี้ (1) ความคงอยู่ด้านคุณค่าของภูมิปัญญาแบบดั้งเดิม (2) รูปแบบอัตลักษณ์ความเป็นพื้นถิ่น (3) ข้อจำกัดของวัสดุและการผสมผสานวัสดุอื่นในท้องถิ่น (4) การมีส่วนร่วมของชุมชน และเพื่อ เป็นการตรวจสอบแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โครงการวิจัยได้ผลิตเครื่องปั้นดินเผาไฟตํ่าต้นแบบ นำมาทดสอบตลาดในงานเกษตร มหาวิทยาลัยขอนแก่นประจำปี 2556 ซึ่งได้ผลตอบรับเป็นอย่าง ดี ผลิตภัณฑ์มีความน่าสนใจ ทำให้สามารถจำหน่ายผลิตภัณฑ์ให้กับกับผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อมากขึ้น สร้างผลตอบแทนเป็นที่พอใจแก่ผู้ผลิต ซึ่งผลจากการวิจัยทำให้ทราบว่าการศึกษาศิลปหัตถกรรม ที่มีในท้องถิ่นล้วนเป็นต้นทุนทางความคิด ควรที่จะส่งเสริมปลูกฝังให้เยาวชนเข้าใจและเกิดความ ภาคภูมิใจในความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น

 

Low Temperature Pottery of Wangthua Village, Wangchai Sub-district, Namphong District, Khon Kaen Province

Supaporn Attakomon

The research aimed to study handicraft local wisdom related to local Isan pottery in Ban Wangthva Wangchai, Ampoe Namphong, Khon Kaen and to then innovate pottery product with a combination with traditional pottery production. To do this, a series of studies and trials were conducted, including raw materials, production process, decoration, technology application and use of local materials locally available. According to the study, the typical low-fi red pottery was formed by hitting, which required high skill. After fi ring, the made products had a number of perforations. These products were therefore ideally used for decoration items especially for house and garden decoration, souvenir and other decoration purposes.

According to production trials using traditional process and innovated process, it is necessary to take the four following principles into consideration: 1) existence of local wisdom, 2) identity of local characteristics, 3) limitations of materials and other local materials, and 4) participation of local people.

To test marketing possibilities of the innovated products, the project produced pottery model products and launched them in the Agricultural Fair, which was organized by Khon Kaen University in the year 2013. The products were likely to gain public interest and make incentive benefits for producers. It was suggested by this study that local handicrafts are developed and fostered by accumulated wisdom; therefore, new generations are necessarily encouraged to increase understanding, appreciation and pride to their local wisdom

Downloads