หลักการทางวิทยาศาสตร์ของคติความเชื่อด้านที่ตั้งอาคารและสภาพแวดล้อม ในการก่อสร้างเรือนพักอาศัยพื้นถิ่นอีสาน

ผู้แต่ง

  • ยง บุญอารีย์ นักศึกษาปริญญาเอก หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ชูพงษ์ ทองคำสมุทร อาจารย์ที่ปรึกษา ดุษฎีนิพนธ์หลัก คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

คติความเชื่อ, เรือนอีสาน, การวิเคราะห์ที่ตั้งและสภาพแวดล้อม, Traditional belief, Esan house, Site location and environment analysis

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของดุษฎีนิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต คณะสถาปัตย- กรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำเสนอข้อมูลการศึกษาและวิเคราะห์การ สร้างสภาวะที่เหมาะสมต่อการอยู่อาศัย ผ่านคติความเชื่อในการก่อสร้างเรือนพักอาศัยพื้นถิ่น ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย โดยมีประเด็นหลักที่เกี่ยวข้องในด้านของที่ตั้ง และสภาพแวดล้อมของอาคาร ได้แก่ 1) หลักปฏิบัติในการวิเคราะห์สภาพความลาดชันของ ภูมิประเทศ 2) หลักปฏิบัติในการเลือกพื้นที่ตั้งอาคารและการวิเคราะห์ลักษณะของดินเบื้องต้น 3) หลักปฏิบัติในการเลือกที่ตั้งและทิศทางขององค์ประกอบต่างๆ ในบริเวณอาคาร และ 4) ข้อห้าม อื่นๆ ในการเลือกพื้นที่ปลูกเรือน โดยจากการศึกษาพบว่า หลักปฏิบัติทั้งหมดในคติความเชื่อ ที่ทำการศึกษานั้น เป็นภูมิปัญญาโบราณที่มีความสัมพันธ์กันกับหลักทฤษฎีการออกแบบ ทางสถาปัตยกรรมในปัจจุบัน ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อความสบายและความปลอดภัย การจัดการทางสังคม รวมทั้งการจัดการทรัพยากรภายในชุมชน

 

The Scientifi c Principles of Esan Traditional Belief on House Construction concerning Site Location and Site Environments

Yong Boon-Arree and Choopong Thongkamsamut

This article is a part of a dissertation of the doctor of philosophy program, Faculty of Architecture Khon Kean University. The aims of this work is to study and analyse the traditional belief on dwelling construction in the northeast of Thailand in term of a model for the comfortable living. The main issues is to study the site location and environment of a building which include: 1) analysis of the site terrain, 2) site selection and soil exploration 3) site element and building orientation 4) other restrictions. Esan traditional belief on construction is the local wisdom, adaptation for comfortable living and related to the theory of architectural design and technology that aims at comfortable living and safety, social and resources management in the community.

Downloads