ประสิทธิผลการทำความเย็นด้วยการระเหยของนํ้า : หลังคาเขียว

ผู้แต่ง

  • แสงทิพย์ นิรุตติรักษ์ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • อรรจน์ เศรษฐบุตร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การระเหยของนํ้า, หลังคาหญ้า, , หลังคาดิน, หลังคาไม้เลื้อย, การพาความร้อน Keywords, Effi ciency cooling, Green roof, Soil roof, Climbing-plant roo, Convection

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้นี้เป็นการทดลองเพื่อหาประสิทธิภาพการลดอุณหภูมิภายในด้วยวิธีการระบาย ความร้อนด้วยนํ้าผ่านทางหลังคาโดยอาศัยหลักการระเหยของนํ้า โดยเป็นการศึกษาเกี่ยวกับ ประสิทธิภาพการลดความร้อนบริเวณพื้นผิวหลังคาแต่ละเขียวแต่ละชนิดที่มีชั่วโมงการรดนํ้าที่ แตกต่างกันว่าส่งผลต่อประสิทธิภาพของการลดอุณหภูมิพื้นผิวหลังคาหรือไม่โดยในการวิจัยได้ใช้ กล่องทดลองแทนกรณีศึกษาทั้งหมด 3 กรณีศึกษา โดยที่แต่ละกล่องมีขนาด 0.80x0.80x0.60 เมตร โดยกรณีศึกษาต่างๆ แบ่งออกเป็น 1. หลังคาคอนกรีตที่มีความหนา 0.10 เมตร 2. หลังคาดิน ที่มีการรดนํ้าทุกๆ 3 ชั่วโมง และ 5 ชั่วโมง และ 3. หลังคาหญ้านวลน้อย (Zoysiamatrella Merrill.) 4. หลังคาไม้เลื้อยว่านเสน่ห์จันทร์เขียว (Homalomena sp.) โดยหลังคาที่มีการปลูกต้นไม้ ปกคลุมหลังคา และหลังคาดิน จะมีการรดนํ้า ทุกๆ 3 ชั่วโมง และ 5 ชั่วโมง ซึ่งทำการเก็บข้อมูล ความแตกต่างของอุณหภูมิทุกๆ 10 นาที ตั้งแต่เวลา 8.00-18.00 น. โดยเก็บข้อมูลเป็นเวลา 2 วัน ผลการวิจัยพบว่า ชนิดของวัสดุปกคลุมหลังคาส่งผลต่อประสิทธิภาพในการลดอุณหภูมิ พื้นผิวหลังคา จากการระเหยของนํ้าเนื่องจากค่าการแผ่รังสีความร้อนของดวงอาทิตย์และ ค่าความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศโดยรอบ กล่าวคือ เมื่อค่าการแผ่รังสีอาทิตย์สูง จะส่งผลให้ ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศลดลง ส่งผลให้ประสิทธิภาพการระเหยของนํ้านั้นเป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้นํ้าสามารถพาความร้อนจากหลังคา โดยเปลี่ยนสถานะจากของเหลว เป็นไอนํ้า ทำให้หลังคาสามารถลดอุณหภูมิบริเวณหลังคาได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

Effi ciency of Evaporative Cooling System : The Case Study of Green Roof

Saengtip Nirutterug and Atch Sreshthaputra

Nowadays, Green House Effect has been a signifi cant problem because of the pollution from mechanical-equipments that use for cooling an ambient temperature. The objective of this paper is to examine the effi ciency of evaporative cooling system for cooling roof temperature. In this experiment was divided in 3 case studies by using 0.80x0.80.0.60 meters boxes. The fi rst one is concrete roof with a thickness of 0.10 meters. The second is soil roof with a thickness of 0.10 meters. The third is grass roof (Zoysiamatrella Merrill.). The forth is climbing plant Roofs (Homalomena sp. ). All green roofs and soil off are watered every 3 hours and 5 hours and will be collected roof temperature data every 10 minutes for 2 days. The result showed type of roof shape effected in reducing roof temperatures because of the effects of radiant heat and humidity of ambient air that evaporate water in each roofs.

Downloads