สถานะภาพผลิตภัณฑ์ในวิถีสังคมใหม่ และแนวการสอนการออกแบบผลิตภัณฑ์

ผู้แต่ง

  • ปัญญา เทพสิงห์ รองศาสตราจารย์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คำสำคัญ:

ผลิตภัณฑ์, สังคมใหม่, แนวการสอน, Product, New social way, Guideline to teach

บทคัดย่อ

ในวิถีสังคมใหม่ วิทยาการด้านต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลง ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ก็ เช่นเดียวกัน บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อนำเสนอว่า งานออกแบบผลิตภัณฑ์ ในวิถีสังคมใหม่เป็น อย่างไร จะมีแนวทางการสอนอย่างไร ดังพบว่า ลักษณะการออกแบบผลิตภัณฑ์สร้างปรากฏการณ์ ที่เด่นชัดหลายประการ เช่น การออกแบบผลิตภัณฑ์ไม่จำเป็นต้องถือประโยชน์หน้าที่ตามรูปแบบ ที่ปรากฏเสมอไป เช่น มีดพับอาจออกแบบขึ้นเพื่อทำเป็นพวงกุญแจเท่านั้น พื้นที่ในการปรากฏตัว ของผลิตภัณฑ์ต่างไปจากเดิม ตำแหน่งของผลิตภัณฑ์ไม่อยู่ในที่สมควร เช่น ไม้พายเรืออาจกลายเป็น เครื่องประดับบนผนังบ้าน ดังนั้น ควรปรับแนวการสอนด้านผลิตภัณฑ์ การสอนที่ใช้พื้นฐานจากการ วาดเส้นไม่จำเป็นเสมอไป คนที่อยากเรียนรู้ไม่จำเป็นต้องมีความถนัดทางศิลปะ สิ่งเหล่านี้ผู้สอนต้อง เพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจ พัฒนาตนเองโดยเปิดใจกว้างกับการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมยุคโลกาภิวัตน์ มีแนวทางสอนโดยวางตนเป็นที่ปรึกษามากกว่าผู้บรรยาย ใช้วิธีสอนแบบเอาปัญหาเป็นตัวตั้ง ใส่ใจกับกระบวนการทำงานและสร้างสรรค์มากกว่าผลสำเร็จ สร้างจิตสำนึกตามสภาพท้องถิ่นให้กับ ตนเองด้วยทุนวัฒนธรรม ในการพัฒนาผู้เรียนผู้สอนควรกระตุ้นให้สมองทั้งสองซีกทำงาน ซึมซับทั้ง ศาสตร์และศิลป์ ให้รับรู้มิติโลกแห่งการเรียนรู้ใหม่ๆ ปลูกจิตสำนึกด้านการออกแบบที่ดีแก่ผู้เรียน บนความหลากหลายทางวัฒนธรรม ให้ผู้เรียนเข้าใจเข้าถึงคนอื่นในฐานะนักบริโภคร่วมกัน ปลูกฝัง ผู้เรียนให้รู้จักใช้ชีวิตและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์อย่างเรียบง่าย ประหยัดและมีกาละเทศะ สอนโดย ไม่ให้ทุนวัฒนธรรมที่มีอยู่ดั้งเดิมสูญเสีย

 

The Status of Products in New Social Ways and Teaching Guideline of Product Design

Punya Tepsing

Through the new social period, there have been many drastic changes in the different areas of knowledge. As a result, many conventional old beliefs, theories as well as concepts have been disproved. Similarly, the teaching of product design is also affected. The purpose of this article was to offer suggestions how to teach product design, It was found that based on the product design many outstanding new features have eventually emerged. For instance, both functions and usefulness are not always the prime consideration in designing products, despite their physical feature, such as a pocket-knife which could be designed as a key ring. Besides, spaces for displaying products have also changed from the conventional practice, such as an oar which is used as an ornamental object to decorate a wall. The teaching of product is not always required to simply start from drawing a line. Instructor should adapt guideline to teach product design, learner can be a person who may not be skillful in art, such as a farmer or a vendor. Indeed, what the instructors need most is to increase knowledge and understanding in order to cope with all infl ux of changes. In other words, the instructor is required to self develop by opening their mind to accept those cultural changes of globalization era. He/she should change his/her role from being a lecturer to a consultant. In addition, problem based learning should replace conventional teaching methods. More focus should be placed on both working processes and creativity than the outcomes, and based on available local cultural capital, the instructor is also required to establish self awareness. To develop learners, it is essential that certain teaching methods should be employed to activate both sides of their brain. As a result, they would be able to absorb both sciences and arts, such as various dimensions of new awareness, train learner to design properly among cultural diversity. Most importantly, the teaching methods should focus on not only the creation of simple, economical products but also awareness of others as a co-consumer. Moreover, the learners should be taught how to lead their life and how to conserve those existing cultural capital.

Downloads