การวิเคราะห์ลวดลายขิดบายศรีโดยใช้หลักการ Shape Grammars

ผู้แต่ง

  • อิทธิพล สิงห์คำ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, Assistant Professor. The faculty of Technology, Udon Thani Rajabhat University

คำสำคัญ:

ผ้าขิด, ลวดลายบายศรี, เชฟ แกรมม่า, Khit-patterned silk, Bai Sri pattern, Shape grammars

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอผลการวิเคราะห์ลวดลายผ้าขิดลายบายศรีโดยใช้หลัก การ Shape Grammars สำหรับนำไปประยุกต์ใช้เป็นหลักการออกแบบลวดลายประเภทอื่นๆ โดยการแจกแจงลายขิดบายศรี หารูปทรงประกอบในหน่วยย่อย แล้ววิเคราะห์หาเงื่อนไขหรือกฎ ในการจัดวางรูปทรงย่อยเหล่านั้นให้เป็นลวดลายบายศรีตามหลักการ Shape Grammars และ ทดลองออกแบบลวดลายขิดขึ้นใหม่จากรูปทรงในหน่วยย่อยของลายบายศรีเดิมนั้นโดยใช้หลัก การเดียวกัน

ผลการศึกษาพบว่า ลวดลายขิดบายศรีประกอบด้วยรูปทรงเรขาคณิตพื้นฐาน 3 รูป ได้แก่ จุดกากบาท รูปสามเหลี่ยม และรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน (Shape, S) จัดวางเรียงกันเป็นกลุ่มชุด ของลวดลาย หรือเป็นลวดลายต้นแบบ (Initial shape, I) และเมื่อกำหนดจุดอ้างอิง (Label, L) ของลวดลายต้นแบบไว้ที่จุดศูนย์กลางแล้ว สามารถกำหนดลำดับความสัมพันธ์ของการสร้างลวด ลายขิดบายศรีด้วยเงื่อนไขหรือกฎเชิงคณิตศาสตร์ (Rule, R) ได้ สอดคล้องสัมพันธ์กับเทคนิคการ พัฒนารูปร่างรูปทรงตามหลักการ Shape Grammars ซึ่งเป็นแนวคิดการพัฒนารูปร่างรูปทรง ขึ้นใหม่จากรูปทรงต้นแบบด้วยกฎและเงื่อนไขเชิงคณิตศาสตร์ โดยรูปร่างรูปทรงใหม่ที่ได้จะคงมี ลักษณะสัณฐานสัมพันธ์กับวัตถุต้นแบบ และการกำหนดเงื่อนไขหรือกฎเชิงคณิตศาสตร์นี้ สามารถ นำไปใช้ในการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ทางคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยออกแบบได้ โดยเฉพาะในการ ออกแบบลวดลายที่มีลักษณะซํ้าๆ กัน (Pattern)

 

Analysis of “Khit Bai Sri” Pattern using Shape Grammars Principle

Itdhipol Singhkhum

This article aimed to suggest the result of Khit Bai Sri Pattern Analysis using the Shape Grammars for applying in creating other patterns. The pattern will be refi ned into subordinate elements, and design new experimental patterns after analyzing its conditions and layout design rules according to the Shape Grammars process.

The result of the study showed that the Khit Bai Sri pattern consisted of three basic geometric forms, such as crosses, triangles and rhombuses (Shape, S) which were arranged orderly in a primary form or group of patterns (Initial shape, I). After specifying the reference position in the middle of a primary form (Label, L), it would be classifi ed a connection of Khit Bai Sri pattern by using mathematical terms (Rule, R) which related to the fi gure development technique in the Shape Grammars principle. Basically, this theory created new fi gures from a model using mathematical rules, and the characteristic of completed fi gures could be linke d to the former model. In addition, identifying mathematical rules could make practical use in the applied computer program development in order to support a product design especially creating the same patterns.

Downloads